factory erp

Adaptive Manufacturing… การผลิตแบบปรับเปลี่ยนได้ตามบริบทและปัจจัย #RederSMEs

โมเดลธุรกิจการผลิต และ แปรรูปวัตถุดิบ หรือ วัสดุอุปกรณ์ หรือ ชิ้นส่วนไปเป็นสินค้า ซึ่งเป็นโมเดลการตั้งโรงงานขึ้นผลิตสินค้าตามความต้องการของตลาดให้ได้ “ปริมาณ” เพียงพอต่อความต้องการของตลาดนั้น… แต่เดิมถือว่าเป็นโมเดลผู้ประการขนาดกลาง หรือ ขนาดใหญ่จากทั้งขนาดของเงินลงทุน และ ขนาดของกำลังผลิตซึ่งสะท้อนห่วงโซ่อุปทานขนาดไม่ธรรมดาที่โรงงานต้องใช้ และ ขีดความสามารถของการป้อนสินค้าเข้าสู่กลไกตลาด

แต่ในยุคที่อะไรๆ ก็ไม่แน่นอนโดยเฉพาะปัจจัยการผลิต และ โมเดลการตลาดที่แวดล้อมบริบททางธุรกิจของโรงงาน ซึ่งผกผันเปลี่ยนแปลงเป็นผลกระทบจากภายนอกร้อยแปดประการ ที่ทำให้โรงงานผลิตสินค้าทั่วโลก ต่างก็หลีกหนีผลกระทบจากความไม่แน่นอนของปัจจัยความสำเร็จ และ ขัดขวางให้ธุรกิจหยุดชะงัก หรือ เลวร้ายถึงขั้นล้มเหลวจนต้องปิดตัวลงก็มาก

ธุรกิจโรงงานหลังยุคโควิดจึงมีการพูดถึงการใช้แนวคิด Adaptive Manufacturing เพื่อให้โรงงานมีขีดความสามารถในการปรับตัวให้สอดคล้องกับผลกระทบจากปรากฏการณ์ต่างๆ ที่ควบคุมได้ยาก… ซึ่งการลงทุนกับเครื่องจักรและอาคารสถานที่เพื่อการผลิตสินค้าได้ชนิดเดียว หรือ แบบเดียว หรือแม้แต่สำหรับตลาดเดียวจะเป็นไปได้ยากแล้วนับจากนี้… แต่การจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร? เมื่อไหร่? และ อะไรบ้าง?… ในทางเทคนิคการปรับเปลี่ยนสายผลิตถือว่าไม่ง่ายที่จะตัดสินใจถ้าขาดข้อมูลที่ชัดเจนแม่นยำ

เวบไซต์ SME.ORG ได้ระบุขอบเขตของการยกระดับโรงงานให้ยืดหยุ่นพอที่จะใช้แนวคิด Adaptive Manufacturing ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยน Mindset การจัดการโรงงานเสียใหม่ เพื่อให้มีขีดความสามารถในการรับมือต่อความเปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 3 ประการให้ได้ คือ…

  1. Using an alternative to material หรือ การใช้วัสดุหรือวัตถุดิบทดแทน… เมื่อเกิดการขาดแคลนด้วยเหตุปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ หรือ แม้แต่ความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนแปลง
  2. Aligning materials and finished products หรือ เกลี่ยกลไกการป้อนวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนจนถึงผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป… โดยต้องวางแผนกระจายเพื่อลดความเสี่ยงภายใต้เงื่อนไขโครงสร้างราคาที่ยืดหยุ่นตามต้นทุนวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนที่ใช้ผลิตสินค้าจริง
  3. Prioritizing high-margin products หรือ จัดลำดับผลิตภัณฑ์ตามส่วนต่างกำไร… โดยใช้ข้อมูลการผลิต และ ข้อมูลการขายที่สะท้อนสถานะปัจจุบัน หรือ Realtime ที่สุด

ประเด็นก็คือ…  Adaptive Manufacturing เป็นแนวคิดการใช้ “ข้อมูล หรือ Data” อย่างโปร่งใส่ในขบวนการผลิต รวมทั้ง Supply Chain ทั้งระบบ… เพื่อนำมาประเมิน และ จัดการสายการผลิต ซึ่งมีการพูดถึงการใช้งานซอฟท์แวร์ ERP หรือ Enterprise Resource Planning เฉพาะสำหรับภาคการผลิต และ โรงงาน ซึ่งต้องใช้แบ่งปันข้อมูลกันใน Supply Chain ระหว่างพันธมิตรอย่างเป็นระบบด้วย… ซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่างก็จะได้ประโยชน์จากสถานะข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

ส่วนแนวทางการจัดการให้เกิด Adaptive Manufacturing ในภาคการผลิตและโรงงาน… โดยหลักๆ ก็จะเน้นไปที่การจัดการให้เกิดความรวดเร็ว หรือ Rapid… ให้เกิดความว่องไว หรือ Agility  และ ให้เกิดประสิทธิภาพ หรือ Effective เป็นสำคัญ… 

แต่รายละเอียดทางเทคนิคเฉพาะของโรงงานแต่ละแห่ง กับ สินค้าแต่ละตัวที่ผลิตขึ้นก็ต้องว่ากันไปเป็นรายกรณีครับ!

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts