อย่างที่เกริ่นไปกับบทความตอน Open Book Exam และ Take Home Exam ว่า… นี่คือยุคสมัยของการเรียนการสอนออนไลน์อย่างแท้จริงแล้ว ซึ่งการปรับตัวสู่การเรียนการสอนออนไลน์ด้วยเปอร์เซ็นต์แค่ไหนของสัดส่วนการทำหลักสูตรและนโยบายก็ตาม สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมากก็คือ การประเมินผลการเรียนการสอนหรือการสอบ ซึ่งโครงสร้างการทดสอบความรู้ทั้งระบบ จำเป็นต้องพัฒนาบนโครงสร้างที่สอดคล้องกับทุกบริบทของการจัดการศึกษาที่เป็นปัจจุบันให้ได้
อย่างที่เกริ่นไปกับบทความตอน Open Book Exam และ Take Home Exam ว่า… Open Book Exam ต้องการคำตอบที่ผู้เรียนหรือผู้ถูกประเมินผลการเรียนเป็นคนตอบโดยตรง โดยการตั้งคำถามทดสอบความความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนขั้นประยุกต์และวิเคราะห์… โดยไม่แจงคำตอบที่ถูกผิดคละกันมาให้เลือกเหมือน Close Book Exam หรือเหลือช่องว่างให้ตอบเท่าที่จำได้
ประเด็นก็คือ… มีบุคลากรทางการศึกษาน้อยมากที่มีประสบการณ์กับ Open Book Exam ถึงระดับ “ออกแบบข้อสอบเป็นจริงๆ”
ซึ่งนิยามของการ “ออกข้อสอบเป็น” คลอบคลุมตั้งแต่กำหนดกรอบและวัตถุประสงค์การสอบ ตั้งเกณฑ์การประเมินไปจนถึงเงื่อนไขก่อนทดสอบ ระหว่างทดสอบและหลังสอบ… เลยไปจนถึงมาตรฐานข้อสอบที่หลายกรณีอาจจะต้องใช้ผู้ทรงคุณวุฒิ ทำงานเป็น Peer Reviewer เพื่อช่วยตรวจสอบตัวข้อสอบและรับรองความถูกต้องแม่นยำทั้งมิติเนื้อหาสาระและเกณฑ์ที่ใช้แปรผลเทียบวัด… ซึ่งข้อสอบต้องดึง “ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ หรือ Critical Thinking และทักษะการวิเคราะห์องค์ความรู้ออกมาได้อย่างครบถ้วน”
ก่อนอื่น ผมเรียนทุกท่านไว้ตรงนี้ว่า… Open Book Exam ไม่มีรูปแบบตายตัวและต้องพึ่งพาวิจารณญาณของคนออกแบบทดสอบมากยิ่งกว่าวิจารณญาณของผู้สอบหลายเท่า โดยเฉพาะการออกแบบเกณฑ์การประเมินที่ต้องละเอียดรอบคอบให้มาก… และผมไม่มีคำแนะนำขั้นละเอียดใดๆ กว่านี้เสริมให้ทุกท่านได้อีก
แต่ผมลอกการบ้านจากเอกสารเผยแพร่ของ The University of Newcastle, Australia มาฝากแทน… ซึ่งเอกสารแนะนำ “ข้อควรพิจารณา” เมื่อต้องออกข้อสอบแบบ Open Book Exam ได้แก่
- คำถามใน Open Book Exam ต้องประเมินความสามารถในการตีความ หรือ Interpretation และความสามารถในการประยุกต์ หรือ Applying โดยใช้ความรู้และทักษะที่เข้าใจอย่างถูกต้อง โดยใช้ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ด้วยวิจารณญาณมากกว่าการจดจำ
- ตั้งคำถามอิงกรณีศึกษา หรือใช้ Case Based Exam Questions เพื่อถามหาทักษะการใช้เหตุใช้ผลด้วยวิจารณญาณที่ถูกต้อง โดยเจาะจงฉากทัศน์ หรือ Scenario ที่แตกต่างหลากหลาย
- ตั้งคำถามให้ชัดเจน ไม่คลุมเครือ ไม่หลอกล่อเล่นสำนวนให้ผู้สอบสับสนเสียเวลา… เปิดโอกาสให้ผู้สอบได้ใช้เวลาเต็มที่กับการหาคำตอบสร้างสรรค์ มากกว่าจะเสียเวลากับการทำความเข้าใจคำถาม
- ตั้งคำถามให้ลึกกว่าที่หาคำตอบได้จากข้อความในตำรา หนังสือหรือเอกสารสืบค้นอ้างอิง
- คำถามที่สร้างขึ้นต้องยืนยันทักษะความรู้ที่บรรลุวัตถุประสงค์ถึงขั้น “การปลูกฝัง” ทักษะความรู้อย่างชัดเจน
ส่วนตัวอย่าง Open Book Exam ที่เอกสารเผยแพร่ของ The University of Newcastle, Australia แนะนำไว้ว่า…
- วางโครงสร้างคำถามโดยใช้ Problem Based Scenarios หรือยกกรณีที่เกิดขึ้นในโลกความจริงแบบ Real World Cases และหาคำตอบจากความรู้และทักษะของผู้สอบว่าจะจัดการให้เห็นฉากทัศนแบบนั้นแค่ไหนอย่างไร
- เปิดประเด็นให้ผู้สอบได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมโดยไม่กรอบประเด็นโดยคำถามเสียเอง
- วางโครงสร้างคำถามที่เกี่ยวข้องให้หลากหลายทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ ที่ข้อมูลหรือเรื่องราวเกี่ยวข้องต่อเนื่องกันอย่างมีนัยยะ
- วางโครงสร้างคำถามเกี่ยวกับการนำข้อมูลหรือความรู้ไปประยุกต์ ตั้งแต่วิธีการใช้… การวิเคราะห์สังเคราะห์… แนวทางการสร้างและใช้เชิงสร้างสรรค์… หรือแม้แต่การตีความและทัศนคติที่เกี่ยวเนื่อง
- ใช้คำถามแบบ Socratic Questions หรือ คำถามแบบโสกราตีส หรือการตั้งคำถามสำหรับค้นหาความคิดหลากหลายทิศทาง เพื่อหลากหลายวัตถุประสงค์ ให้อธิบาย สืบค้น และวิพากษ์หลากหลายแง่มุมจนเห็นความซับซ้อน… หรือใช้คำถามสะท้อนระดับความรู้แบบ Bloom’s Taxonomy หรือ คำถามเพื่อการจำแนกระดับผู้เรียนตามทฤษฎีบลูม ซึ่งมีตัวอย่างแนวคำถามทั้งสองกรอบแนวคิดดังเช่น
ตัวอย่างคำถามแบบ Socratic Questions ได้แก่
Type of Socratic Question | Example questions and starters |
Clarification questions | – What do you mean by…? – Could you put this another way? – What do you think is the main issue? – Could you provide an example? – Could you expand upon that point further? |
Assumption questions | – Why would someone make this assumption? – What is assuming here? – What could we assume instead? – You seem to be assuming – Do I understand you correctly? |
Reason and evidencequestions | – What would be an example? – Why do you think this is true? – What other information do we need? – Could you explain your reason to us? – By what reasoning did you come to that conclusion? – Is there reason to doubt that evidence? – What led you to that belief? |
Origin or source questions | – Is this your idea or did you hear it from some place else? – Have you always felt this way? – Has your opinion been influenced by something or someone? – Where did you get that idea? – What caused you to feel that way? |
Implications and consequence questions | – What effect would that have? – Could that really happen or probably happen? – What is an alternative? – What are you implying by that? – If that happened, what else would happen as a result? Why? |
Viewpoint questions | – How would other groups of people respond to this question? – Why? – How could you answer the objection that ______ would make? – What might someone who believed _____ think? – What is an alternative? – How are ____ and ____’s ideas alike? Different? |
ตัวอย่างคำถามแบบ Bloom’s Taxonomy Level ได้แก่
Type or level of question | Students are asked to … | Example questions and starters |
Knowing and remembering | recall knowledge ofsubject matter relevant to the discussion. | – What, where, who, when, where …? – How many …? – List … – Describe … – Define … |
Understanding | Demonstrate understanding by constructing meaningfrom information. | – In your own words, … – Explain how … – What did X mean when …? – Give an example of … |
Applying | apply knowledge and understanding to a particular task or problem. | – How would you use …? – What examples can you find to …? – How would you solve ___ using what you’ve learned? – What would happen if …? |
Analysing | examine different concepts and make distinctions between them. | – What are the parts or features of …? – What are the competing arguments within …? – Why is X different to Y? – Compare and contrast … – What is the relationship between A and B? |
Evaluating | make judgements about concepts or ideas. | – What is most important/effective? Which method is best? – Which is the strongest argument? |
Creating | develop new ideas from what they know and understand. | – How would you design a …? – What alternatives are there to …? – What changes would you make? – What would happen if …? – Suppose you could ___ what would you do? – How would you evaluate …? – Can you formulate a theory for …? |
คร่าวๆ ประมาณนี้ครับ แต่รายละเอียดกว่านี้ จะพยายามแทรกอธิบายตามวาระโอกาสที่ทำได้ครับ… สำหรับท่านที่ไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับ “การพัฒนาหลักสูตรและการสอน” โดยตรงมาก่อนคงจะงงๆ มากหน่อย เพราะเนื้อหาที่กล่าวถึงค่อนข้างเฉพาะเจาะจงและผิวเผินรวบรัดอย่างมาก…
เอาเป็นว่า! ข้อสอบแบบ Open Book Exam มีศาสตร์ในการออกข้อสอบลึกล้ำไม่ธรรมดาอยู่เบื้องหลัง… เห็นทีอีกสองตอนถัดไป คงต้องแตะ Socratic Questions และ Bloom’s Taxonomy สไตล์ Reder กันต่ออีกหน่อยแล้วหล่ะ
โปรดติดตามด้วยครับ!!!
บทความแนะนำเกี่ยวกับการสอบและประเมินความรู้ในบริบท eLearning
- Open Book Exam และ Take Home Exam
- Qualitative eLearning Assessment Methods… วิธีประเมินผลการเรียนเชิงคุณภาพ
- Assessment Method Designed สำหรับ Open Book Examination
- Effective eLearning Assessments Design… ออกข้อสอบออนไลน์อย่างไรให้เข้าท่า
- Summative Assessments in eLearning… กลยุทธ์การวัดความรู้โดยรวมในหลักสูตรออนไลน์
อ้างอิง