Effort and Effort Activity หรือ ความเพียรและกิจกรรมพัฒนาความเพียรพยายาม ยังคงเป็นเรื่องสำคัญที่กรอบแนวคิด Student Mindset โดยอธิบายผ่านกรอบ VESPA Model ยังคงให้ความสำคัญสูงสุด ที่จำเป็นต่อการปลูกฝังอุปนิสัยสำคัญต่อความสำเร็จทั้งหมด ที่มนุษย์คนหนึ่งสามารถฝึกฝนผ่านความสำเร็จทางการศึกษาและเรียนรู้
Brian Jeffrey Fogg หรือ B.J. Fogg ผู้ก่อตั้ง Behavior Design Lab ที่ Stanford University ได้ทำงานวิจัยหลายโครงการเพื่อศึกษาผลของ Interactive Technology ที่มีต่อพฤติกรรมและอุปนิสัยของผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือและแอพพลิเคชั่นต่างๆ พร้อมกับตั้งคำถามการวิจัยว่า… สามารถใช้โทรศัพท์มือถือและแอพพลิเคชั่นมาพัฒนาอุปนิสัยผู้ใช้ได้หรือไม่?
ในเบื้องต้นมีการค้นพบว่า… ความเพียรพยายามเป็นอุปนิสัยอย่างหนึ่ง และระดับของความเพียรพยายามที่ใครสักคนใส่เข้าไปจึงเป็นผลลัพทธ์จากอุปนิสัยด้วย สิ่งที่น่าสนใจก็คือ บางคนมีนิสัยเพียรพยายามอยู่เดิม ในขณะที่บางคนไม่มีนิสัยเพียรพยายามอย่างที่ควรจะมีกับอะไรเลย
งานค้นคว้าโดย Behavior Design Lab ที่ Stanford University พบตัวแปรการสร้างหรือเปลี่ยนอุปนิสัยสำคัญ ที่สามารถโน้มน้าวคนให้เปลี่ยนพฤติกรรมได้ ซึ่งในที่นี่คือ การเปลี่ยนจากพฤติกรรมจากคนไม่มีอุปนิสัยเพียรพยายาม ให้มีความเพียรพยายามได้ยิ่งกว่าเดิม… ซึ่งตัวแปรที่ค้นพบเรียกว่า 3 R’s Model ประกอบด้วย
Reminder หรือ การแจ้งเตือน… การแจ้งเตือนช่วยให้สมองและพฤติกรรมถูกระตุ้นให้ทำกิจวัตรใดๆ ที่จะเกิดขึ้นสม่ำเสมอจนกลายเป็นอุปนิสัยได้
Routine หรือ กิจวัตร… การทำอะไรเป็นกิจวัตร หรือการทำอะไรเป็นประจำซ้ำเดิม ย่อมทำให้คนทำกิจวัตรมีพฤติกรรมความเพียรพยายามไปโดยอัตโนมัติ
Reward หรือ รางวัล… แน่นอนว่ารางวัลเป็นเป้าหมายสำคัญที่จูงใจคนให้เปลี่ยนพฤติกรรมได้ และรางวัลที่ดึงให้ใครสักคนมีพฤติกรรมที่ต้องใช้ “ความเพียรพยายามที่เป็นไปได้นั้น” โดยเฉพาะการทำเรื่องที่ไม่ยากเกินไป ทำได้อย่างสม่ำเสมอและรับผิดชอบ ย่ิงพัฒนาอุปนิสัยเพียรพยายามให้ใครก็ได้ในระยะยาว
ประเด็นเป็นแบบนี้ครับ… ใครที่มี Growth Mindset ในขั้นรู้ตัวและต้องการ “ซ่อมข้อบกพร่องเรื่องความเพียร” เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมอะไรก็แล้วแต่ โดยเฉพาะเรื่องเรียนและผลสำเร็จทางการศึกษา… แนะนำให้ใช้ 3 R’s Model เพื่อโน้มน้าวตัวเองให้ออกจากพฤติกรรมเดิมได้เลย เช่น… ใช้แอพพลิเคชั่นแจ้งเตือนช่วยกระตุ้นการเริ่มกิจกรรมที่ให้ความสำคัญ เหมือนการใช้นาฬิกาปลุกตื่น จนทำให้หลายคนตื่นเวลาเดิมได้เองแม้ไม่มีเสียงนาฬิกาปลุกอีกแล้ว… รวมทั้งการปฏิบัติจนเป็นกิจวัตร และมีเป้าหมายที่พึงพอใจเป็นพิเศษรออยู่ในอนาคตเป็นรางวัล… การสร้างความเพียรพยายามจนกลายเป็นอุปนิสัยย่อมเป็นไปได้
สำหรับนักเรียนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนเอง… การสร้างและพัฒนาอุปนิสัยแห่งความเพียร หรือ Effort Character ให้ผู้เรียนถือเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าการผลักดันให้นักเรียนจำอะไรไปใช้หรือไปสอบแล้ววัดว่า “รู้แล้ว” มากมาย… ซึ่งหนังสือ The Student Mindset ได้ย้ำเอาไว้หลายช่วงหลายตอนว่า… Effort หรือ ความเพียรพยายาม สำคัญมากเหลือเกินใน VESPA Mindset… โดยเฉพาะความเพียรถึงขั้นการสร้างและพัฒนาเป็น “อุปนิสัยแห่งความเพียรพยายาม”
บทความชุด VESPA Mindset ถอดความจากหนังสือ The Student Mindset ตอนอื่นๆ ที่ท่านอาจจะสนใจครับ
- Vespa Mindset
- Students’ Vision and Attitude… จุดเริ่มต้นของ VESPA Model
- 15 Possible Motivations… พลังงานขับเคลื่อนพฤติกรรมการเรียนรู้
- 5 Roads of Vision Activity
- The Roadmap of Vision for Student Mindset
- Weekly Rule of Three… เมื่อความเพียรสำคัญต่อความสำเร็จ
- Collecting and Shaping for VESPA Mindset… รวบรวมและเรียบเรียง
- Mapping New Territory for VESPA Mindset แผนที่การเรียนรู้สิ่งใหม่
- Knowledge Organizer for VESPA Mindset
- Creativity Organizer for VESPA Mindset
- Enjoy–Understanding Metrix… เครื่องมือประเมินกิจกรรมการเรียนการสอน
- Types of Attention… ระดับความสนใจใฝ่เรียน
- Flow for VESPA Mindset… เมื่อผู้เรียนก็ต้องการจดจ่อดำดิ่งกับการเรียน
- Feedback for VESPA Mindset… เมื่อผู้สอนต้องฟังผู้เรียนให้มาก
- Information Overwhelm and VESPA Mindset… เมื่อข้อมูลหลากล้น
- Adapting Testing and Performing… ปรับเปลี่ยน ลองเรียนและลุยเลย
- Information + Experience = Knowledge… สูตรเรียนเก่งแบบ VESPA Mindset
- Independent Effort Activity Design… ออกแบบกิจกรรมที่ต้องพากเพียรเรียนรู้และฝึกฝน
- K-SPA… เครื่องมือฟันฝ่าอุปสรรค
- Problem Solving Cycle for VESPA Mindset
- The Art of Reactions to Feedback… ศิลปะการรับมือกับเสียงติชม
- The Dip… ช่วงเวลาอันอ่อนไหวเปราะบางต่อความสำเร็จ
- Dalio’s 5 Step Process for VESPA Mindset
- The 4 Disciplines of Execution for VESPA Mindset
- Giving Up Habit… อุปนิสัยท้อถอยเลิกลา
References…