Andragogy Adult Learning

Andragogical Model และ Lifelong Learning

คำอย่าง “สังคมการเรียนรู้” หรือ”การเรียนรู้ตลอดชีวิต” เป็นคำใหญ่ที่ผมเองก็เชื่อหมดใจว่า นี่คือแนวทางการศึกษาของยุคสมัยเราอย่างแท้จริง… แต่การออกแบบและจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ที่มีทรัพยากรเพื่อสนองตอบการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างแท้จริงนั้นไม่ง่าย… ซึ่งวันนี้ผมคิดว่าควรจะพาทุกท่านย้อนกลับไปทำความรู้จักกับโมเดลการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ที่เรียกว่า Andragogy ครับ

โดยทั่วไป… พอพูดถึงคำว่าเรียนหรือไปเรียน สิ่งที่คนส่วนใหญ่คิดถึงในแวบแรกน่าจะเป็นโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ซึ่งทั้งหมดเป็นรูปแบบการเรียนที่ชื่อว่า Pedagogy   มาจากภาษากรีกคำว่า Paedagogo แปลว่า To Lead The Child หรือการนำทางเด็ก หรือสอนเด็กนั่นเอง… และแน่นอนว่าผู้ใหญ่หลายคนไม่อยากเจอแบบนั้นหรอก

ดังนั้นการจะสร้างโมเดลให้ผู้ใหญ่อยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เราจำเป็นต้องกลับมาดูทฤษฎีการเรียนรู้ผู้ใหญ่ หรือ    Andragogy ซึ่งริเริ่มโดย Dr. Malcolm Knowles ผู้เขียนหนังสือชื่อ Informal Adult Education: A Guide for Administrators, Leaders, and Teachers… พิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ปี 1950 และเป็นคนบัญญัติคำว่า Andragogy ขึ้นแทนคำว่า Pedagogy of Adult Education ที่ใช้กันมาก่อนหน้าด้วย

Dr. Malcolm Knowles

Dr. Malcolm Knowles ได้นิยามคำว่า Andragogy ไว้ว่า… Andragogy เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในการช่วยให้ผู้ใหญ่เรียนรู้ และตั้งสมมุติฐานคุณลักษณะของผู้เรียนวัยผู้ใหญ่ไว้ 5 แนวทางคือ

  1. ผู้เรียนวัยผู้ใหญ่ได้หลุดพ้นจากการพึ่งพาสู่ความเป็นอิสระที่สามารถชี้นำตนเองได้ทุกเรื่องรวมทั้งการเรียน
  2. ผู้เรียนวัยผู้ใหญ่สามารถดึงประสบการณ์ชีวิตมาเสริมและช่วยการเรียนรู้ได้
  3. ผู้เรียนวัยผู้ใหญ่พร้อมที่จะเรียนรู้ตามการเปลี่ยนแปลงของบทบาทใหม่ทางสังคมและบทบาทใหม่ในชีวิต
  4. ผู้เรียนวัยผู้ใหญ่เน้นการเรียนรู้โดยมีปัญหาเป็นศูนย์กลาง และนำสิ่งที่เรียนรู้ไปปรับใช้กับปัญหาได้ทันที
  5. ผู้เรียนวัยผู้ใหญ่มีแรงจูงใจใฝ่รู้จากภายใน มากกว่าแรงจูงใจจากภายนอก

ทฤษฎีของโนลส์ หรือ Andragogy Theory เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาระบบการศึกษาแบบ Self-directed Learning ในเวลาต่อมา และกำลังพัฒนาไปสู่ Lifelong Learning ในปัจจุบันและอนาคต

ประเด็นก็คือ… การวางแผนจัดการการเรียนรู้และการศึกษาสำหรับวัยผู้ใหญ่ หรือแม้แต่การจัดสภาพแวดล้อมการศึกษาแบบให้ผู้ใหญ่เรียน จำเป็นต้องพิจารณาบริบทและสาระให้สอดคล้องกัน

งานวิจัยของวุทธิศักดิ์ โภชนุกูล ตีพิมพ์เผยแพร่ในปี 2550 ได้อ้างถึง ความเชื่อเบื้องต้นของทฤษฎีการเรียนรู้  Andragogy โดยวางกรอบอ้างอิงความเชื่อในตัวผู้เรียนไว้ 4 แนวทางคือ

  1. บุคคลมีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง หรือ Unique และมีความเป็นปัญเจกหรือลักษณะเฉพาะตน
  2. บุคคลต้องการการพัฒนาไปในทางที่ดีตามศักยภาพของตน
  3. การเรียนรู้เป็นกระบวนการภายในของผู้เรียน คนอื่นๆ เป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวกต่อการเรียนรู้ 
  4. บุคคลต้องสามารถชี้นำตนเอง หรือ Self-directing

กรอบความเชื่อทั้ง 4 แนวทางนี่เองที่นำไปสู่การออกแบบโมเดลการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่… และขยายผลและปรับปรุงไปสู่โมเดลการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในลำดับต่อมา… มาดูกันหน่อยครับว่า โมเดลการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่ หรือ Andragogical Model มีพลังแฝงอะไรซ่อนอยู่ในตัวผู้เรียนบ้าง

  1. Need to Know หรือมีความต้องการรู้ 
  2. Self Concepts หรือมีแนวคิดหรือทัศนะส่วนตน
  3. Role and Experience หรือมีบทบาทและประสบการณ์
  4. Readiness to Learn หรือมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ 
  5. Orientation to Learning หรือมีหนทางนำไปสู่การเรียนรู้
  6. Motivation หรือมีแรงจูงใจ

กรอบสมมติฐานต่าง ๆ ทั้ง 6 เหล่านี้… สามารถนำไปใช้เป็นกรอบในการคิดออกแบบ “รูปแบบของประสบการณ์การเรียนรู้” หรือ Design of Learning Experience Format ให้สอดคล้องกับผู้เรียน

ผมขออนุญาตไม่ลงรายละเอียดที่ลึกกว่านี้แล้วน๊ะครับ เพราะไม่ว่าจะขยายความต่อหรือพอเท่านี้… ทุกกรณีของการตีความทฤษฎี เป็นเรื่องการทำความเข้าใจในแง่มุมและบริบทของผู้ตีความมากกว่า… ส่วนการตีความเพื่อนำไปปรับใช้ ทุกท่านคงทราบอยู่แล้วว่า ทฤษฎีบริสุทธิ์เอาไปทำอะไรไม่ได้หรอก ถ้าไม่ตีความให้เข้ากับบริบทชนิดที่ผสมกลมกลืน หรือ Blend ไปด้วยกันเป็นรายกรณีไป…

เอาเป็นว่า… Lifelong Learning ต้องจัดการศึกษาด้วยกรอบทฤษฎี Andragogy มากกว่า Pedagogy โดยยึด Self-directed Learnings จากการโฟกัสปัญหาเป็นศูนย์กลาง

อันนี้เป็นหลักการ… ส่วนวิธีการก็แล้วแต่บริบทกับจินตนาการแล้วหล่ะครับ!

อ้างอิง

https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/35127/29186
http://cooolworld2010.blogspot.com/2009/11/andragogical-model.html
https://www.gotoknow.org/posts/258875
https://en.wikipedia.org/wiki/Malcolm_Knowles

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts