ธุรกิจระยะเติบโตทั้งที่เป็นธุรกิจตั้งใหม่มาไม่นาน และ ที่รับช่วงต่อกิจการของครอบครัว ซึ่งก็มักจะโตจนกิจวัตร หรือ Routine ของธุรกิจโดยภาพรวมค่อนข้างนิ่ง โดยเฉพาะตัวเลขรายรับ–รายจ่ายที่แกว่ง หรือ กระเพื่อมไม่มาก ซึ่งเป็นภาวะอยู่ต่อไปได้แต่ความท้าทายไม่มีเหลือ…
คำถามเรื่องแนวทางและกลยุทธ์สร้างการเติบโตให้กิจการภายใต้การดูแล จึงเป็นคำถามในใจของคนทำธุรกิจจน “โตมาตันหนทางเติบโต” ซึ่งถือเป็นระยะเปลี่ยนผ่านสำคัญที่เป็นได้ทั้งผ่านเข้าสู่ขาลง หรือ สามารถผ่าทางตันจนเติบโตได้ยิ่งกว่าเดิมก็ได้ ถ้า… ได้เจอพันธมิตรธุรกิจ หรือ Business Partnership ที่สามารถร่วมมือกันทำธุรกิจให้รุ่งเรืองกว่าเดิมไปด้วยกันแบบที่เรียกว่า Strategic Partnership
ในทางเทคนิค… Strategic Partnership หรือ พันธมิตรเชิงกลยุทธ์ หรือ หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ จะเป็นมากกว่าคู่ค้าธรรมดาใน Supply Chain ที่มีคุณค่าเพียงแค่ระดับเกื้อกูลต่อกันอย่างตรงไปตรงมาแบบให้เท่าไหร่ได้เท่านั้น… ในขณะที่พันธมิตรแบบ Strategic Partnership จะให้คุณค่าเชิงกลยุทธ์อย่างชัดเจน เช่น ลดต้นทุนได้ทันทีและชัดเจน… เข้าถึงตลาดที่เข้าถึงยากก่อนคู่แข่ง… เพิ่มมูลค่าธุรกิจด้วยอัตราการเติมโตหลายสิบเท่าขึ้นไป และ ผลประโยชน์อื่นใดอีกมากที่ “ทางตัน” ของกิจการถูกทะลวงจนสามารถเติบโตได้อีกคำรบหนึ่ง
ในทางปฏิบัติ… Strategic Partnership หรือ พันธมิตรเชิงกลยุทธ์ มักจะคบค้าแบ่งปันคุณค่าทางธุรกิจระหว่างกันตามเป้าหมายของการสร้างคุณค่าเพิ่ม และ มูลค่าเพิ่มร่วมกันอยู่ 6 ประเภทคือ
- Marketing Partnerships หรือ พันธมิตรทางการตลาด
- Supply Partnerships หรือ พันธมิตรด้านอุปทาน
- Supply Chain Partnerships หรือ พันธมิตรในซัพพลายเชน
- Integration Partnerships หรือ พันธมิตรความร่วมมือเชิงบูรณาการ
- Technology Partnerships หรือ พันธมิตรความร่วมมือทางเทคโนโลยี
- Financial Partnerships หรือ พันธมิตรทางการเงิน
อย่างไรก็ตาม… ธุรกิจที่ต้องการพันธมิตร และ มีคุณค่า หรือ Value สำหรับพันธมิตรจนถึงขั้นต่างฝ่ายต่างเห็น “ผลประโยชน์” ที่ต่างก็จะได้จากการคบค้ากันภายใต้เงื่อนไขระดับหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ ซึ่งต่างฝ่ายก็จำเป็นจะต้องพูดคุยรายละเอียดกันให้เข้าใจ… กำหนดเงื่อนไขการคบค้าให้ชัด และ ทำสัญญาต่อกันอย่างเปิดเผย
ที่เหลือก็จะไม่มีอะไรยากอีก!
References…