Reder Pitch Deck

6 Do/6 Don’t Presentation… 6 สิ่งควรทำและไม่ควรทำกับงานนำเสนอ

กรณีศึกษาการทำสไลด์นำเสนอ หรือ Slide Presentation และนำไปใช้จนบรรลุวัตถุประสงค์ที่น่าสนใจที่สุด คือรูปแบบและแนวทางที่แวดวง Startup ทำขึ้นและใช้ให้ข้อมูลนักลงทุน หรือ Angel Investor เพื่อแลกเชคเงินลงทุน ซึ่งหลายกรณีมีมูลค่าหลายร้อยล้านบาทในคราวเดียวก็มี… Presentation ที่ใช้จะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า Pitch Deck โดยเรียกรวมทั้งสไลด์ที่ใช้และการบรรยายสไลด์ที่นำเสนอกลางเวที

Pitch Deck เป็นการนำเสนอแบบสั้นกระชับ ด้วยสไลด์ที่ทำในโปรแกรม PowerPoint, Keynote หรือ Prezi ที่คนบรรยายกับสไลด์จะให้ข้อมูลที่กระชับ ชัดเจน และครบถ้วนเกี่ยวกับแผนธุรกิจ โดยใช้เวลาสรุปทั้งหมดราวๆ 7-10 นาทีเป็นอย่างมาก… นั่นแปลว่า สไลด์ที่เตรียมมากับวิธีการบรรยายหรือเล่าเรื่องต้อง “ครบครันสั้นกระชับ” แบบเนื้อๆ เน้นๆ อย่างมาก

ซึ่งแนวคิดและการเตรียม Pitch Deck ถือเป็นคำภีร์สากลที่คน Startup จะต้อง “เป็นงาน” เรื่องนี้เข้าขั้นยอดเยี่ยมไม่ต่างจากแผนธุรกิจที่ยอดเยี่ยม อันเป็นเหตุผลที่นักลงทุนอยากมานั่งฟัง… และผมเห็นว่า แนวคิด Pitch Deck ควรนำมาใช้กับการนำเสนอข้อมูลด้วยวัตถุประสงค์อื่นด้วย…

ขั้นตอนทางเทคนิคการเตรียมสไลด์ ก็เหมือนๆ กับการเตรียมสไลด์ไปนำเสนอทั่วไปที่ต้องเตรียมด้วยข้อมูลและศิลปะอย่างดีที่สุด เพื่อ Engage เป้าหมายและปลายทาง… ตัวโครงสร้างการทำสไลด์แนว Pitch Deck ของ Startup เพื่อนำเสนอกับนักลงทุนจะมีโครงสร้างเฉพาะที่แนะนำกันประมาณ 10-12 สไลด์เท่านั้น ซึ่งทุกสไลด์จะให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมดที่ “นักลงทุนอยากรู้และใช้ตัดสินใจ”

สไลด์ทุกซีนจึงถูกสร้างขึ้นเพื่อ “ตอบความอยากรู้ของนักลงทุนทั้งหมด” เหมือนไปนั่งอยู่กลางใจนักลงทุนว่าอยากรู้อะไร และรู้ที่อยากรู้หมดแล้วจะตัดสินใจยังไง… นั่นหมายความว่า สไลด์และเรื่องเล่าทั้งหมด นอกจากจะถูกเตรียมด้วยแนวทาง Pitch Deck ที่เคร่งครัดแล้ว ยังเตรียมด้วยข้อมูลที่รู้จัก Audience หรือผู้ชมการนำเสนออย่างดีเลิศอีกด้วย

6 ประเด็นต่อไปนี้คือคำแนะนำจาก ImprovePresentation.com ให้ใส่ใจ Pitch Deck ที่เตรียมขึ้นครับ

1. Tell a story & engage people emotionally… เล่าเรื่องด้วยเรื่องเล่าที่คนอยากฟัง โดยเฉพาะเรื่องเล่าที่คนชื่นชอบและรู้จักดีอยู่แล้ว แต่ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประเด็นสำคัญของการนำเสนอครั้งนี้

2. Limit each slide to expressing one idea… หนึ่งสไลด์หนึ่งไอเดีย หรือหนึ่งสไลด์ให้ข้อมูลโฟกัสเน้นๆ ประเด็นเดียว

3. Prepare to make a great first impression… เตรียมความประทับใจแรกตั้งแต่สองสามนาทีต้นๆ ให้ได้ ซึ่งช่วงเวลาทองมีแค่นั้น ท่านที่ยังไม่ได้อ่าบทความเรื่อง Hook First!… กลยุทธ์สำคัญในการออกแบบคอร์สออนไลน์ที่ได้ผล… คลิกไปอ่านตอนนี้ได้เลย 

4. Show the people behind your idea… อวดข้อมูลเบื้องหลังไอเดียที่นำเสนอให้ครบถ้วน หนักแน่น เพื่อให้ Master Message ได้รับการโฟกัสให้เห็นว่าสำคัญอย่างยิ่ง

5. Keep a consistent look in presentation… รักษาโครงสร้างศิลปะบนสไลด์ให้คงเส้นคงวา ทั้งฟอนต์ที่ใช้ ขนาดตัวอักษรที่ใช้ การจัดฟอร์แมต ตัวพิมพ์ใหญ่พิมพ์เล็กในภาษาอังกฤษ รวมทั้งสีสันและการจัดวาง… ซึ่งแนวทางคร่าวๆ ผมเสนอไว้ในบทความเรื่อง 5 เทคนิคการทำ PowerPoint ให้ใครๆ ก็ WOW! และ Message and Structuring of Presentation สารและการจัดวางบนสไลด์… แล้วครับ

6. Know your metrics better than anyone… ทำให้คนฟังเชื่อว่าสิ่งที่นำเสนอไม่มีใครในโลกรู้ดีกว่านี้แล้วทุกรายละเอียด ไม่อ้ำอึ้ง ไม่ออกตัว ยืนยันความปราชญ์เปรื่องในเรื่องที่กำลังเสนออย่างแข็งขัน

อีก 6 ประเด็นต่อไปนี้คือ “ข้อห้าม” จาก ImprovePresentation.com เวลาเตรียม Pitch Deck ครับ

1. Don’t use too many bullet Points… อย่าได้คิดใช้ Bullet Points ทำลิสต์ข้อมูลในสไลด์เด็ดขาด ถ้าจะใช้ก็อย่าเยอะ

2. Don’t make it too long… อย่ายาว! ค่าเฉลี่ยที่ ImprovePresentation.com แนะนำคืออย่าเกิน 38 สไลด์ เพราะสุดท้ายแล้วคนดูจะสนใจอยู่แค่ไม่เกิน 10 สไลด์เท่านั้น… นั้นหมายความว่า ประเด็นสำคัญจริงต้องอยู่ใน 10 บวกลบให้ครบๆ และถ้าจำเป็นใช้ข้อมูลแวดล้อมอื่นๆ เพิ่ม ค่อยพิจารณาเพิ่มจำนวนสไลด์ตามความจำเป็น

3. Don’t read word by word from your script… อย่าอ่าน! ไม่ว่าจะอ่านบนจอไหน หรือบทพูดจะเตรียมมาอย่างไร… เพราะระหว่างนำเสนอ “จำเป็นต้องมองสบตาผู้ฟัง” โดยเฉพาะผู้ฟังคนสำคัญ

4. Don’t create a text-rich, picture-poor presentation… อย่าคิดใช้ข้อความ แต่ไม่ให้ความสำคัญกับรูปภาพและกราฟฟิก… คำว่า “หนึ่งภาพคือพันคำ” ยังใช้ได้อยู่ การละเลยและมักง่ายกับกราฟฟิกและภาพประกอบที่ไม่มีความหมายกับอารมณ์และความคิดของคนฟัง ถือเป็นเรื่องผิดพลาดร้ายแรงของการนำเสนอประกอบสไลด์… ซึ่งเหตุผลสำคัญที่ต้องมีสไลด์ก็เพื่อ… ฉายภาพให้คนฟังเห็นภาพเดียวกับคนนำเสนอตั้งแต่ยังไม่เอ่ยอะไรออกไป

5. Don’t Come unprepared… ไม่ได้เตรียมตัวก็อย่าขึ้นเวที!… เพราะนั่นแสดงว่าล้มเหลวตั้งแต่ขั้นเตรียมตัวมานำเสนอแล้ว

6. Don’t use small fonts… อย่างใช้ฟอนต์ขนาดเล็ก เส้นบางและดูไม่ใส่ใจข้อความที่จะใช้บนสไลด์… อย่าลืมว่าข้อความบนสไลด์ทุกคำ ล้วนถูกสรุปมาแต่ประเด็นสำคัญๆ อยู่แล้ว… แต่ใส่มาแล้ว “มองไม่เด่น เห็นไม่ชัด” ก็จบกัน

ทั้งหมดประมาณนี้ครับ… 6 Do/6 Don’t เทคนิคการเตรียมสไลด์ตามแนวทาง Pitch Deck ที่วงการ Startup แนะนำกัน และเผยแพร่เอาไว้โดย ImprovePresentation.com… ส่วนท่านที่สนใจ Startup Pitching Deck เนื้อๆ ลองค้นดูจาก Google และเลือกตามอัธยาศัยเลยครับ

อ้างอิง

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts