Positive Psychology | Positive Emotion

10 Positive Emotion… สิบอารมณ์อันเป็นคุณ #SelfInsight

ศาสตร์ที่ว่าด้วยจิตวิทยาเชิงบวก หรือ Positive Psychology ซึ่งเป็นจิตวิทยาสาขาหนึ่งที่ต้องการค้นหาและเสริมสร้างอัจฉริยภาพ หรือ ค้นหาและเสริมสร้างความสามารถในการใช้ชีวิตให้อยู่เย็นเป็นสุขให้ได้มากที่สุดของบุคคล… Professor Dr.Martin Seligman ศาสตราจารย์ทางจิตวิทยาจาก University of Pennsylvania ได้เสนอให้   APA หรือ American Psychological Association ได้แยกโดเมน Positive Psychology ออกมาจากสาขา Psychology หลักในปี 1988 ในระหว่างที่นั่งเป็นประธาน APA อยู่ ซึ่งแต่เดิมสาขาจิตวิทยา หรือ Psychology จะโฟกัสถึงแต่ความผิดปกติทางจิต โดยให้น้ำหนักกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และ ความคิดเชิงลบมากกว่า… ในขณะที่ Positive Psychology โฟกัสไปที่แนวทางตามรากศัพท์ภาษากรีกคำว่า  Eudaimonia หรือ The Good Life หรือ ชีวิตที่ดี โดยอิง จิตวิทยามนุษยนิยม หรือ Humanistic ตามแนวทางของ Abraham Maslow… Rollo May… James Bugental และ Carl Rogers 

แต่ศาสตร์ที่ว่าด้วยจิตวิทยาเชิงบวก หรือ Positive Psychology ในทางปฏิบัติในขั้นการประยุกต์ใช้ทฤษฎีนั้น มักจะอธิบายผ่าน Positive Emotion หรือ อารมณ์บวก หรือ อารมณ์ทางบวก โดยมีแนวทางของ Professor Dr.Barbara Lee Fredrickson นักจิตวิทยาจาก University of North Carolina at Chapel Hill ได้รับความสนใจมากที่สุด ซึ่งแนวทาง Positive Emotion จะมีแง่มุมเชิงลึกทั้งนิยาม ความหมายและรายละเอียดเกี่ยวกับอารมณ์บวกแบบต่างๆ ที่จะพาคนๆ หนึ่งไปเจอเรื่องดีๆ สำหรับทัศนคติที่มีผลต่อชีวิตจิตใจในขั้นต่อไปนั่นเอง

ผลงานการศึกษาค้นคว้าและเรียบเรียงขึ้นโดย Professor Dr.Barbara  Fredrickson พบอารมณ์บวกถึง 10 รูปแบบที่สามารถนำ “เรื่องดีๆ มาสู่ชีวิต” คนๆ หนึ่งได้เสมอ ได้แก่

  1. Joy หรือ ความสุข
  2. Gratitude หรือ สำนึกรู้คุณ
  3. Serenity หรือ ความสงบ
  4. Interest หรือ ความสนใจใคร่รู้
  5. Hope หรือ ความหวัง
  6. Pride หรือ ความภาคภูมิใจ
  7. Amusement หรือ ความหรรษา 
  8. Inspiration หรือ แรงบันดาลใจ
  9. Awe หรือ ความน่าเกรงขาม
  10. Love หรือ ความรัก

แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ… Professor Dr.Barbara  Fredrickson อธิบายกลไกการมีอยู่ของอารมณ์บวก และ การเชื่อมต่ออารมณ์บวกไปสู่คุณค่าในชีวิต… ซึ่งอารมณ์บวกแบบใดแบบหนึ่ง หรือ ทั้งสิบแบบที่คนๆ หนึ่งมีในตัว จะช่วยขยายพลังความคิดสร้างสรรค์ หรือ Broaden ให้คนๆ นั้นสามารถเผชิญความท้าทายในชีวิตได้ดีขึ้น และ มากขึ้นจนเริ่มสร้างสม หรือ Build เป็นองค์ความรู้และเป็นประสบการณ์ดีๆ กลายเป็นอารมณ์บวกบวก… วนกลับไป Build ซ้ำทวีคูณยิ่งๆ ขึ้นจนสุดท้ายมักจะกลายเป็นเหตุเป็นผลของคนที่มีพฤติกรรมความสุขในท้ายที่สุด เหมือนคนตื่นเช้าไปออกกำลังกาย กลับมาชั่งน้ำหนักเห็นหายไปก็วนทำต่อไปจนเป็นกิจวัตร แล้วก็สุขใจปลื้มปริ่มกับตัวเองไป… ประมาณนั้น

ผลงานของ Professor Dr.Barbara  Fredrickson ถูกพัฒนาเป็นเครื่องมือจิตวิทยาเชิงบวกเรียกว่า Positivity Ratio ซึ่งเป็นแบบทดสอบฟรีทางเวบไซต์ http://www.positivityratio.com  ส่วนการแปลผล และ การประยุกต์แนวทางจากคะแนน Positivity Ratio ขั้นละเอียดจะมีอยู่ในหนังสือ Positivity: Groundbreaking Research Reveals How to Embrace the Hidden Strength of Positive Emotions, Overcome Negativity, and Thrive ที่ Professor Dr.Barbara  Fredrickson เขียนไว้

ในทางเทคนิค… การใช้ Positivity Ratio มีแง่มุมลึกซึ้งหลายอย่างที่ต้องตีความ ซึ่งผมอ่านคร่าวๆ คิดว่ายังงงๆ งวยๆ ยิ่งกว่าการตีความพระไตรปิฎกบางประเด็นในหลายแง่มุม… และขออภัยที่จะขอข้ามรายละเอียดไปก่อน…

ประเด็นเป็นแบบนี้ครับ… อารมณ์บวก หรือ Positive Emotion ทั้งสิบ เมื่อถูกประเมินเป็นคะแนนรวมกันจนได้คะแนน Positivity Ratio จะมีแง่มุมการตีความที่ไม่ได้ตรงไปตรงมาว่ามี Positivity Ratio เยอะๆ คือดี หรือ มีคะแนนน้อยนิดคือแย่… กรณีคนที่มีคะแนน Joy หรือ ความสุขสูง และ มีคะแนน Serenity หรือ รักความสงบสูง… ในขณะที่คะแนน Interest หรือ ความสนใจใคร่รู้ต่ำ แต่กำลังมองหาความสำเร็จในหน้าที่การงาน… ซึ่งคงเป็นเรื่องยากที่จะประสบความสำเร็จสำหรับคนสร้างสม หรือ Build ด้วยการเข้าวัดยิ่งๆ ขึ้นจนไม่มีอะไรท้าทายชีวิตในโลกธุรกิจหรือการงานเหลือให้ความท้าทาย

โดยส่วนตัวจึงมองแบบนี้ครับว่า… 10 Positive Emotion หรือ อารมณ์บวกทั้งสิบควรเลือกสร้างสม หรือ Build เอาเฉพาะแง่มุมที่จะทำให้ชีวิตจิตใจในระยะยาวได้ประโยชน์กับตัวเองอย่างยั่งยืนให้มากที่สุดจะดีกว่า… กรณีการ Broaden ให้กับ Hope หรือ ความหวังว่าหุ่นจะดีและสุขภาพจะดีเลยตื่นมาออกกำลังกายสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นการเติมทัศนคติด้านดี หรือ ด้านบวกที่มีผลต่อชีวิตจิตใจ และ Build จนเติมเต็มความสุขส่วนใหญ่ให้ชีวิตได้เหมือนกัน แม้จะมี Amusement หรือ ขำขันหรรษาน้อยมากก็ตาม

ส่วนท่านที่สนใจใช้ Positivity Ratio ไปใช้ในงาน HR ในองค์กร… ผมแนะนำให้ปรึกษานักจิตวิทยาที่เชี่ยวชาญ Positivity Ratio หรือ ท่านไปเทรนการใช้เครื่องมือเองจะดีที่สุดครับ

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts