โครงการ 1 ไร่ได้ 1 แสน… กรณีศึกษาการลดความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้เพื่อความยั่งยืน #SustainableFuture

โครงสร้างทางสังคมของประเทศไทยมีปัญหาความเหลื่อมล้ำในหลายหลายมิติมานาน… โดยมีความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ ความมั่งคั่ง โอกาสการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ โครงสร้างพื้นฐาน การเข้าถึงแหล่งเงินทุนและทรัพยากรที่จำเป็น และ การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม… ซึ่งปัญหาความเหลื่อมล้ำทุกรูปแบบได้กลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างมาก… ความเหลื่อมล้ำจึงเป็นประเด็นการพัฒนาที่สำคัญของไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจโลกอย่างรวดเร็วจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งส่งผลให้เกิดความไม่เสมอภาคระหว่างกลุ่มคน อันนำมาซึ่งปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ชัดเจนมากขึ้นในสังคม

อย่างไรก็ตาม… ข้อมูลด้านความเหลื่อมล้ำของไทยในช่วงปี 2016-2519 มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง…  โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำของรายได้… จากตัวเลขรายได้ต่อหัวของ “กลุ่มประชากร 40% ที่มีรายได้ต่ำสุด หรือ Bottom 40” มีอัตราเพิ่มขึ้น ทำให้ช่องว่างของรายได้ระหว่างคนในกลุ่มชั้นรายได้ต่างๆ ลดลง… แต่ “ความเหลื่อมล้ำในการถือครองทรัพย์สิน” ยังคงอยู่ในระดับสูง เนื่องจากไทยยังไม่ได้มีการปรับปรุงระบบภาษีเพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำอย่างเบ็ดเสร็จ… ซึ่งรัฐบาลไทยได้ริเริ่มดำเนินการโครงการต่างๆ และ จัดตั้งสวัสดิการสังคมจากภาครัฐเพื่อช่วยเพิ่มโอกาสความเท่าเทียมในการดำรงชีวิต และ ยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ โดยเฉพาะกลุ่มคนยากจนและกลุ่มคนด้อยโอกาส เช่น เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด… บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ… เบี้ยผู้สูงอายุ… เบี้ยผู้พิการ  รวมทั้งมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด–19

ประเทศไทยจึงเป็นต้นแบบที่น่าสนใจของโมเดลความยั่งยืนซึ่งพัฒนาได้อย่างสอดคล้องกับ “เป้าหมายความยั่งยืนที่ 10 อันว่าด้วย… การลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ หรือ Reduce Inequality Within And Among Countries” ซึ่งประเทศไทยเองไม่ได้ขับเคลื่อนเป้าหมายที่ 10 แต่เพียงรูปแบบรัฐสวัสดิการเท่านั้น… เพราะยังมีกรณีศึกษาที่ถูกพูดถึง “การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้” ภายใต้ “โครงการ 1 ไร่ได้ 1 แสน” ที่ริเริ่มโดยหอการค้าไทย ร่วมกับ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

โครงการ 1 ไร่ได้ 1 แสน เป็นโครงการที่ประยุกต์และปรับใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งสามารถตอบโจทย์และแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำได้อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน โดยหลักการเบื้องต้นของโครงการ คือ… การเพิ่มรายได้ การลดต้นทุน การเพิ่มผลผลิตและเรื่องราวของสินค้า และการสร้างความยั่งยืน 

โดยโครงการนี้จะเป็นการบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูก 1 ไร่ ให้ได้ประโยชน์และประสิทธิภาพมากที่สุดตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองผ่านการส่งเสริมการทำเกษตรแบบผสมผสาน ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมี และ สร้างองค์ความรู้ใหม่ในการทำการเกษตร โดยดำเนินการผ่าน 3 วิชา ได้แก่… ด้านกสิกรรม คือ ปลูกข้าว ผักสวนครัว พืชไร่ ไม้ผล… ด้านปศุสัตว์ เลี้ยงเป็ด ไก่ และ ด้านประมง เลี้ยงปลา กบ หอย กุ้ง ปู เป็นต้น โดยแบ่งพื้นที่เพาะปลูกออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ คันนาปลูกพืชผักสวนครัว ร่องน้ำสำหรับทำการประมง พื้นที่ปลูกข้าว และ พื้นที่อยู่อาศัยในสัดส่วน 30 : 30 : 30 : 10 เพื่อให้ระบบนิเวศเกื้อกูลต่อกัน

โครงการนี้มีพื้นที่นำร่องอยู่ที่บ้านหนองแต้ บ้านบ่อ และ บ้านกุดเชียงมี ตำบลบ้านดง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม… คุณนฤมล ลีศิริกุล รองประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่นให้ข้อมูลในเอกสารเผยแพร่ไว้ว่า… หอการค้าจังหวัดขอนแก่น ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนข้อมูล แนะแนวทางในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 1 ไร่ได้ 1 แสน ทำให้เกิดผลลัพธ์เชิงประจักษ์ที่เห็นชัดเจนขณะนี้คือ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการอย่างเต็มรูปแบบมีรายได้เฉลี่ยถึง 150,000-200,000 บาท… ขณะเดียวกัน ต้นทุนของการทำนา 1 ไร่จากเดิม 10,000 บาท ลดลงหลายเท่าตัวเหลือเฉลี่ยเพียง 2,292 บาทต่อไร่ นับได้ว่าประสบความสำเร็จไม่น้อย

จากความสำเร็จของโครงการ… วันนี้ที่บ้านหนองแต้ อ.อุบลรัตน์ ดูคึกคัก มีชีวิตชีวา และ กำลังได้รับความสนใจในฐานะศูนย์เรียนรู้ โดยมีเกษตรกรจากทั่วประเทศเดินทางมาเยี่ยมชมแปลงต้นแบบ และ ร้องขอให้หอการค้าขอนแก่นเป็นพี่เลี้ยง ให้ข้อมูลพื้นฐานการทำนาอย่างถูกต้อง ซึ่งคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดขอนแก่น และ คณะอนุกรรมการจากอำเภอต่างๆ ได้ลงพื้นที่เพื่อให้ความรู้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่องเดือนละ 2-4 ครั้ง โดยมีเกษตรกรเข้ารับการอบรมครั้งละ 100-200 คน

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts