EdTech หลังวิกฤตโควิดที่กำลังเป็นกระแสหลักนอกเหนือจากการ “เปิดรับเทคโนโลยีบล็อกเชน” อย่างชัดเจนแล้ว กระแสหลักของแนวโน้มทางการศึกษายังปรากฏข้อมูลการพัฒนา “AI Teacher” ซึ่งจะเข้ามาแบ่งเบาภาระงานสอนของครูอาจารย์ทางหนึ่ง และ เข้ามาเติมเต็มช่องว่างทางการศึกษาในประเด็นครูอาจารย์เก่งๆ มีน้อยและขาดแคลนด้วยอีกประเด็นหนึ่ง รวมทั้งแนวทางการจัดการศึกษาให้ทุกคนแบบ Personalized และ Lifelong Education ได้อย่างแท้จริง
ก่อนอื่นต้องเข้าใจให้ชัดก่อนว่า… AI Teacher ไม่มีศักยภาพมากพอจะมาทดแทนครูอาจารย์เก่งๆ ได้ แต่จะเป็นครูอาจารย์เก่งๆ และ นักการศึกษาเชี่ยวชาญผู้มีหน้าที่ออกแบบระบบการศึกษาต่างหาก ที่จะใช้ AI Teacher มาเป็นเครื่องมือสนับสนุนกิจกรรมทางการศึกษาให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อถ่ายทอด หรือ Delivered องค์ความรู้และสภาพแวดล้อมแบบเฉพาะเจาะจงให้กับ “ผู้เรียน” ซึ่งในนิยามของ Lifelong Education จะหมายถึง… ทุกคนบนโลกล้วนเป็นผู้เรียน
AI Teacher หรือ ปัญญาประดิษฐ์ในฐานะผู้สอน… จึงมีฐานะเป็นได้เพียงครูผู้ช่วย และ เครื่องมือพัฒนาโอกาสที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดเท่าที่อุตสาหกรรมการศึกษาเคยมีมา… เท่านั้น
แต่นั่นไม่ได้แปลว่า… อุตสาหกรรมการศึกษายังต้องการครูอาจารย์แบบเดิมๆ หรือ เหมือนเดิมหรอกครับ เพราะคนที่จะมาทำหน้าที่ผู้สอนร่วมกับระบบนิเวศทางการศึกษาที่มีทั้ง AI และ Education Technology ทั้งในระดับโครงสร้างพื้นฐาน และ ในระดับการสื่อสาร ไปจนถึงในระดับการฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนาทักษะต่างๆ นั้น… บทบาทหน้าที่และทักษะของครูแบบยืนหน้าชั้นวันละ 8 ชั่วโมงย่อมถูกเปลี่ยนเพื่อทำหน้าที่ร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งจะเข้มข้นและพลิกผันกว่าการเปลี่ยนแปลงจากยุคชอล์กกระดานดำมาเป็นยุค PowerPoint แบบคนละเรื่องทีเดียว
ตัวอย่างการบรรยายพร้อม Presentation Translator Technology ซึ่งจะทำให้งานบรรยาย หรือ การสอนของครูอาจารย์หนึ่งคน สามารถสอนเป็นภาษาอื่นๆ ให้นักเรียนจากทั่วโลกได้โดยตรงเป็นภาษาท้องถิ่นได้นับร้อยภาษา… งานเตรียมสอนบน Presentation Translator จึงไม่ง่ายแค่ “กึ๋น กับ เก๋า” ตอนอยู่หน้าชั้นจะจัดการได้ เพราะ AI ในช่วงเริ่มต้นยังต้องการการปรับแต่งในการแปลความคำบรรยายที่จำเป็นจะต้องทำงานเบื้องหลังอย่างรอบคอบ
Professor Dr.Kentaro Toyama นักวิทยาการคอมพิวเตอร์และผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์จาก University Of Michigan ได้ให้ความเห็นในประเด็น AI Teacher ว่า… ความหวัง และ ความกังวลที่จะได้เห็น AI Teacher ในฐานะผู้สอนหลักยังจะไม่เกิดขึ้นเร็วๆ นี้ เพราะในวงการคอมพิวเตอร์ได้พยายามกันมาตั้งแต่ยุค 60s โดยเฉพาะ Carnegie Mellon’s Geometry Tutor Project หรือ Cognitive Tutors ซึ่งได้พิสูจน์สิ่งที่ AI Teacher ให้กับผู้เรียนยังไม่ได้ก็คือ Student Motivation หรือ การสร้างแรงจูงใจในการเรียนให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
ปัญหาที่ “ครูมนุษย์” กลายเป็นส่วนหนึ่งของ “ขีดจำกัดเชิงพัฒนาการด้านการศึกษา” กับปัญหาทางเทคนิคที่ “AI Teacher” เองก็ไม่มีทางนำใช้ Soft Power แบบที่มนุษย์จริงๆ มีให้กันในระหว่างปฏิสัมพันธ์ได้… AI Teacher ในยุทธศาสตร์ทางการศึกษาจึงเป็นไปได้ยากที่จะมาแทนครูมนุษย์ในฐานะครู แต่ AI ที่มาพร้อมฟังก์ชั่นทางการศึกษา และ ถูกพัฒนา หรือ Train บนโปรแกรม AI Teacher เพื่อเป็นส่วนที่ขาดหายของครูมนุษย์… เกิดขึ้นแน่นอน
โดยเฉพาะแง่มุมที่… AI Teacher ที่มีศักยภาพในการสอนได้ตลอด 24 ชั่วโมง จนสามารถให้ความรู้แก่ผู้เรียนข้ามเขตเวลา หรือ Cross Time Zone โดยไม่เหน็ดเหนื่อยเบื่อหน่าย ไม่ขอค่าแรงเพิ่ม ไม่รับสวัสดิการเพิ่ม ไม่ป่วย ไม่ตาย และ ยังพัฒนาขีดความสามารถขึ้นได้อีกเรื่อยๆ ตลอดเวลา… จึงทำผิดพลาด และ ล้มเหลวในการแสดงประเด็นที่สอดคล้องกันได้อย่างดี… ซึ่งการที่ AI Teacher ไม่มีอารมณ์ความรู้สึกนี่เองที่จะทำให้สามารถ “Teach Without Prejudice หรือ ถ่ายทอดความรู้ได้โดยปราศจากอคติ”
ส่วนแง่มุมในฝั่งผู้เรียน… การเรียนรู้และสื่อสารกับ AI Teacher จะทำให้ผู้เรียนได้ข้อมูลเฉพาะส่วนแบบ Personalized อย่างชัดเจน ซึ่งองค์ความรู้และข้อมูลที่มีอยู่กับ AI Teacher จะมีมากพอ ลึกพอ ชัดเจนพอ และ เป็นปัจจุบันพอสำหรับความต้องการของผู้เรียนอย่างแน่นอน
แต่ในทางเทคนิค… การพัฒนา AI Teacher ที่วางใจได้ถึงขั้นให้เป็นผู้สอนนั้น ขั้นตอนการพัฒนา รวมทั้งการประเมินศักยภาพระหว่างทำหน้าที่ต้องรัดกุมมากพอถึงขั้นวางใจได้ และควรให้ครูมนุษย์เข้าไปทำหน้าที่ Facilitator สำหรับผู้เรียน และ AI Teacher ด้วย…
รายละเอียดทางเทคนิคปลีกย่อยมีอีกเยอะมาก และ งานวิจัยที่มุ่งพัฒนา และ ปรับใช้ AI ทางการศึกษายังมีน้อยมาก… และ ปีหน้าคงมีข้อมูลด้านนี้มารายการและเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับทุกท่าน… ครับ!
References…