ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิด VESPA หรือ VESPA Mindset ซึ่งประกอบด้วย Vision… Effort… Systems… Practice และ Attitude นั้น ลำดับและกลไกการดำเนินกิจกรรมการศึกษา จะขับเคลื่อนส่วนประกอบของโมเดลเป็นกลไกหลัก หรือใช้ส่วนประกอบจากโมเดลทั้ง 5 มาเป็นหลักการ เพื่อออกแบบขับเคลื่อนกิจกรรมการศึกษาให้ดำเนินไป
และไม่ว่ากิจกรรมการศึกษาที่ออกแบบไว้ด้วย Vision และ Systems แบบไหนอย่างไรเมื่อเริ่มต้น และจะพานักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์แค่ไหนอย่างไรตอนเริ่มต้น… เมื่อทั้งหมดจะมาถึงวงจรการให้และรับ Feedback จนเห็นแง่มุมและแนวคิด นำไปสู่การปรับเปลี่ยนเพื่อพัฒนา… ย้ำว่า “ได้เห็นแง่มุมและแนวคิดเพื่อนำไปสู่การพัฒนา” แล้ว… ก็ถึงเวลาที่จะต้องปรับเปลี่ยน Systems ให้สอดคล้องไปกับแง่มุมและแนวคิดที่พบใหม่ และอย่ากลัวที่จะนำไปทดลองใช้ และปรับ… และปรับ… และปรับจนแง่มุมแนวคิดที่พบใหม่ ได้ Systems ที่เดินหน้าต่อได้ พร้อมๆ กับการตอบสนองต่อ Feedback ที่เป็นเป้าหมายการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ถูกจัดการให้กลายจากลบเป็นบวก
การดำเนินการในขั้นนี้เป็นเรื่องค่อนข้างจุกจิก แต่ก็อ้างอิงส่วนประกอบโมเดล VESPA อยู่ทั้งหมดถึง 3 ตัวแปรคือ Effort หรือความเพียรพยายาม… Practice หรือ การซักซ้อมฝึกฝนทดลอง และ Attitude หรือ ทัศนคติ… ซึ่งเป็นขั้นที่มีส่วนประกอบโมเดลถึง 3ใน 5 ส่วนผลักดันการเปลี่ยนแปลงระบบการเรียนสอนเพื่อตอบรับ Feedback จาก Systems แรกภายใต้วิสัยทัศน์ หรือ Vision เดิม… แต่ก็ต้องรอบคอบที่จะนำ Systems ใหม่ที่ปรับเปลี่ยนไปทดสอบ ซึ่งคงยากที่จะบรรลุวัตถุประสงค์สูงสุดในการปรับครั้งเดียว… การปรับปรุงกิจกรรมทางการศึกษาเพื่อหา Systems ที่ดีกว่า… จะยากกว่าการปรุงอาหารที่หลายครั้งต้องเติมแต่งเครื่องปรุงรสเผ็ดเค็มหวานเปรี้ยววนไปมา… การปรับเปลี่ยนจุกจิกจึงต้องการทัศนคติ หรือ Attitude ที่ถูกต้องว่าทำไมต้องเปลี่ยนและต้องจูนแล้วจูนอีก โดยเฉพาะการปรับบางรอบที่อาจจะทำให้หลายอย่างใน Systems ดูแย่ลงเพื่อปรับใหม่
แต่ก่อนจะปรับเปลี่ยน… สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอย่างแท้จริงในการจับ Systems มาขัดเกลาปรับแต่งนั้น ท่านจะต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่าง “ข้อมูล กับ ความรู้” เสียก่อน เพราะ Feedback เป็นข้อมูล และ Systems หรือ กิจกรรมการศึกษาเป็นความรู้… สิ่งที่หนังสือ The Student Mindset: A 30-Item Toolkit For Anyone Learning Anything ของ Steve Oakes และ Martin Griffin แนะนำแนวทางไว้ในบทนี้ จึงเป็นแนวทางในการ “ปรับข้อมูลให้อยู่ในรูปของความรู้ก่อนนำไปแต่งเติม Systems”
ซึ่งข้อเสนอแนะทั่วไปประกอบด้วย…
- Solve Problems หรือ จัดการปัญหา… ซึ่งข้อมูลจะระบุปัญหาใน Systems แต่หลายกรณีจะไม่สามารถเอาข้อมูลที่ระบุปัญหา มาใช้แก้ไขระบบโดยตรงได้ เช่น วิธีสอนในห้องทำนักเรียนหลับครึ่งห้อง ก็คงใช้การแจกกาแฟนักเรียนกันหลับไม่ได้
- Answer Tricky Questions หรือ ตอบคำถามที่ยุ่งยากคลุมเครือ… ซึ่ง Feedback ที่สะท้อนความไม่ชัดเจน หรือถึงขั้นย้อนแย้งจำเป็นต้องได้รับการใส่ใจ ซึ่งระบบการศึกษาที่ไม่บ้าอำนาจ จะไม่สร้างปมย้อนแย้ง และกดทับปัญหาด้วยจารีตที่ขาดเหตุผลที่เป็นปัจจุบัน… แต่จะหาคำตอบหรือทางออกอย่างสร้างสรรค์ร่วมกัน โดยเฉพาะการให้เกียรติคนเผชิญปัญหาโดยตรง และตรงไปตรงมา
- Generate Solutions หรือ พัฒนาทางเลือก… ซึ่งแปลว่าจะหาทางออก หรือ ทางไปหลายๆ แบบโดยไม่ปิดกั้น โดยเฉพาะการปิดกั้นด้วยคำว่า “เป็นไปไม่ได้” จากคนเพียงบางคนที่ไม่พร้อมจะเปลี่ยนแปลง และไม่มีศัทธาต่อการเปลี่ยนแปลง… และต้องยอมรับว่าคนกลุ่มนี้มีอยู่จริง แต่ต้องควบคุมหลีกเลี่ยงจะให้คนที่กลัวการเปลี่ยนแปลง มามีส่วนสำคัญในการตัดสิน
- Build Arguments in Essays หรือ โต้แย้งด้วยเรื่องราว… โดยหาการอ้างอิง กรณีศึกษาและบรรยายเปรียบเทียบให้เห็นแนวทางใหม่ที่ต้องการเปลี่ยนแปลง มีภาพร่างและต้นแบบชัดเจน… “ศิลปะการเปรียบเทียบโต้แย้งด้วยเรื่องเล่าและข้อมูล” เป็นทักษะสำคัญทักษะหนึ่งในศตวรรษที่ 21
- Critique Points of View หรือ วิพากษ์ผ่านมุมมองที่หลากหลาย… ซึ่งแน่นอนว่าระบบการเรียนการสอนทั้งของเดิมและที่ปรับปรุงเปลี่ยนใหม่ ย่อมไม่มีระบบใดสมบูรณ์แบบในทุกบริบท การเอาระบบหรือกลไกหลายๆ แบบ มาถกถามเอาคำตอบผ่านมุมมองและบริบทที่หลากหลาย ย่อมตัดทางเลือกที่ไม่เหมาะสมออกไปได้พร้อมๆ กับเหตุผลที่ตัดหนทางหรือกลไกเหล่านั้นออกไป… เพื่อให้เหลือทางเลือกที่เหมาะสมต่อบริบทที่เป็นปัจจุบันที่สุด
- Justify Opinions หรือ ปรับแต่งความเห็น… โดยความเห็นที่มีต่อระบบที่มีอยู่และหรือเปลี่ยนแปลงพัฒนาขึ้นใหม่ เมื่อวิพากษ์และแสดงความเห็นจนถี่ถ้วนแล้ว ควรอย่างยิ่งที่จะนำความเห็นมาจัดกลุ่มและขัดเกลาปรับแต่งเพื่อใช้เป็นเหตุผลสนับสนุนหรือหักล้างเพื่อสนับสนุน “การตัดสินขั้นสุดท้าย”
- Evaluate Outcomes หรือ ประเมินผลลัพธ์… ซึ่งทุกแนวทางควรถูกประเมินอย่างเหมาะสม
7 แนวทางในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาระบบ หรือ Systems ที่จะใช้ในการจัดการเรียนการสอนต่อไป ที่แปลว่า… สมมุติฐานที่มีต่อระบบการเรียนการสอน ต้องตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงรอบด้าน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงโดยเอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และ “ให้ราคา” ความเห็นที่เป็น Feedback จากผู้เรียนเอง ในการพัฒนาเป้าหมายการปรับและเปลี่ยนระบบ… ซึ่ง VESPA Mindset จะเชื่อและยึดถือ Effort หรือความเพียรพยายาม… Practice หรือ การซักซ้อมฝึกฝนทดลอง และ Attitude หรือ ทัศนคติ… ในการพัฒนา System หรือระบบการเรียนการสอนบน Vision ที่ถูกต้อง
บทความชุด VESPA Mindset ถอดความจากหนังสือ The Student Mindset ตอนอื่นๆ ที่ท่านอาจจะสนใจครับ
- Vespa Mindset
- Students’ Vision and Attitude… จุดเริ่มต้นของ VESPA Model
- 15 Possible Motivations… พลังงานขับเคลื่อนพฤติกรรมการเรียนรู้
- 5 Roads of Vision Activity
- The Roadmap of Vision for Student Mindset
- Weekly Rule of Three… เมื่อความเพียรสำคัญต่อความสำเร็จ
- Collecting and Shaping for VESPA Mindset… รวบรวมและเรียบเรียง
- Mapping New Territory for VESPA Mindset แผนที่การเรียนรู้สิ่งใหม่
- Knowledge Organizer for VESPA Mindset
- Creativity Organizer for VESPA Mindset
- Enjoy–Understanding Metrix… เครื่องมือประเมินกิจกรรมการเรียนการสอน
- Types of Attention… ระดับความสนใจใฝ่เรียน
- Flow for VESPA Mindset… เมื่อผู้เรียนก็ต้องการจดจ่อดำดิ่งกับการเรียน
- Feedback for VESPA Mindset… เมื่อผู้สอนต้องฟังผู้เรียนให้มาก
- Information Overwhelm and VESPA Mindset… เมื่อข้อมูลหลากล้น