Agricultural Pollution

Agricultural Pollution… มลพิษและผลกระทบจากกิจกรรมทางการเกษตร

หลักฐานทางโบราณคดีและข้อมูลทางตรรกวิทยาเชื่อได้ว่า… มนุษย์ได้เกิดขึ้นบนโลกมาประมาณ 2 ล้านปีมาแล้ว และตลอดช่วงเวลาดังกล่าว มนุษย์เป็นเพียงสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งของระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติ กระทั่งเผ่าพันธ์มนุษย์ได้รู้จักการประกอบอาชีพการเกษตร ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เมื่อราว 10,000 ปีมานี้ ก่อนที่มนุษย์จะวิวัฒน์เข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม… ซึ่งถือว่าเป็นยุคของความเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ ในทางที่ก่อให้เกิดการสูญเสียสมดุลย์ทางธรรมชาติอย่างขนานใหญ่เมื่อราว 200 ปีที่ผ่านมานี้เอง (J. R. Harlan,1975)

ยุคของการพัฒนาอุตสาหกรรมนั้น มนุษย์ได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากเดิมที่มีความสมถะ และอาศัยสิ่งที่ได้จากธรรมชาติเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิต เปลี่ยนแปลงไปเป็นการผลิตเพื่อขายและแลกเปลี่ยนมากขึ้น… และอุตสาหกรรมก็ทำให้มนุษย์เกิดความสะดวกสบาย นับตั้งแต่มีการคิดค้นเครื่องจักรไอน้ำ ขุดกลั่นใช้น้ำมันปิโตรเลียมเป็นพลังงาน รู้จักไฟฟ้า ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไปจนถึงประยุกต์ใช้พลังงานปรมาณู… ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ได้ทำให้มนุษย์มีความต้องการบริโภคสินค้าอุตสาหกรรมและการบริการ เพื่อความสะดวกสบายมากขึ้นและมากขึ้น

ประเด็นก็คือ… สินค้าทุกอย่างที่ผลิตขึ้นสนองความสะดวกสะบายและความต้องการที่เพิ่มขึ้นไม่หยุดหย่อนนี้ มนุษย์ยังคงพึ่งพาธรรมชาติไม่ได้ต่างจากเดิม เหมือนเมื่อครั้งที่มนุษย์เป็นเพียงสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งของระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติเมื่อสองล้านปีก่อน… เรายังใช้น้ำมันที่สูบขึ้นมาจากใต้ดิน และเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั่วโลก ก็ยังใช้แท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่ผลิตจากแร่กัมมันตรังสีจากเหมืองปกปิดที่ตั้งและรายระเอียด ขุดขึ้นมาจากพื้นโลกไม่ต่างกัน… หรือแม้แต่สินค้าอาหารและการผลิตสินค้าทางการเกษตรเลี้ยงมนุษยชาติ ก็ยังต้องพึ่งพาดินน้ำและธรรมชาติบนโลกใบนี้ทั้งสิ้น… ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จึงเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างสิ้นเชิง

พูดถึงสินค้าทางการเกษตรกับผลกระทบต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม… ต้องถือว่าประเด็นนี้เป็นปัญหาระดับโลกไปแล้ว ถึงแม้ว่าโลกยังเผชิญปัญหาใหญ่อย่างเรื่องขาดแคลนอาหารอยู่อีกมากก็ตาม

บทความจากกรมวิชาการเกษตร โดยอาจารย์ชนวน รัตนวราหะ อดีตรองอธิบดีกรมวิชาการเกษตรและผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หนึ่งในผู้บุกเบิกเกษตรอินทรีย์ที่มีประสบการณ์ทำจริงกว่า 3 ทศวรรษ ซึ่งตีพิมพ์ผ่านวารสารกรมวิชาการเกษตรไว้ตั้งแต่ท่านยังเป็นหนุ่มนักวิชาการกรมวิชาการเกษตร เคยพูดถึง การเกษตรที่เน้นการขยายพื้นที่โดยการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้และเน้นการเพาะปลูกเฉพาะพืชเดี่ยว เช่น ข้าวโพด ฝ้าย มันสำปะหลัง ปอ อ้อย ข้าวฟ่าง ถั่ว… ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่ประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายผลิตเพื่อส่งออก… ย้ำว่า “เป็นพืชเศรษฐกิจที่ประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายผลิตเพื่อส่งออก” ได้ก่อให้เกิดผลกระทบและสร้างปัญหาติดตามมามากมาย เช่น

  1. ปัญหาดินเสื่อมโทรม
  2. การเกิดระบาดของศัตรูพืช
  3. การเพิ่มระบาดมากขึ้นของศัตรูพืช
  4. การสร้างความต้านทานของแมลงศัตรูพืชต่อสารกำจัดศัตรูพืช
  5. พิษตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชในสภาพแวดล้อม
  6. สารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในห่วงโซ่อาหาร หรือ Food Chains
  7. สารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผลิตผลทางการเกษตร
  8. ผลกระทบของการเกษตรต่อป่าชายเลน
  9. ผลกระทบของอุตสาหกรรมการเกษตรต่อสภาพแวดล้อม

บทความตอนนี้ดัดแปลงจากต้นฉบับที่อาจารย์ชนวน รัตนวราหะ เรียบเรียงไว้เดิมครับ… เอกสารมีรายละเอียดค่อนข้างมาก แต่เป็นรายละเอียดที่เผยแพร่รับรู้ประเด็นผลกระทบทั้ง 9 อุบัติการณ์ที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ซึ่ง Reder Fan สายสิ่งแวดล้อมทราบและเข้าใจรายละเอียดปัญหากันดีอยู่แล้ว… และผมเรียบเรียงบทความตอนนี้ขึ้นซ้ำเพื่อใช้พื้นที่เล็กๆ นี้ แนะนำหลายๆ ท่านให้รู้จักและจดจำชื่อ ชนวน รัตนวราหะ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่เคลื่อนไหวต่อต้านสารพิษทางการเกษตรมาอย่างยาวนาน รวมทั้งกรณีพาราควอตในช่วงสามสี่ปีมานี้ด้วย… 

#FridaysForFuture ครับ!

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *