การพัฒนาเครื่องมือทางการศึกษาในยุคดิจิทัล อันจำเป็นต้องข้ามการนำผู้สอนกับผู้เรียนมาไว้ด้วยกัน แล้วทดแทนด้วย ระบบการเรียนการสอน หรือ Instructional Systems ซึ่งกลไกและทรัพยากรทางการศึกษาทั้งหมดจะถูกปรับให้ “มีข้อมูล และหรือ เป็นข้อมูลดิจิทัล” ที่ง่ายต่อการจ่ายแจกแลกเปลี่ยนในระบบ…
การพัฒนาระบบการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล หรือ การทำ eLearning และ dLearning หรือ Distance Learning ด้วยกลไก และ ทรัพยากรทางการศึกษา “แบบชั้นเรียนและสถานศึกษา” ซึ่งกลไกและทรัพยากรทางการศึกษาบางส่วนยังไม่ถูกปรับให้ “มีข้อมูล หรือ เป็นข้อมูล” อย่างสมบูรณ์ จึงกลายเป็นปัญหาในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ซึ่งครูอาจารย์และนักการศึกษาทุกท่าน… ยืนยันว่าทุกท่าน ต่างก็เจอเรื่องปวดหัวจากความไม่ลงตัวของเงื่อนไขซึ่งเป็นข้อจำกัด จนต้อง eLearning หรือ dLearning กันไปตามสภาพ ซึ่งส่วนใหญ่ก็ทำได้แค่จำลองการสอนหน้าชั้นมาเป็นสอนหน้ากล้อง แล้วก็ผ่านๆ ไป
ประเด็นเป็นแบบนี้คือ… การพัฒนาระบบการเรียนการสอน หรือ Instructional Systems Development ที่ไม่ได้ถูกเตรียมเพื่อทำ Full Scale eLearning หรือ การเรียนการสอนออนไลน์เต็มรูปแบบ ซึ่งต้องเชื่อมั่นระบบ และ เชื่อมั่นข้อมูลทุกมิติจากระบบ ขั้นเชื่อมั่นกันได้จริงๆ เทียบเท่าการเห็นยอดเงินในแอพธนาคาร ต่างก็มั่นใจพอที่จะเอาตัวเลขนั้นไปใช้จ่าย โดยไม่ต้องเบิกออกมาเป็นธนบัตรก่อน… ซึ่งกลไกการเรียนออนไลน์ที่ยังต้องเชคชื่อนักเรียน ขานชื่อนักเรียน และ หาเทคนิคมากมายมาวุ่นวายกับพฤติกรรม หรือ บริบทของนักเรียนจนยุ่งไปหมด… แทนที่จะหาทางให้ปัญหาและความกังวล หรือ Pain Point ที่เกิดขึ้นถูกแก้ไขในแนวทางของข้อมูล และ ดิจิทัล… ซึ่งยังไงๆ ก็จะต้องเป็นแบบนั้นอยู่ดี ไม่ว่าจะต้องทำเดี๋ยวนี้ หรือ รอใครสักคนมาทำในวันหน้า ซึ่งก็คงช้าและน่าเสียดายอะไรมากมายทั้งหมดถ้าต้องรอ และ รอ… ยกเว้นคนที่อยู่เพื่อรอคนอื่นมาทำ ทั้งที่ตัวเองควรจะทำเท่านั้นเองที่ไม่น่าเสียดาย
ที่สำคัญคือ… การพัฒนาระบบการเรียนการสอน หรือ Instructional Systems Development หรือ ISD ไม่ใช่ของใหม่ เพราะ ISD Model ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดอย่าง ADDIE Framework หรือ ADDIE Instructional Design ก็พัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 1950 หรือ กว่า 70 ปีมาแล้ว ถึงแม้จะมีการประยุกต์ใช้จริงจังในปี 1975 โดย U.S. Army หรือ กองทัพบกสหรัฐ ร่วมกับ Centre for Educational Technology ของ Florida State University จนมีการใช้ ADDIE Framework กันอย่างกว้างขวางในกองทัพสหรัฐ และ หน่วยงานทางกลาโหมแทบทุกหน่วย…
ซึ่ง ADDIE Instructional Design เป็นกรอบการทำงาน หรือ Framework ที่เหมาะสมต่อการนำมาใช้เพื่อพัฒนาระบบการเรียนการสอน หรือ Instructional Systems ในระดับ Full Scale eLearning หรือ การเรียนการสอนออนไลน์เต็มรูปแบบได้อย่างดี
ADDIE Model เป็นกรอบแนวคิดการออกแบบหลักสูตร สื่อ และ กิจกรรมการศึกษาตั้งแต่จุดเริ่มต้น ไปจนถึงขั้นตอนนำใช้อย่างเป็นระบบ โดยเน้นข้อมูลทั้งบันทึก ประมวลผล และ วิเคราะห์สังเคราะห์อย่างละเอียด เพื่อใช้ชี้นำการออกแบบสื่อการเรียน หลักสูตร และ กิจกรรมให้ครอบคลุมกลุ่มผู้เรียน
ชื่อ ADDIE มาจากกระบวนการหลัก 5 ขั้นตอนในการใช้ออกแบบเพื่อพัฒนาระบบการเรียนการสอน หรือ Instructional Systems ซึ่งประกอบด้วย…
1. Analysis หรือ การวิเคราะห์
เอกสารจาก EducationalTechnology.net ซึ่งแก้ไขและเผยแพร่โดย Professor Dr. Serhat Kurt ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา และ ผู้เขียนตำรา An Introduction to the Addie Model: Instructional Design ระบุว่า… ขั้นตอนการวิเคราะห์ ถือเป็น “ขั้นตอนการตั้งเป้าประสงค์” ซึ่ง Focus หรือ กำหนดจุดเน้นของการออกแบบ โดยในเฟสนี้จะเน้นอยู่ที่ “กลุ่มเป้าหมาย หรือ Target Audience” เป็นสำคัญ เพื่อให้การวางโปรแกรมในขั้นตอนต่อไป “ตรงกับระดับทักษะ และ สติปัญญาของผู้เรียน หรือ ผู้เข้าร่วมแต่ละคน” ซึ่งต้องแน่ใจว่าสิ่งที่ “กลุ่มเป้าหมาย หรือ Target Audience” รู้อยู่แล้วจะไม่ถูกทำซ้ำ และ สามารถทุ่มเทให้กับหัวข้อ และหรือ บทเรียนที่ผู้เรียนยังต้องขวนขวายและเรียนรู้เพิ่มขึ้นแทน… หัวใจของเฟสนี้จึงเป็นการแยกความแตกต่างระหว่าง สิ่งที่ผู้เรียนรู้อยู่ก่อนแล้ว กับ สิ่งที่ควรรู้หลังจากเรียนจบเนื้อหา หรือ จบหลักสูตร
2. Design หรือ ออกแบบ
ขั้นตอนนี้จะเอาเป้าหมาย หรือ เป้าประสงค์ทั้งหมด มาสร้างเครื่องมือ และหรือ เกณฑ์วัดการบรรลุวัตถุประสงค์ รวมทั้งการสอบ ซึ่งทั้งหมดจะเชื่อมโยงกลับไปวิเคราะห์สัมพันธ์กับเนื้อหา และ กิจกรรมในการเรียนการสอนทั้งหมด รวมทั้งสื่อ แบบฝึกหัด และ เครื่องมือ และหรือ กลไกการประเมินระหว่างเรียน
3. Development
ขั้นตอนนี้จะเป็นการเริ่มต้นสร้างเครื่องมือ สื่อ และ กลไกการจัดการเชิงวิชาการ โดยโฟกัสการใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีในการเตรียมการผลิต และ ประเมินผลผลิต… ซึ่งในทางเทคนิค การพัฒนาระบบการเรียนการสอน หรือ Instructional Systems สำหรับทำ eLearning มักจะมีวงจรการพัฒนาใกล้เคียงกับวงจรการพัฒนาแอพพลิเคชั่น หรือ การพัฒนาซอฟท์แวร์ในปัจจุบัน… เพราะถึงแม้ Instructional Design หรือ IDs จะเป็นการพัฒนาเพียงสื่อ หรือ แบบฝึกหัดธรรมดาทั่วไป ก็ยังจำเป็นจะต้องพัฒนาให้ทรัพยากรทางการศึกษาเหล่านั้น มีกลไกเชิงข้อมูลขั้นสมบูรณ์พอในระดับ “สามารถเชื่อมโยงกับระบบ” ที่จะใช้เผยแพร่สื่อ หรือ ทรัพยากรการศึกษาเหล่านั้นอยู่ดี… วงจรการพัฒนาเครื่องมือ สื่อ และ กลไกการจัดการเชิงวิชาการในปัจจุบันจึงอ้างอิงกรอบการพัฒนาสื่อดิจิทัล หรือ อ้างอิงกรอบการพัฒนาซอฟท์แวร์เป็นส่วนใหญ่
4. Implementation หรือ การติดตั้งใช้งาน
ขั้นตอนนี้เป็นการนำ IDs หรือ Instructional Design ซึ่งพัฒนาเสร็จแล้ว รวมทั้งทดสอบและแก้ไขในบริบทระดับการพัฒนาเสร็จแล้ว… ไปใช้งานจริงภายใต้บริบทและสภาพแวดล้อมจริง หรือ ก็คือ “การทดสอบจริง” เพื่อนำไปสู่การประเมินปรับปรุงแก้ไขครั้งสุดท้าย
5. Evaluation
ขั้นตอนนี้จะประเมินประสิทธิภาพของ IDs คู่กับการวัดความรู้ในผู้เรียนทั้งแบบ Summative หรือ ประเมินระหว่างเรียน และ Formative หรือ ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน… โดยประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน และ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องด้วยเครื่องมือที่เหมาะสมร่วมด้วย
คร่าวๆ ให้เห็นภาพรวมตามกรอบแนวคิดประมาณนี้เป็นเบื้องต้นก่อนครับ… ส่วนท่านที่เรียนครูสายตรงมาก็คงไม่มีอะไรใหม่ในเชิงทฤษฎีและหลักการ… แต่การนำ ADDIE Instructional Design มาใช้ในบริบทของ eLearning และ dLearning โดยส่วนตัวเชื่อว่าจำเป็นจะต้องกลับไปเริ่มต้นที่การ Normalized หรือ สร้างมาตรฐานให้หลักสูตร บทเรียน และ กลไกการวัดความรู้ผู้เรียนให้เป็นข้อมูลดิจิทัลทั้งหมดทั้งสิ้นก่อน… เพื่อให้ตรงเข้าใกล้ Full Scale eLearning หรือ การเรียนการสอนออนไลน์เต็มขั้น ซึ่งจะไม่เห็นเป็นความบกพร่องติดขัดในการจัดการชั้นเรียนออนไลน์ หรือ ชั่วโมงเรียนออนไลน์ ทั้งแบบ Asynchronous และ Synchronous… ซึ่งเห็นได้ชัดเจนผ่านความขัดแย้งระหว่าง Online Instructors กับ Online Learners รวมทั้งความบกพร่องทั้งที่ต้องยกเว้น และ ไม่อาจจะเว้นในสภาพขาดๆ เกินๆ นั่นเอง
สุดท้าย… เนื้อความในบทความตอนนี้ส่วนหนึ่งเป็นข้อมูลจากประสบการณ์ส่วนตัวของผม ซึ่งผมทราบดีว่าคลาดเคลื่อนจากทฤษฎี ADDIE ต้นฉบับในบางรายละเอียด อันเนื่องมาจากประสบการณ์การบูรณาการ ADDIE Model เข้ากับ Software Development Life Cycle… ซึ่งผมยินดีน้อมรับคำติติงจากผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาทุกประเด็นด้วยความเคารพ
References…