Assistive Technology for ADHD Children and Special Needs Education… AT ในการจัดการศึกษาให้เด็กพิเศษ #ReDucation

เด็กพิเศษในระบบการศึกษามีปะปนกับเด็กอื่นๆ มานาน แต่การให้ความสำคัญกับเด็กพิเศษในระบบการศึกษาดูเหมือนจะเริ่มต้นจริงจังในประเทศไทยได้ไม่นานมานี้ โดยเฉพาะเด็กพิเศษกลุ่ม ADHD หรือ Attention Deficit Hyperactivity Disorder หรือ เด็กสมาธิสั้น รั้น ซน และ ไม่นิ่ง… โดยเฉพาะในเด็กที่มีช่วงอายุระหว่าง 3–7 ปี ซึ่งระบบการศึกษายุคโบราณมักจะตีตราว่าเป็นเด็กไม่ฉลาด ไม่เรียบร้อย ขาดความรับผิดชอบ และ สร้างปัญหาให้คนส่วนใหญ่… แต่ระบบการศึกษาบนโครงสร้างอิฐกับปูน หรือ Brick and Mortar ก็ยังต้องจับเด็กกลุ่ม ADHD มารวมห้องกับเด็กเรียนเก่งและว่านอนสอนง่าย ซึ่งก็ได้กลายเป็นชั้นเรียนที่หลากหลายด้าน IQ/EQ และ พฤติกรรมพื้นฐาน กลายเป็นสังคมโกลาหลย่อยๆ ตั้งแต่เช้าวันจันทร์จนถึงบ่ายวันศุกร์… โดยมีเด็ก ADHD ถูกละเมิดเป็นการลงโทษและบีบบังคับจากครูบางกลุ่มอย่างไม่เป็นธรรมก็มี

เราโชคดีที่ระบบการศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีทางเลือกมากมาย ทั้งสำหรับฝั่งสถาบันการศึกษากับผู้สอน และ ฝั่งเด็กนักเรียนกับผู้ปกครอง ซึ่งความหลากหลายด้านพื้นฐานของเด็กๆ ส่วนใหญ่… มีแนวทางช่วยเหลือดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนา และ ส่งเสริมการเรียนรู้ได้ดีกว่ายุคเก่าก่อนมาก

กล่าวเฉพาะเด็กนักเรียนที่อยู่ในกลุ่ม ADHD… ซึ่งนอกจากจะมีปัญหาการเรียนรู้โดยส่วนตัวของเด็กเองแล้ว ส่วนใหญ่ก็ยังก่อปัญหาและเป็นภาระการเรียนให้เพื่อนร่วมชั้นและครูอาจารย์ ทั้งในเวลาเรียนและนอกเวลาเรียนด้วย นักเทคโนโลยีทางการศึกษาจึงสนใจที่จะนำเทคโนโลยียุคใหม่หลายอย่าง มาบูรณาการเพื่อช่วยเหลือเด็ก ADHD ให้สามารถเรียนรู้และมีพัฒนาการได้ดีขึ้น โดยเป็นภาระต่อเพื่อนร่วมชั้น และ ครูอาจารย์ หรือแม้แต่ผู้ปกครองให้น้อยลง

กรณีศึกษาจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีเด็ก ADHD มากถึง 14% ของเด็กเกือบ 7 ล้านคนทั่วสหรัฐอเมริกา… เริ่มได้รับการสนับสนุนเทคโนโลยีทางการศึกษาหลากหลายรูปแบบ ภายใต้แนวทาง Assistive Technology ภายใต้กฏหมาย The Individuals with Disabilities Education Act ของ U.S. Department of Education

Assistive Technology ในทางการศึกษาจะนิยามถึงอุปกรณ์และเครื่องมือทั้งที่อยู่ในกลุ่ม Hi-Technology และ Low-Technology ทั้งที่เป็น Hardware Machanics และ Hardware  Electronics รวมทั้ง Software Technology ซึ่งถูกออกแบบ “กรณีการใช้ หรือ Use Case” เพื่อให้เด็กพิเศษ เช่นกรณีที่มีปัญหา ADHD เฉพาะคน ถูกจัดให้มีสภาพแวดล้อมเฉพาะตนได้เหมาะสมกว่าเดิม… เช่น การใช้ Augmentative Communication Devices ที่เหมาะกับวัย และหรือ ปรับแต่งได้จนเหมาะกับสภาวะความบกพร่องและพัฒนาการ… การดัดแปลงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในกลุ่ม Human Interface Device เช่น เม้าส์ คีย์บอร์ด จอยสติ๊ก และ เกมคอลโทรลเลอร์ เพื่อให้เด็กที่บกพร่องทางกายภาพร่วมกับภาวะบกพร่องทางสติปัญญาและสมอง สามารถใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นศูนย์กลางของเทคโนโลยี และ ความคิดสร้างสรรของเด็กยุคใหม่ได้ดีกว่าเดิม

ปัญหาก็คือ… Assistive Technology ยังขาดงบประมาณ และ วิสัยทัศน์ที่เพียงพอซึ่งทำให้การจัดการ และ การแจกจ่ายอย่างเพียงพอกลายเป็นเรื่องยาก… โดยเฉพาะการจัดการงบประมาณในประเทศที่มีปัญหาคอร์รัปชั่นในระบบจัดการทางการศึกษา และ ภาวะขาดแคลนงบประมาณ ในขณะที่ Assistive Technology ในระบบการศึกษาต้องจัดการแบบ Individualized Education Plan… ซึ่งในทางเทคนิคถือว่ายังไม่มีอะไรชัดเจนถึงขั้นที่จะต้องช่วยกันสร้างขึ้นมาก่อน

ประเด็น Assistive Technology หรือ AT โดยเฉพาะการใช้ AT กับเด็กพิเศษที่มีความต้องการเฉพาะคนอย่างชัดเจน… จึงควรถูกวางเป็น Milestone หมุดหมายถัดไปในการออกแบบหลักสูตรการศึกษาเพื่อการเรียนแบบสนับสนุนศักยภาพบุคคล หรือ Personalized Learning… ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่า… หลีกเลี่ยงยาก และหลายฝ่ายเชื่อว่า การเริ่มที่ AT เพื่อเด็กพิเศษ หรือ เด็กที่มีความต้องการพิเศษจะเป็นแนวทางเริ่มต้นที่ดีงามเพื่อไปให้ถึง Full Scale Personalized Learning

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts