Green Marketing

5R for Green Marketing… #FridaysForFuture

นับถึงนาทีนี้… ประเด็นสิ่งแวดล้อมถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่ทำลายโอกาสทางธุรกิจได้เท่าๆ กับสร้างโอกาสให้ธุรกิจได้เช่นกัน โรงแรมใหญ่ปล่อยน้ำเสียลงทะเล… เจอโซเชียลมีเดียรุมประจานให้เห็นมามาก เท่าๆ กับเสียงแซ่ซ้องชื่นชมกับกิจกรรมเก็บขยะริมหาด หรือภาพคนเก็บกวาดริมฝั่งน้ำหลังงานลอยกระทง… สามารถเรียกความสนใจได้มากกว่า ภาพนางรำในชุดนางฟ้าสุดประดิษฐ์ประดอยเป็นไหนๆ

และยังมีประเด็นและแง่มุมอีกมากในเรื่องสิ่งแวดล้อมดีงาม สะอาด ใส่ใจ แบ่งปัน รับผิดชอบและอะไรอีกมากที่สามารถหยิบมาทำ หรือยกมาเล่า สร้างภาพลักษณ์และวัฒนาธรรมสร้างสรรที่ใช้สิ่งแวดล้อมเป็นศูนย์กลาง

ซึ่งประเด็นสิ่งแวดล้อมในห้วงเวลานี้… ในทัศนของผมมองว่าเป็นโอกาสของธุรกิจ ที่สามารถจับทำเรื่องสิ่งแวดล้อม สานกับกลไกทางการตลาดเดิมที่ธุรกิจเรามีอยู่ โอกาสที่จะฝ่าด่านหินๆ เพื่อเข้าถึงลูกค้าเป้าหมาย โดยเฉพาะลูกค้าใหม่ๆ จะง่ายกว่าเดิมมาก

วันนี้ผมเอาเครื่องมือทางการตลาดด้วยสิ่งแวดล้อม หรือ Green Marketing Tools สี่ห้าตัวมาย้ำให้ทุกท่าน พิจารณาหาทางเอาเครื่องมือง่ายๆ เหล่านี้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจและการตลาดดูครับ

1. Recycle หรือหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่… คำนี้เกร่อและน่าเบื่อหน่อยแต่ลองหยิบสินค้าที่ท่านขายมาดูหน่อยว่า อะไรในตัวสินค้าของเรา ส่วนไหน ชิ้นไหนเหลือทิ้งหรือเป็นพิษบ้าง  สามารถทดแทนด้วยวัสดุที่สามารถ Recycle ได้ก็รีบเปลี่ยน รีบทำเลยครับ… แต่ถ้าพิจารณาแล้วเปลี่ยนยากและกระทบต้นทุนหรือตลาดหรือธุรกิจเกินไปจนยากจะเปลี่ยน… ก็ยังมีวิธีอื่นที่อาจจะต้องเปลี่ยนทั้งหมด เหลือไว้แต่คุณประโยชน์ของสินค้าในมือเราเอาไว้ให้ลูกค้า แล้วพิจารณารื้อและออกแบบสินค้านั้นใหม่ไปเลย… ซึ่งปลายทางความสำเร็จคือนวัตกรรมทีเดียว ยกตัวอย่างกรณีรองเท้าแตะนันยางรุ่นขยะ (KHYA) ที่เหลือเพียงคุณสมบัติรองเท้าแตะแบบคีบเอาไว้ แต่วัสดุใช้วัตถุดิบจากขบวนการ Upcycling จากขยะทะเล มาผลิตเพื่อลดขยะสะสมบนโลกของเรา… แถมขายได้ราคากว่ารองเท้าแตะแบบเดิมเสียอีก

รองเท้าแตะนันยาง Khya

2. Reuse หรือการใช้ซ้ำ… การใช้ซ้ำส่วนใหญ่จะเกิดกับบรรจุภัณฑ์มากที่สุด… ประเด็นก็คือ เมื่อท่านออกแบบบรรจุภัณฑ์หรือ Packaging… เป็นไปได้มั๊ยที่จะคิดต่อว่า Packaging สินค้าของเราเอาไปทำประโยชน์อะไรได้อีกเช่น กล่องรองเท้าที่ออกแบบมาเพื่อให้นำไปทำชั้นวางรองเท้าหรือชั้นวางของได้ อาจจะออกแบบให้เป็น Stack ต่อชั้นกันได้ แถมคู่มือการใช้กล่องทำชั้นวางมาด้วย… อะไรประมาณนี้

ชั้นเก็บของจากกล่องรองเท้า

3. Refill หรือการเติม… ซึ่งเป็นการ Reuse อีกมิติหนึ่งของบรรจุภัณฑ์ แต่ไม่ได้เปลี่ยนบทบาทของตัวบรรจุภัณฑ์เพียงแค่นำบรรจุภัณฑ์เดิม มาใช้กับสินค้าเดิมที่ลดขนาดบรรจุภัณฑ์ลง… แต่ข้อเท็จจริงทางการตลาดในปัจจุบัน สินค้าที่โฆษณาว่าเป็นแบบ Refill จำนวนมากที่ไม่ได้จำเป็นต้อง Refill ก็ใช้ได้ เราจึงเห็นสินค้าที่บรรจุแบบ Refill พร้อมใช้ หมายถึงไม่ต้องถ่ายเทออกจากหีบห่อหรือถุงใส่ ก็ใช้งานได้สะดวกดี แถมยังตั้งราคาและบรรจุออกขายปริมาณเท่าสินค้าแบบบรรจุภัณฑ์อย่างดีอีกต่างหาก… แต่ก็อ้างว่าเป็น Refill

4. Reduce หรือการลด… การลดของเหลือในมือลูกค้าทั้งในรูปขยะเหลือทิ้ง และสารพิษจากขั้นตอนต่างๆ ก่อนจะมาเป็นสินค้า ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว… หลายครั้งที่ธุรกิจพยายามมองหาตัวเลือกที่ดีกว่า นำมาซึ่งโอกาสใหม่ๆ ที่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีงามกว่าเดิม

ของใช้ในชีวิตประจำวันช่วยลดขยะ

5. Reject หรือ ปฏิเสธหลีกเลี่ยง… การหลีกเลี่ยงและปฏิเสธที่จะผลิตและจำหน่ายสินค้าที่มีของเหลือขั้นสุดท้ายมากมายกลายเป็นขยะ… หลายอย่างตรงนี้เป็นความรับผิดชอบของผู้ผลิตและผู้ประกอบการครับ… ผมเองหลายครั้งวิพากษ์วิจารณ์องค์กรอย่างโรงเรียน ที่ขายน้ำเปล่าให้เด็กเป็นล่ำเป็นสัน แต่ไม่รณรงค์ให้เด็กดื่มน้ำสะอาดที่โรงเรียนจัดให้… ผมไม่ได้ต่อต้านน้ำดื่มบรรจุขวดที่สะอาดและปลอดภัยกว่า… น้ำบรรจุขวดควรมีขายครับและเชื่อว่าขวดน้ำและฝาขวดน้ำ เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ Recycle ได้มากกว่าขยะจากแหล่งอื่น… แต่การใช้นโยบายตรงเข้าหาผลประโยชน์แบบ “ละเลยสาระสำคัญที่ควรใส่ใจ… อย่างจงใจ” เป็นความน่ารังเกียจอย่างหนึ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นแล้วในยุคที่ความเจริญก้าวหน้าด้านวัตถุ มาไกลขนาดนี้… 

5R ครับ… เครื่องมือ Green Marketing ที่ผมอยากแนะนำให้เอาไปพิจารณาเมื่อต้องออกแบบธุรกิจในยุคที่… สิ่งแวดล้อมทำธุรกิจเจ๊งได้เท่าๆ กับทำกำไรให้ได้มหาศาล

Fridays For Future ครับ!

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts