Acquisition… ซื้อกิจการเพื่อสร้างการเติบโตให้ธุรกิจ #SaturdayStrategy

กลยุทธ์สร้างการเติบโตให้ธุรกิจแบบก้าวกระโดดที่ได้รับความนิยมมาช้านาน และ ถูกใช้โดยกลุ่มทุนขนาดใหญ่ก็คือ… การควบรวมกิจการ หรือ Merger โดยบริษัทธุรกิจตั้งแต่ 2 กิจการขึ้นไป ตกลงรวมกิจการเป็นบริษัทเดียวหลังการควบรวม… ส่วนอีกรูปแบบหนึ่งก็คือ การซื้อกิจการ หรือ Acquisition โดยบริษัทธุรกิจรายหนึ่งได้ตกลงซื้อสินทรัพย์ หรือ ซื้อหน่วยธุรกิจ หรือ ซื้อทั้งกิจการของอีกบริษัทหนึ่งมาดำเนินงานภายใต้โครงสร้างการจัดการเดิม

บรรยากาศในระหว่างการควบรวมกิจการ หรือ Merger ที่บริษัทที่หนึ่ง กับ บริษัทที่สองตกลงที่จะเป็นหุ้นส่วนกันจึงเป็นมิตรมากกว่าบรรยากาศ “ผู้ซื้อ–ผู้ขาย” ในระหว่างเจรจาตกลงซื้อกิจการ หรือ Acquisition… เพราะการซื้อกิจการ จะเป้นการที่บริษัทหนึ่งเข้าซื้อกิจการของอีกบริษัทหนึ่ง โดยบริษัทที่เข้าซื้อ “จะเข้าไปเป็นเจ้าของบริษัทที่ถูกซื้อ” โดยหุ้นของบริษัทที่ถูกซื้อจะไม่ถูกยกเลิกไป เพียงแต่บริษัทที่เข้าซื้อจะเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทที่ถูกซื้อแทน… ในขณะที่การควบรวมกิจการจะทำให้บริษัททั้งสองที่ควบรวมกิจการกันต่างก็ได้กลายเป็นเจ้าของบริษัทใหม่ ซึ่งเมื่อเกิดการควบรวมแล้ว หุ้นของบริษัททั้งสองจะถูกยกเลิกไป และ จะมีการออกหุ้นของบริษัทใหม่ให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัททั้งสองแทน

ประเด็นก็คือ… กลยุทธ์สร้างการเติบโตให้ธุรกิจแบบก้าวกระโดดในยุคที่ “ทุนใหญ่–บริษัทยักษ์” ต้องปรับตัวเพื่อหนีการถูก Disrupted จากธุรกิจเกิดใหม่ซึ่งเติบโตด้วยพลังของเทคโนโลยีล่าสุด ซึ่งทุนใหญ่–บริษัทยักษ์จำนวนมากปรับตัวได้ช้า ถึงแม้จะมีกระแสเงินสดไหลเวียนอยู่ท่วมท้นกิจการก็ตาม… โดยหลายกิจการยักษ์ใหญ่ต่างมองหาสินทรัพย์ และ กิจการที่ซื้อได้เพื่อเข้าซื้อกิจการตลอดเวลา… โดยเฉพาะการซื้อ Startup ที่ถือโมเดลล้มยักษ์อยู่ในมือ ซึ่งการเข้าซื้อกิจการที่มีโมเดล Disrupted ตลาดขนาดใหญ่ รวมทั้งการมีเทคโนโลยีเชิงลึก หรือ DeepTech ที่ตามกันทันไม่ง่ายอยู่ในมือ… 

อย่างำรก็ตาม… รูปแบบการซื้อกิจการที่เป็นไปได้ก็ยังมีอยู่เพียง 2 รูปแบบคือ…

  1. Asset Acquisition หรือ การซื้อสินทรัพย์… ซึ่งเป็นการซื้อทรัพย์สินของบริษัทที่ขาย โดยอาจเป็นการซื้อทรัพย์สินทั้งหมด หรือ ซื้อเพียงหน่วยธุรกิจ หรือ ซื้อเฉพาะส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งการชำระค่ากิจการหรือทรัพย์สินนั้นอาจเป็นในรูปของเงินสดหรือชำระด้วยหุ้น โดยบริษัทที่ขายทรัพย์สินยังคงดำเนินการต่อไป หรือ จะเลิกกิจการไปก็ได้
  2. Share Acquisition หรือ Takeover หรือ การซื้อหุ้น… จะเป็นการซื้อทั้งทรัพย์สิน และ หนี้สินด้วยการซื้อ ” หุ้น” จนเป็นผลให้ผู้ถือหุ้นเดิมสูญเสียอำนาจในการบริหาร โดยผู้ซื้อจะชำระค่าหุ้นเป็นเงินสด หรือ การแลกหุ้นแบบที่เรียกว่า Share Swap หรือ จัดตั้งบริษัทโฮลดิ้ง หรือ Holding Company Structure ก็ได้… ซึ่งการ Takeover หรือ การซื้อหุ้น โดยทั่วไปจะมี 2 ลักษณะคือ… การซื้อกิจการแบบไม่เป็นมิตร หรือ Hostile Takeover ซึ่งผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ถูกซื้อกิจการไม่เต็มใจที่จะขายหุ้นให้แก่บริษัทที่เข้าซื้อกิจการ โดยบริษัทที่เข้าซื้อกิจการจะเข้าซื้อหุ้นจนกระทั่งผู้ถือหุ้นเดิมสูญเสียอำนาจในการออกเสียง และ ควบคุมกิจการไป… ส่วนอีกลักษณะหนึ่งจะเป็นการซื้อกิจการแบบเป็นมิตร หรือ Friendly Takeover โดยบริษัทที่ถูกซื้อกิจการสมัครใจที่จะขายหุ้นให้กับบริษัทที่เข้าซื้อกิจการ เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินการต่อไปได้ 

ในทางกลยุทธ์… การซื้อกิจการ หรือ Acquisition มักจะเกิดจากโจทย์ธุรกิจที่นักลงทุนมองเห็นโอกาสในการสร้าง Business Synergy แบบ 1+1=3… หรือไม่ก็มองเห็นโอกาสการเติบโตหลายเท่าแบบ 10X หรือ 100X… หรืออย่างน้อยก็ต้องได้ผลประโยชน์เป็นการลดต้นทุน หรือ Cost Reduction… ทั้งจากการประหยัดต่อขนาด จากจำนวนการผลิตที่เพิ่มขึ้นทำให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลง หรือ Economy of Scale และการประหยัดจากการขยายขอบเขตที่เอื้อให้ธุรกิจสามารถดำเนินธุรกิจได้หลากหลาย ส่งผลให้เกิดการประหยัดต้นทุนได้มากขึ้น หรือ Economy of Scope… รวมทั้งผลประโยชน์ทางตรงเป็นรายได้เพิ่มขึ้นจากการมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลาย หรือ Channel of Distribution และ มีส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้น 

นอกจากนั้น… ผลประโยชน์จากโอกาสทางการเงิน หรือ Financial Opportunity ของกิจการที่มีขนาดใหญ่ขึ้นหลังการซื้อกิจการ มักจะทำให้บริษัทมีความสามารถในการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินต่างๆ ได้ด้วยต้นทุนทางการเงินที่ต่ำลง หรือ ต่อรองดอกเบี้ยได้ในอัตราต่ำกว่า

ที่สำคัญกว่านั้น… ยุทธศาสตร์การซื้อกิจการมักจะทำให้บริษัทมีศักยภาพในการขยายกิจการได้รวดเร็วกว่าการขยายกิจการด้วยตัวกิจการเอง หรือ Internal Growth เนื่องจากการเข้าซื้อกิจการจะทำให้บริษัทผู้เข้าซื้อได้ถือครองสินทรัพย์ และหรือ เทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งถ้าหากบริษัทผู้เข้าซื้อจะใช้เงินเพื่อไปลงทุนเองภายในกิจการ อาจจะมีความเสี่ยงที่จะล้มเหลวจากการต้องใช้เงินทุน และ ระยะเวลาที่มากกว่าการเข้าซื้อกิจการด้วย

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts