VR Headset for Education

Online Education Platform For Kids… ที่เรียนออนไลน์สายเด็ก

กระแสสะดุ้งตื่น eLearning ที่เกิดขึ้นทั่วโลกจากเชื้อร้ายทำลายชีวิตอย่าง COVID-19 ทำเอานักการศึกษาและนักส่งเสริมพัฒนาการเด็กและเยาวชน ต่างก็ออกอาการมึนงงกับ “ความหลากหลายอย่างยิ่งยวด” ของแนวทาง eLearning ที่มีประเด็นปลีกย่อยทางเทคนิคทั้งกว้างและลึก ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่า นับจากนี้ไป eLearning จะมี Subcategory แตกกิ่งเฉพาะเจาะจงตาม Persona ของผู้เรียนมากขึ้นไปอีก

ประเด็นถกถามกรณี eLearning สำหรับเด็กและเยาวชน ที่จัดการเรียนการสอนและส่งเสริมพัฒนาการกันมาบนฐาน Humanistic Learning Theory ที่เชื่อว่ามนุษย์เรียนรู้จากมนุษย์ดีที่สุด ซึ่งทำให้ประเด็น Technology Based Instruction ได้รับ “การยอมรับอย่างมีเงื่อนไข” จากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาทั่วโลกมาช้านาน ทั้งๆ ที่ผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านั้นล้วนใช้จ่ายเพื่อศึกษาดูงาน Technology Based Instruction ที่น่าสนใจ รวมทั้งทดลองและทดสอบมากมายเพื่อยืนยันความเชื่อว่า Humanism มีจุดสมดุลย์ทางการศึกษา หรือ Effective Learning Equilibrium ที่สุดแล้ว… 

แต่ท่านเหล่านั้นก็เพียรดูงานกันจัง!!!

ประเด็นก็คือ… ฝันร้ายเรื่อง COVID-19 ที่คนทั้งโลกสะดุ้งตื่นมาตั้งแต่ต้นปี 2020 ที่คนแวดวงการศึกษาทั่วโลกถามหา Technology Based Instruction ทั้งๆ ที่ความเชื่อเรื่อง Humanism ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนไปจากเดิม โดยเฉพาะนักวิชาการสายส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่เชื่อเรื่องกอดรัดสัมผัสหอมและการรวมกลุ่มเพื่อฝึกและเรียนรู้พฤติกรรมทางสังคมของเด็ก… แต่ดันมีเรื่องจำเป็นให้ต้องออกกฏห้ามยืนใกล้กันหลายคนเพราะเสี่ยงแพร่เชื้อ จนกลายเป็นความขัดแย้งทางความคิดที่ผมมองว่า ไม่ได้มีอะไรผิดตราบเท่าที่พลาดแล้วไม่ลำบากคนอื่น 

ในมิติทางการจัดการศึกษา… โดยส่วนตัวผมเชื่อ “จุดสมดุลย์” แบบ Technology Based ที่เชื่อว่าการเปิดพื้นที่ให้เทคโนโลยีทางการศึกษา จะให้ประสิทธิภาพในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ดีกว่าในระยะยาว… และไม่เชื่อว่าเทคโนโลยีด้านการศึกษาจะทำลาย Humanism และพฤติกรรมความเป็นสิ่งมีชีวิตเชิงสังคมของมนุษย์… ซึ่งการเปิดพื้นที่ให้เทคโนโลยี ไม่ใช่การ “บังคับเลือก” แต่เป็นการ “เพิ่มทางเลือก” เพื่อให้การจัดการศึกษา ทำได้อย่างยืดยุ่นในสถานการณ์ที่ต้องเฝ้าระวังเชิงสังคมอย่างกรณี COVID-19 ที่หลายฝ่ายเชื่อว่า… COVID-19 ไม่ใช่ครั้งสุดท้ายแน่นอน… แต่ความไม่พร้อมและทุลักทุเลหลายกรณีทำให้คราวนี้ “เป็นครั้งสุดท้ายที่ไม่พร้อมได้” ถ้าตื่นแล้วลุกมาสร้างโลกการศึกษาที่หลากหลายให้เด็กๆ กันแต่ตอนนี้

ไม่ว่าท่านจะเชื่ออย่างไรก็ตาม… วันนี้ผมเอาแพลตฟอร์มที่ออกแบบเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการสำหรับเด็ก 9 แพลตฟอร์มมาแนะนำ… ไปดูกันเลยครับว่ามีอะไรน่าสนใจให้นำไปใช้หรือนำไปเป็นไอเดียได้บ้าง

1. ABCmouse

เวบไซต์ ABCmouse.com มีบทเรียนหรือ Lessons มากกว่า 850 บท มีกิจกรรมและแบบฝึกหัดมากกว่า 9,000 ชุด ที่สามารถทำ Individual Learning Activities ให้กับเด็กได้หลากหลาย Persona รองรับตั้งแต่วัย Toddler หรือวัยหัดเดินจนถึง 8 ขวบ… แพลตฟอร์มให้บริการแบบคิดค่าใช้จ่ายรายเดือน มีให้บริการเป็นภาษาอังกฤษ กับภาษาสเปนครับ

2. PBS Kids

เป็นแพลตฟอร์ม Curriculum Based Entertainment ด้วยสื่อสารสัมพันธ์กับเด็กแบบ 360 องศา ด้วยสื่อเทคโนโลยีเต็มรูปแบบ เพื่อสร้างทักษะรู้คิดเชิงวิพากษ์ จินตนาการและกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น… โดยสื่อในแพลตฟอร์ม PBS Kids เตรียมไว้เพื่อผู้ปกครองและครู ให้มีสื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้บุตรหลานและนักเรียน

3. KIZ Phonics

แพลตฟอร์มเตรียมพื้นฐานภาษาอังกฤษและการอ่านสำหรับเด็ก 3-8 ปี หรือวัยเตรียมอนุบาลถึงระดับประถมศึกษาตอนต้น โดยรวบรวมเป็น Phonics Materials Online เอาไว้มากมาย สามารถเข้าถึงทรัพยากรทั้งหมดด้วยการสมัครสมาชิกราย 6-12 เดือน มีทั้งแบบ Single User และ Multi-users ให้ใช้บริการ

4. CodaKid

CodaKid เป็นแพลตฟอร์มเรียนเขียนโปรแกรมสำหรับเด็กอายุ 7-15 ปี ด้วยภาษาโปรแกรมมิ่งที่โปรแกรมเมอร์ใช้งานจริง ด้วยแบบฝึกหัดในการสร้างเกมส์ ทำเวบไซต์ พัฒนาแอพ รวมทั้งเขียนโปรแกรมควบคุมโดรน การใช้แพลตฟอร์มสำหรับนักเรียนเริ่มต้นใหม่ อาจจะต้องพึ่งครูคอมพิวเตอร์ หรือผู้ปกครองที่มีทักษะโปรแกรมมิ่งระดับหนึ่งครับ

5. Met Museum หรือ MetKids

เป็นแพลตฟอร์ม Storytelling ที่ใช้พิพิธภัณฑ์ของแต่ละท้องถิ่นในอเมริกา เป็นเป้าหมายในการพัฒนาสื่อโดยเด็กๆ ในแต่ละพื้นที่ช่วยกันผลิตขึ้นเผยแพร่แบ่งปัน ซึ่ง MedKids ขับเคลื่อนด้วยวิสัยทัศน์ Made for, with, and by kids. ภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนเพื่อมนุษยชาติของ Michael Bloomberg ในนาม Bloomberg Philanthropists

6. National Geographic Kids

แพลตฟอร์มวิดีโอสารคดีเพื่อเด็กและเยาวชนโดยเฉพาะ ดำเนินการโดย National Geographic

7. BYJU’S 

Byju’s เป็นแพลตฟอร์ม EdTect จากกัลกัตตาในอินเดียที่เติบโตจากปี 2011 จนมีมูลค่า 5.4 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2020 และยังเติบโตไม่หยุด Byju’s เกิดจากแรงบันดาลใจของครูหนุ่มในอินเดียชื่อ Byju Raveedran ที่อยากทำให้ Learn From Home เป็นไปได้กับเด็กอินเดียและเด็กทั่วโลกตามอย่าง Salman Khan แห่ง Khan Academy ในแบบที่สนุกสนานและดึงดูดเด็กๆ ได้มากกว่า ปัจจุบันสามารถใช้งานแอพ Byju’s ได้ทั้งในมือถือ Android และ iOS… คอร์สส่วนใหญ่สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา และโดยส่วนตัวผมชอบ Contents ของ Byju’s ที่สุด

8. Khan Academy

แพลตฟอร์มติวฟรีทุกระดับจากแรงบัลดาลใจอันทุ่มเทของ Salman Khan ที่ทำคลิปติวครอบคลุมทุกสาขาวิชาทุกระดับการศึกษา จนกลายเป็นแรงบัลดาลใจสาธารณะด้านการศึกษาออนไลน์ให้ eLearning Educators ทั่วโลก คลิปและคอร์สติวจาก Khan Academy ถูกแปลเป็นหลายภาษาทั่วโลก รวมทั้งภาษาไทย สนับสนุนโดย มูลนิธิศักดิ์พรทรัพย์ และพากย์เสียงโดยกลุ่มอาสาสมัครนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้การนำของ ดร.นราพงศ์ ศรีวิศาล… ซึ่งสามารถเข้าถึงสารบัญคลิปติวจาก Khan Academy ภาษาไทยได้ที่ https://th.khanacademy.org

9. Scratch

แพล็ตฟอร์มเรียน Coding มาตรฐาน STEM ที่นานาชาติยอมรับ และผลักดันเป็นหลักสูตรสำคัญในยุคที่ต้องการ Programming Skill ในตัวเด็กรุ่นใหม่สำหรับศตวรรษนี้… Scratch จึงมีการเรียนการสอนในโรงเรียนมากขึ้นเรื่อยๆ แม้แต่ในประเทศไทย ซึ่งโรงเรียนเอกชนส่วนใหญ่มีหลักสูตร Scratch สอนเพิ่มเติมแทรกในวิชาวิทยาการคำณวนบ้าง หรือตั้งเป็นชมรมบ้าง รวมทั้งผู้ปกครองที่มีศักยภาพส่วนหนึ่ง ก็ใช้ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะการเขียนโปรแกรมให้บุตรหลานอย่างแพร่หลาย… ประชาสัมพันธ์ตรงนี้เลยว่า ส่วนตัวผมรับให้คำปรึกษาในการเปิดหลักสูตร Scratch มาตรฐาน MIT ทุกวัตถุประสงค์มาหลายปีแล้วครับ สถาบันการศึกษาที่สนใจทักไลน์ @reder เข้ามาได้ตลอด… คุยกันก่อนน๊ะครับ ไม่ยืนยันว่าจะดูแลกันได้ทุกกรณี

เลือกที่ผมรู้จักมาแนะนำคร่าวๆ 9 Platform ครับ… และเรียนตรงนี้เลยว่า นอกจาก Khan Academy และ Scratch แล้ว นอกนั้นไม่เหมาะกับเด็กไทยส่วนใหญ่ของประเทศแน่ๆ เพราะเนื้อหาทั้งหมดเป็นภาษาอังกฤษ และสร้างขึ้นด้วย Persona เด็กของประเทศนั้นๆ ที่บริบทต่างกับเด็กไทยมากมาย… แต่แนวคิดและรูปแบบของหลายๆ แพลตฟอร์มที่นำเสนอวันนี้ สามารถนำมาพัฒนาและเติมเต็มสำหรับเด็กไทยได้… จะซื้อลิขสิทธิ์ หรือลอกแนวคิดตรงๆ มาใช้ภาษาไทย เหมือนนักสร้างตำราเรียนให้เด็กไทยบางส่วนทำกันอยู่…  

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts