Digital Lending

4 ช่องทางการระดมทุนของ SMEs ยุคดิจิตอล

เดิมทีเงินลงทุนของ SMEs มักจะมาจากเงินส่วนตัวเป็นเงินเริ่มต้น ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังเป็นเช่นนั้นอยู่ และคำแนะนำแรกของการจะเป็นผู้ประกอบการก็คือ เก็บเงินก่อนเสมอ… แต่เมื่อกิจจการถึงจุดที่อยากขยาย เพื่อ Scale up หรือ ขยายขนาดตั้งแต่การผลิต ตลาดจนถึงบริการหลังการขาย… ซึ่งแหล่งเงินกู้ในระบบ หรือธนาคารเป็นเป้าหมายแรกที่ธุรกิจส่วนใหญ่พิจารณาก่อนเสมอ แต่การพิจารณาจากฝั่งธนาคารอาจจะทำให้ SMEs ส่วนหนึ่ง จำต้องมองหา “แหล่งทุนนอกระบบแทน”

แต่เมื่อยุค Digital Disruption มาถึง… โอกาสเรื่องทุนที่มาพร้อมกับโคร่งข่ายและวิธีการทำธุรกิจ ที่ Disrupted ระบบสินเชื่อเดิมทั้งในระบบและนอกระบบก็เกิดขึ้น… และเกิดแล้วในเมืองไทยที่รอเพียงการเติบโตเท่านั้น… วันนี้ Reder จึงทำข้อมูลช่องทาง “ทุนดิจิตอล” สำหรับธุรกิจมาฝากทุกท่านครับ

1. Equity Crowdfunding

คือแหล่งทุนที่  Startup หรือ SMEs เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทให้กับนักลงทุนภายนอก แลกกับหุ้นบางส่วนให้กับนักลงทุน เพื่อนำเงินทุนที่ได้มาใช้ขยายธุรกิจตามวัตถุประสงค์… ส่วนมากแล้ว เจ้าของกิจการจะตัดหุ้นออกมาเสนอขายประมาณ 10% โดยตั้งราคาขายสูงกว่าทุนจดทะเบียนของบริษัท ภายใต้คำแนะนำของที่ปรึกษาในการเสนอขายเป็นผู้กำหนด ธุรกิจที่จะเสนอขายหุ้นระดมทุนผ่าน Equity Crowd Funding  จะต้องมีกระแสเงินสดอย่างต่อเนื่อง และผลประกอบการมีกำไรสุทธิต่อเนื่อง โดยผู้ที่จะเข้ามาช่วยในการระดมทุนคือ ผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม Crowdfunding ที่ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ กลต

อย่างไรก็ตาม… ถึงแม้ว่าจะเสียหุ้นไปบางส่วน แต่สิทธิความเป็นเจ้าของและอำนาจการตัดสินใจยังคงเป็นของเจ้าของกิจการเช่นเดิม ซึ่งกลุ่มนักลงทุนมักจะมีเป้าหมายเพื่อขายหุ้นทำกำไรในภายหลังมากกว่า 

2. Debt Crowdfunding

มีรูปแบบคล้ายกับ Equity Crowdfunding แต่เสนอขายในรูปแบบหุ้นกู้เช่นเดียวกับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่เป็นรูปแบบเฉพาะของ SMEs และ Startup… การระดมทุนรูปแบบนี้เจ้าของกิจการจะไม่สูญเสียหุ้นสามัญในบริษัท แต่จะมีสถานะเป็นลูกหนี้ของผู้ถือหุ้นกู้แทนโดนจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่จะจ่ายและระยะเวลาที่จ่าย เงินที่ได้มาก็จะนำไปใช้เสริมสภาพคล่องหรือขยายกิจการใหม่ได้ ผู้ที่สามารถให้บริการได้ก็คือผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม Crowdfunding ที่ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ กลต อีกเช่นกัน

3. Corporate P2P Lending

เป็นการกู้ยืมระหว่างบุคคลกับธุรกิจ SMEs หรือ Startup  โดยผู้ที่ทำหน้าที่ตัวกลางจะเป็นผู้ที่จัดหาผู้ให้กู้ซึ่งจะเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่มีเงินสดเหลือและเจ้าของธุรกิจซึ่งต้องการแหล่งเงินทุน กล่าวคือ แทนที่จะขอกู้เงินกับธนาคารก็ไปขอกู้กับบุคคลธรรมดาแทน… แม้จะเป็นการปล่อยกู้ระหว่างบุคคลแต่ก็ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลด้วยเช่นกัน โดยผู้ให้บริการจะพิจารณาความน่าเชื่อถือและประวัติการเป็นหนี้ว่ามีความสามารถพอที่จะชำระหนี้ได้หรือไม่… ปัจจุบันมี Startup จำนวนหนึ่งกำลังพยายามพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อทำธุรกิจแบบ P2P… แต่ในทางปฏิบัติก็ยังถือว่าเกือบทั้งหมดยังไม่ใช่ P2P Lending

4. Digital Lending

คือการปล่อยกู้ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์โดยผู้ที่ขอกู้จะมีประวัติการทำธุรกรรมต่างๆ อยู่แล้ว เช่นขายของผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ หรือเป็นพาร์ทเนอร์แพลตฟอร์มดิจิตอล… ซึ่งมีผู้ที่ให้บริการนี้ที่เริ่มดำเนินการไปแล้วในประเทศไทย เช่น Lazada ที่ปล่อยกู้ให้กับผู้ที่เปิดร้านขายของภายในเวบไซต์ เพราะแพลตฟอร์มจะเห็นประวัติทางการเงินทั้งหมดอยู่แล้วทำให้การพิจารณาปล่อยกู้ทำได้อย่างรวดเร็ว… หรือแพลตฟอร์ม Grab ที่มีนโยบายปล่อยกู้ผู้ขับขี่เป็นต้น… หรือแม้แต่ธนาคารเองก็มีความพยายามที่จะพัฒนาช่องทาง Digital Lending เช่นกัน… แต่เท่าที่ผมได้ทดสอบระบบของบางธนาคารแบบ Blind Test ก็ยังเป็นเพียงการยื่นสมัครสินเชื่อแบบเดิมๆ ที่รับเป็นใบสมัครดิจิตอลอยู่… ก็ถือว่าเป็นช่วงเริ่มต้นครับ

คร่าวๆ ตอนนี้ก็ประมาณนี้ครับ… ท่านที่สนใจช่องทางไหน อยากแลกเปลี่ยนพูดคุยก็ยินดีที่ Line: @reder ครับ

อ้างอิง

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts