Ageism… สังคมเหยียดวัย #StrongMentalHealth

คำว่า Ageism ถูกใช้ครั้งแรกโดยแพทย์ด้านอายุรศาสตร์ที่มีผลงานมากมายจนได้รับรางวัล Pulitzer Prize ปี 1976 อย่างนายแพทย์ Robert N. Butler ผู้เขียนหนังสือขายดีเรื่อง Aging and Mental Health กับ The New Love and Sex After 60 และ The Longevity Prescription และ อีกหลายเล่มซึ่งได้กลายเป็นตำรา How-to สำหรับผู้สูงวัยที่เชื่อในจิตวิทยาในการใช้ชีวิตวัยทองอย่างคุ้มค่า

คำว่า Ageism จะหมายถึง การเหยียดวัย ซึ่งใช้เรียกพฤติกรรมหมิ่นแคลน กีดกัน  และ เลือกปฏิบัติโดยใช้เงื่อนไขเรื่องวัยมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินแบบเหมารวม… นักจิตวิทยาสังคมต่างก็ระบุเป็นทำนองเดียวกันว่า การเหยียดวัย เป็นปัญหาสำคัญไม่ต่างจากการเหยียดเพศ หรือ เหยียดเชื้อชาติ–สีผิว โดยส่งผลต่อความสงบสุขของกลุ่มคนที่ถูกเหยียดอันเนื่องมาจากการเลือกปฏิบัติต่อกันอย่างชัดเจน เช่น 

  • ถูกกะเกณฑ์โดยวัยว่ามีสิทธิ์ทำอะไรได้ และ ทำอะไรไม่ได้ รวมทั้งการตั้งกฏช่วงอายุเพื่อกีดกันสิทธิโดยวัย
  • ถูกเลิกจ้าง หรือ ให้ออกจากงานเพราะวัยวุฒิ โดยเฉพาะผู้สูงวัย
  • ข้อเสนอแนะ หรือ ความคิดเห็นถูกละเลยเพิกเฉย

งานวิจัยในหัวข้อ Ageism: A Social Determinant Of Health That Has Come Of Age โดย Christopher Mikton และ คณะ พบกลุ่มตัวอย่าง “หนึ่งในสาม” เคยมีประสบการณ์เรื่อง “เหยียดวัย” มาก่อน โดยมีคนช่วงอายุระหว่าง 15–24 ปี รับรู้ว่าตนถูกเหยียดวัยมากที่สุด

ที่สำคัญกว่านั้น… ปัญหาการใช้เกณฑ์อายุมาตัดสินการจ้างงาน โดยผู้สูงอายุมักจะถูกเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง รวมทั้งการปรับเงินเดือนสูงขึ้น ไปจนถึงการถูกให้ออกขากงาน และ เสียโอกาสที่จะหางานใหม่ได้ด้วย… ในขณะที่หนุ่มสาวอายุน้อยก็ถูกกีดกันเรื่องประสบการณ์ โดยส่วนใหญ่ถูกกดค่าจ้าง และ ถูกเหยียดวัยในที่ทำงานเป็นส่วนใหญ่

บทความเรื่อง Ageism Is A Global Challenge โดยองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ชี้ว่า… Ageism เป็นปัญหาระดับโลกที่แพร่หลาย และ ก่อให้เกิดภาวะสุขภาพที่ไม่ดีจากการแยกตัวจากสังคม การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และ มีต้นทุนทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นอย่างชัดเจน… โดยอ้างอิงการศึกษาเชิงลึกในหัวข้อ Ageism Amplifies Cost and Prevalence of Health Conditions ของ Dr.Becca R. Levy และ คณะ โดยในปี 2020 ได้พบค่าใช้จ่ายจากปัญหาการเหยียดวัยในสังคมอเมริกันสูงถึง 63 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีทีเดียว

ความเห็นอย่างเป็นทางการจาก APA หรือ American Psychological Association ยืนยันว่า… ปัญหาเหยียดวัย หรือ Ageism เป็นปัญหาร้ายแรงที่ควรได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกับการเลือกปฏิบัติทางเพศ เชื้อชาติ และ ภาวะทุพพลภาพ… โดย APA เสนอแนะว่า การเพิ่มความตระหนักรู้ระดับสาธารณชนเกี่ยวกับประเด็น “เหยียดวัย และ อายุนิยม” จะช่วยให้สังคมรอบตัวของหลายๆ คนดีขึ้นกว่าเดิมได้มาก… โดยเฉพาะผู้สูงวัย และ สังคมผู้สูงอายุที่ไม่ควรถูก “เหยียด” ว่าอายุขนาดนั้นควรต้องเป็นแบบไหนอย่าง ซึ่งหนุ่มสาวส่วนหนึ่งค่อนขอดผู้สูงอายุที่ทำตัวย้อนวัยให้พวกเขาไม่พอใจจนถูกเหยียดบ่อยๆ

ประเด็นมีอยู่ว่า… การเหยียดวัย หรือ Ageism เป็นปัญหาความสัมพันธ์ และ ปัญหาทัศนคติระหว่างกันที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องไม่ใหญ่สำหรับคนส่วนใหญ่… แต่เมื่อพิจารณาแล้วว่าคนส่วนใหญ่ล้วนแต่เจอการเหยียดวัยที่มาจากกฏเกณฑ์ดั้งเดิมบ้าง รวมทั้งการกีดกัน  และ เลือกปฏิบัติที่สร้างเกณฑ์ขึ้นใหม่บ้าง… ซึ่งคนแต่ละกลุ่มช่วงวัยต้องเข้าใจ “ความพอดี” ของการใช้วัยเป็นเครื่องมือแก่งแย่ง–กีดกัน และ หาผลประโยชน์… ทั้งคนแก่ที่ไม่ปล่อยโอกาสไปให้เด็กเพียงอ้างว่าเขาเป็นเด็กเพราะอายุน้อยกว่าตัวเองในวัย 70–80 จนต้องพึ่งไม้เท้า หรือ คนประครองจึงจะไปไหนมาไหนได้… รวมทั้งเด็กที่หาทาง “เขี่ยคนแก่” เพียงเพราะคนเหล่านั้นขัดขวางเป้าหมาย ผลประโยชน์ หรือ ขัดใจจนไม่อยากอยู่ร่วมกัน

ปัญหาการเหยียดวัย หรือ Ageism เป็นปัญหาละเอียดอ่อนที่เกี่ยวพันกับความสุขความพอใจของหลายๆ คนที่แก้ไขได้ไม่ยาก… โดยเริ่มที่ความคิดจิตใจตัวเองที่มีต่อคนรอบข้าง และ หาความพอดีมาแบ่งปันกันด้วยเมตตาโดยไม่พิจารณาว่าแก่–ว่าหนุ่มตั้งแต่แรกให้ล้มเหลว… 

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts