Amusement… สนุกสุขสันต์  #SelfInsight

การได้หัวเราะครื้นเครงซึ่งเป็นภาวะบันเทิงเริงใจของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่ามนุษย์อย่างพวกเรา หรือ แม้แต่กับสัตว์หลายๆ ชนิด ซึ่งภาวะบันเทิงเริงใจอันสื่อถึง “ความพึงพอใจขั้นสุด” ที่มักจะกระเพื่อมขึ้นมาจากความสุขธรรมดา ซึ่งคนๆ หนึ่งได้เข้าสู่สภาวะของการประสบเหตุการณ์ และหรือ สถานการณ์อันตลกขบขัน และ สนุกสนานอย่างมาก โดยจะสัมพันธ์กับประสบการณ์แห่งความเพลิดเพลินจนปรากฏเป็นรอยยิ้ม และ เสียงหัวเราะโดยอัตโนมัติจากอารมณ์บวกล้นเหลือ จนเห็นเป็นกิริยาตื่นตัวทางสรีรวิทยาที่แสดงถึงความพึงพอใจขั้นสนุกสุขสันต์ หรือ Amusement ออกมา

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ… คนเรามักจะหัวเราะ หรือ ยิ้มเพื่อแสดงความสนุกสนานเมื่ออยู่ในสถานการณ์ และ สิ่งแวดล้อมที่ทำให้สามารถ “รับรู้” ได้ถึงความบันเทิงเริงรมณ์ที่ปรากฏให้มีประสบการณ์ร่วม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกๆ สิ่งที่เรียกว่าความบันเทิงเริงรมณ์จะทำให้คนเราสนุกสุขสันต์ตามไปด้วยเสมอไป… เพราะบริบท และ สภาพจิตใจ กับ การรับรู้ในแต่ละช่วงเวลาของคนๆ หนึ่งไม่อาจตีความเกี่ยวกับสถานการณ์ หรือ ประสบการณ์บันเทิงเริงรมณ์ และหรือ สนุกสนานได้เหมือนเดิม หรือ เท่าเดิมได้ทุกครั้ง… ตัวอย่างมุขตลกที่เคยขำน้ำตาเล็ดมาก่อน ก็อาจจะไม่ขำอีกเลยเมื่อได้ยินซ้ำก็ได้

ในหนังสือ The Expression of the Emotions in Man and Animal ของ Charles Darwin ได้เสนอความเห็นเกี่ยวกับความบันเทิงเริงรมณ์ หรือ อารมณ์ขั้นสนุกสุขสันต์ หรือ Amusement Emotion ว่า… เป็นอารมณ์แห่งความปิติยินดีเป็นพิเศษจนสามารถเปล่งเสียงหัวเราะออกมา ซึ่งคนเราสามารถหัวเราะจนหอบเหนื่อย หรือ น้ำหูน้ำตาพรั่งพรูเลยก็ได้… โดย “สนุกสุขสันต์ หรือ Amusement” จะตรงกันข้ามกับความอึดอัดขัดข้องใจ หรือ Embarrassment และ ความอาย หรือ Shame อย่างชัดเจน… ถึงแม้หลายกรณีกับหลายๆ คนจะเคยมีประสบการณ์ “สนุกสุขสันต์บันเทิงใจ” จากความอับอายอัดอั้นของคนอื่น

Ron Killings และ Vince McMahon กำลังสาธิตการหัวเราะขั้นสนุกสุขสันต์ หรือ Amusement ; Source: WikiPedia.org

ในทางสรีรวิทยา… การหัวเราะขั้นสนุกสุขสันต์ หรือ Amusement จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง กล้ามเนื้อ และ เส้นเอ็นทั้งศีรศะและลำคออย่างชัดเจน… ซึ่งทั้งหมดจะส่งผลถึงการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และ การหายใจที่สามารถ “ต้านอารมณ์ความรู้สึกด้านลบ และ ความเจ็บปวด” ได้… ศาสตร์ และ วิธีการบำบัดจิตใจและอารมณ์ความรู้สึกที่เรียกว่า Laughter Therapy หรือ การบำบัดด้วยเสียงหัวเราะจึงได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน

คำถามคือ… ถ้าอยากมีประสบการณ์สนุกสุขสันต์ หรือ Amusement อย่างสม่ำเสมอต้องทำอย่างไร?

บทความของอาจารย์ประพัฒน์ ลักษณพิสุทธิ์ จากคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชี้ว่า… คนเราควรให้ความสำคัญ หรือ โฟกัสกับกิจกรรมเชิงนันทนจิต หรือ Leisure ซึ่งผู้คนควรได้มีโอกาสได้ใช้เวลา… โดยเฉพาะเวลาว่างจากกิจวัตรประจำวันไปกับกิจกรรมนันทนาการ หรือ Recreation ซึ่งคนๆ หนึ่งจงใจทำกิจกรรมนั้นๆ เพื่อการบันเทิง และ การผ่อนคลาย รวมทั้งการทำ หรือ เข้าร่วมกิจกรรมที่ทำให้ “ใจ–กาย” สดชื่นสนุกสนานเพลิดเพลินใจ หรือ Amusement

สรุปว่า… ประสบการณ์สนุกสุขสันต์ หรือ Amusement เป็นอะไรที่คนเราต้องแสวงหากันเองพอสมควรถ้าอยากสนุกสนาน เพลิดเพลิน และ ผ่อนคลาย… ซึ่งควรเป็นกิจกรรมอะไร? หรือ แบบไหน? อย่างไร?… คงไม่อาจจะบอกใครได้ว่า “ต่อมขบขัน และ ต่อมความสนุกสุขสันต์” ของแต่ละท่านควรจะเป็นอะไร? 

ส่วนท่านที่สนใจ “นันทนจิตศึกษา หรือ Leisure Study” ซึ่งโดยส่วนตัวมองว่าเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการแสวงหาหนทาง “สนุกสุขสันต์ หรือ Amusement” อันเป็นการพาตัวเองไปอยู่กับสภาพแวดล้อมแห่งความพึงพอใจขั้นกว่าโดยไม่ต้องพึ่งพิงอิงอ้างพิธีกรรม และ ความเชื่อแบบลัทธิ หรือ ศาสนา… ขอยกไปโอกาสหน้าน๊ะครับ!

References… 

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts