Chatbot Teacher

Artificial Intelligence In Academics… AI ในกิจกรรมทางวิชาการ

Artificial Intelligence หรือ AI ไม่ใช่แนวโน้มอีกแล้วนับตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา เพราะนอกจากจะไม่ใช่แนวโน้มแล้ว… ยังกลายเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานแทบทุกอย่างที่ต้องพึ่งพาและนำใช้ข้อมูล ถึงแม้ว่าโดยสภาพข้อเท็จจริงจะยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน แต่ทุกคนที่เกี่ยวพันอยู่กับเทคโนโลยีรู้ดีว่า… ช้าเร็วก็ต้องเปิดประตูรับ AI เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการงานอย่างแน่นอน

 ในแวดวงวิชาการและกิจกรรมทางการศึกษา… ซึ่งถือเป็นแวดวงองค์ประกอบของสังคมมนุษย์ในด้านภูมิปัญญา ดูเหมือนความเคลื่อนไหวเรื่องการนำใช้ AI หรือ AI Adoption น้อยกว่าภาคส่วนอื่นคล้ายกันทั่วโลก… 

ช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา… Oliver Deighton ได้โพสต์บทความหัวข้อ eLearning App Trends Defining Educational App Development ลงเวบไซต์ https://elearningindustry.com โดยชี้ให้เห็นความสำคัญเร่งด่วนในการนำใช้ Artificial Intelligence ในแพลตฟอร์มด้านการศึกษา… ซึ่งหันซ้ายหันขวาก็คือ eLearning ที่ถึงคราวจะต้องมีการใช้  AI เข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลง

ในทางเทคนิค…  Oliver Deighton แนะนำให้ปรับ LMS หรือ Learning Management System ให้รองรับการสั่งงานด้วยเสียงได้เลย ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสั่งงานและโต้ตอบด้วยเสียงในอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะกิจกรรมทางการตลาดและการสื่อสารประชาสัมพันธ์

ประเด็นที่น่าตื่นเต้นที่สุดก็คือ… การพัฒนากลไกการเรียนการสอนโดยมีฟังก์ชั่นทาง AI อยู่ในระบบการสื่อสารทางวิชาการระหว่างครูนักเรียนและสถาบันการศึกษา

ประเด็นเป็นแบบนี้ครับ… หลายท่านที่เป็นนักวิชาการหัวก้าวหน้า หรืออย่างน้อยก็อยู่ในแวดวงวิชาการที่พยายามประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ให้เป็นประโยชน์ต่อกิจกรรมทางการศึกษาเท่าที่จะค้นพบแนวคิดและได้ลองที่จะเรียนรู้และลงมือทำ… หลายท่านที่ผมรู้จัก มักจะล้มเหลวท้อแท้กับความพยายามในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแทบทุกอย่าง ที่อยากมีไว้ใช้ในกิจกรรมทางการศึกษา

ความล้มเหลวส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้น… ถ้าสังเกตุให้ดีจะเห็นบริบทการตรงไปที่ตัวเทคโนโลยีอันน่าตื่นเต้นก่อนจะมีบริบทอื่นที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ… โดยเฉพาะวิชาการและบริบททางเนื้อหาสาระ หรือ Contents ซึ่งเป็นสารหลักที่เทคโนโลยีต้องใช้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์… กรณีการซื้ออุปกรณ์ VR มากองไว้ก่อน โดยไม่มีคลิป VR ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนเลย แถมยังไม่มีงบประมาณจะสร้างหรือจะซื้ออีกต่างหาก… ก็คงไม่ต่างจากการซื้อคอมพิวเตอร์ส่งไปให้โรงเรียนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ เหมือนที่หน่วยงานทางศึกษาในบางประเทศทำเรื่องไม่ฉลาดแบบนี้ไว้อย่างน่าหัวเราะที่สุดนั่นเอง

คำแนะนำเบื้องต้นจาก Oliver Deighton ที่ผมสนใจมากที่สุดก็คือ การประยุกต์ใช้ Chatbot ในบริบททางการสื่อสารในฐานะ “ครูผู้ช่วย” ซึ่งอาจจะเก่งหรือห่วยก็ขึ้นอยู่กับ Contents และเทคนิคการพัฒนาความสามารถให้ Chatbot นั่นเอง… ส่วนคำแนะนำเรื่อง Gamification รวมทั้งการพัฒนาและนำใช้สื่อทางการศึกษาแบบ Interactive ก็น่าสนใจอย่างยิ่ง แม้ความเห็นส่วนตัวยังเชื่อ สื่อในกลุ่ม Interactive และ Gamification น่าจะมีต้นทุนสูงกว่าและปรับเปลี่ยนได้น้อยกว่า Chatbot มาก… แต่ก็น่าเบื่อน้อยกว่า Chatbot มากเหมือนกัน

ส่วนการนำงานวิชาการและกลไกทางการศึกษาเชื่อมต่อกับ ML หรือ Machine Learning เพื่อหวังผลการป้อนกลับเป็น Education Super-Contents ผ่านกลไกการสื่อสารทางการศึกษา ย้อนกลับมาให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอน ได้เหมาะสมดีเลิศกว่าเดิมนั้น… เราคงต้องเริ่มต้นที่การ Digitized องค์ความรู้ที่มีอยู่กันตั้งแต่เดี๋ยวนี้

เพราะ AI และ ML ต้องการทั้งหมดนั้นในรูปข้อมูลดิจิทัล… 

สิ่งที่น่ากังวลสำหรับผมก็คือ… องค์ความรู้ที่ฝั่งวิชาการไทยสะสมเก็บกองเป็นภาษาไทยใส่อินเตอร์เน็ตและ Digitized ไปแล้วส่วนใหญ่… อ่านดูแล้วทั้งเพลียและวังเวงจริงๆ

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts