คนส่วนใหญ่ต่างก็มี “เป้าหมายในชีวิต” บางอย่าง ที่คาดหมายและมุ่งหวังที่จะบรรลุในอนาคต แต่หลายคนก็ไม่กล้าพอที่จะ “ตั้งเป้าหมายในชีวิต” ให้ไกลและซับซ้อนเกินกว่าชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันที่เวลาส่วนใหญ่ในชีวิต ถูกใช้ไปกับกิจวัตรที่คุ้นชินเป็นวงจรจนสมดุลย์ ซึ่งถ้าคนๆ นั้น “พอใจ” กับวงจรชีวิตแบบนั้นโดย “ไม่มีเป้าหมายในชีวิตระยะถัดไป” อีกแล้ว และ ไม่เกิดปัญหาหรือความเสี่ยงใดๆ ขึ้นในชีวิตอีกแล้ว ก็ย่อมถือว่าเป็นชีวิตที่น่าอิจฉากับความ “พอ” ถึงขั้นที่สามารถตัดความทะเยอทะยานที่ต้องใช้ขับเคลื่อนตัวตนเข้าหาเป้าหมายใหม่ ซึ่งท้าทาย และ ก็คงต้องเหนื่อยต่ออีกพอสมควร… ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบ
ความทะเยอทะยาน หรือ Aspirational อันเป็นคุณลักษณ์ของแรงขับเคลื่อนเป้าหมายชีวิตรูปแบบหนึ่ง ที่มีไว้เพื่อขับเคลื่อนตัวเองเข้าหาเป้าหมายในชีวิตในขั้น “ลงมือทำ” เพื่อสร้างตัวแปรอันเป็นปัจจัยของการบรรลุเป้าหมายที่ไกลไปจากกิจวัตรที่คุ้นชิน รวมทั้งสถานะและทรัพยากรในปัจจุบัน ซึ่งก็มักจะขาดพร่องอยู่มาก… ความทะเยอทะยานในเชิงรูปธรรมจึงเป็นเป้าหมายอันท้าทายที่ล้มเหลวได้ง่ายกว่าที่จะสำเร็จ หรือ ที่สามารถทำได้สบายๆ เหมือนกิจวัตรที่คุ้นชิน
ประเด็นก็คือ คนส่วนใหญ่ที่ต่างก็มี “เป้าหมายในชีวิต” บางอย่างก็มักจะมี “ความทะเยอทะยาน” บางรูปแบบขับเคลื่อนหนุนเนื่องเข้าหาเป้าหมายชีวิตให้ยังคงเป็น “เป้าหมาย หรือ ความหวัง” อยู่เสมอ… ซึ่งไม่ว่าจะหวังสูง หรือ มีเป้าหมายยาวไกลแค่ไหน ระดับความทะเยอทะยานเกือบทั้งหมดก็มักจะเชื่อมโยงกับ “ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง หรือ Self Worth”
ในคนที่มีเป้าหมายในชีวิตที่สูงและท้าทาย จึงอธิบายได้ว่ามี “รู้สึกมีคุณค่าจนเกิดความเชื่อมั่นในตนเองที่สูงและมาก” ผ่าน แรงทะเยอทะยานที่ต้องทุ่มเทเพื่อการบรรลุเป้าหมาย… ส่วนในคนที่มีเป้าหมายในชีวิตโดยหลีกเลี่ยงความท้าทาย และ เป้าหมายยากๆ ทั้งหมด จึงมีแนวโน้มที่จะมองเห็นคุณค่าในตนเองไม่มาก ในขณะที่ความเชื่อมั่นในตนเองก็ไม่ได้สูงถึงขั้นที่จะเชื่อว่าตนเองทำเรื่องยากๆ ใหญ่ๆ ได้
Kendra Cherry ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการศึกษาจาก VeryWellMind.com ชี้ว่า… จิตวิทยาความทะเยอทะยานที่เป็นแรงขับให้ผู้คนทุกเพศทุกวัยและสถานะ ต่างก็หาทางเรียนรู้ ฝึกฝน และ พัฒนาตนเองนั้น ซึ่งทั้งหมดก็เพื่อให้ตนเองมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะพิชิตเป้าหมายในชีวิต โดยท้าทายตัวเองผ่านความหวังและความฝัน… ซึ่งความทะเยอทะยานนี้เองที่เป็นส่วนสำคัญในแรงบันดาลใจเพื่อการสร้างความสัมพันธ์ที่มีความหมายกับผู้อื่น มีบทบาทในสังคมและชุมชน ซึ่งจะอำนวยความเป็นอยู่ที่ดีกว่าเดิมให้เกิดเป็นความสุขทางกายและใจได้
งานวิจัยตีพิมพ์ในหัวข้อ Expanding the Map of Intrinsic and Extrinsic Aspirations Using Network Analysis and Multidimensional Scaling ของ Dr.Frank Martela จาก Aalto University ในฟินแลนด์พบว่า… ความทะเยอทะยานที่มีศูนย์กลางอยู่กับอำนาจ และ การยึดมั่นของสังคม… จะเป็น “แรงบันดาลใจภายนอก หรือ Extrinsic Motivation” โดยจะโฟกัสอยู่กับความทะเยอทะยานที่จะสร้างคุณค่าให้ตนเองจนมีโอกาสจะได้เป็นศูนย์กลางของสังคมที่ยึดโยงเข้ากับโครงสร้างอำนาจ
ส่วนความทะเยอทะยานในการทำมาหากิน และ เส้นทางอาชีพ หรือ Career Path ที่มนุษย์ปกติทุกคนมักจะมีอยู่กับตัว… ก็จะเป็น “แรงบันดาลใจภายใน หรือ Intrinsic Motivation” โดยจะโฟกัสอยู่กับผลประโยชน์ส่วนตัว… ภาพลักษณ์… ความมั่งคั่ง รวมทั้งคำตอบมาตรฐานในการสัมภาษณ์งานเมื่อถูกถามถึงแรงบันดาลใจว่าทำไมส่งใบสมัครงานมาที่นี่? ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะบอกว่า การได้มีประสบการณ์ หรือไม่ก็อยากทำงานกับมืออาชีพ! เพื่อพาตัวเองไปถึงผลประโยชน์ส่วนตัวทั้งหมดที่คาดหวัง และ ใฝ่ฝัน
อย่างไรก็ตาม… ความสำเร็จและการบรรลุในทุกๆ เป้าหมายที่ยังเป็นความหวัง และหรือ ความฝัน อันเป็นเป้าหมายชีวิตในระดับที่กล้าตั้งเป้าหมายอย่างทะเยอทะยานและท้าทายอย่างมีเหตุผล… อย่างไรเสียก็จำเป็นจะต้องสร้างด้วยแรงบันดาลใจภายใน และ แรงบันดาลใจภายนอก ด้วยการแปลงความทะเยอทะยานไปเป็น To-Do-List และ เริ่มทำตาม List ด้วยความเชื่อมั่นในตนเองจนบรรลุเป้าหมาย…
ส่วนที่ต้องตระหนักก็คือ เป้าหมายระดับทะเยอทะยานมักจะมีลักษณะเฉพาะที่ท้าทายความเพียรอยู่มาก… หลายกรณีที่ล้มเหลวจึงมาจากความเพียรที่ไม่ต่อเนื่องเพียงพอ จนการสั่งสมปัจจัยความสำเร็จระดับทะเยอทะยานมีได้ไม่มากพอ… และหลายกรณีก็ล้มเหลวจากผลกระทบที่คาดไม่ถึง อันเนื่องมาจากการวางเป้าหมายระดับทะเยอทะยานโดยขาดเหตุผลแห่งความเป็นไปได้ และ มี “ความเสี่ยงที่จัดการไม่ได้” ปรากฏขึ้นก่อนจะบรรลุเป้าหมาย…
References…