Associative Learning… หลักการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงความสัมพันธ์ #ReDucation

ทฤษฎีการศึกษาจากทุกยุคทุกสมัย และ ทุกสำนักวิชา หรือ School of Thought ต่างก็อธิบายปรัชญาการเรียนการสอน รวมทั้งกระบวนวิธี และ กลไกการเรียนรู้เชื่อมโยงกับสมองของผู้เรียนทั้งสิ้น ซึ่งสมองนี่เองที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อการออกแบบถ่ายทอดศิลปะและวิทยาการต่างๆ จากคนหนึ่งสู่คนหนึ่ง และ จากรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง… ซึ่งนักทฤษฎีการศึกษาได้แบ่ง “ทฤษฎีการเรียนรู้ หรือ Learning Theories” ตามพฤติกรรมการเรียนรู้และพัฒนาการของสมองในระหว่างการเรียนรู้ได้ 2 ประเภทหลักๆ คือ

  1. Cognitive Theories หรือ ทฤษฎีความเข้าใจ
  2. Associative Theories หรือ ทฤษฎีเชื่อมโยงความสัมพันธ์

ในส่วนของกิจกรรมการเรียนการสอนในแนวทาง Cognitive Theories หรือ ทฤษฎีความเข้าใจ จะเป็นการเรียนการสอนเพื่อถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนให้ผู้เรียนได้เข้าใจ ทั้งที่ต้องเข้าใจในหลักการและเหตุผล รวมทั้งที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝนเป็นประสบการณ์… แต่กิจกรรมการเรียนการสอนในแนวทาง Associative Theories หรือ ทฤษฎีเชื่อมโยงความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่อธิบายผ่านพฤติกรรมการตอบสนองของสมองตามเงื่อนไข หรือ Condition ผ่านสิ่งเร้าหนึ่งไปสู่การตอบสนองหนึ่ง

ปี 1904… Ivan Pavlov นักจิตวิทยาและนักสรีรวิทยารางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ ได้ทดลองเพื่อศึกษาการเรียนรู้ บนสมมุติฐานการเชื่อมโยงระหว่างการตอบสนองต่อสิ่งเร้าตามธรรมชาติของสมองที่ไม่มีเงื่อนไข หรือ Unconditioned Stimulus… และสิ่งเร้าที่เป็นกลาง หรือ Neutral Stimulus จนเกิดการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าที่เป็นกลางให้กลายเป็นสิ่งเร้าเงื่อนไข หรือ Conditioned Stimulus 

Ivan Pavlov พิสูจน์พบการเรียนรู้ผ่านการตอบสนองที่เกิดตามเงื่อนไข หรือ Conditioned Response หรือ CR… เกิดจากการสร้างสิ่งเร้าเงื่อนไข หรือ Conditioned Stimulus… รวมทั้งการวางสิ่งเร้าเงื่อนไขคู่กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติโดยไร้เงื่อนไข หรือ Unconditioned Stimulus 

 Ivan Pavlov ได้ทดลองให้อาหารสุนัข โดยสังเกตพฤติกรรมแบบรีเฟล็กซ์อย่างง่ายของน้ำลายสุนัขในขณะกินอาหาร…  Ivan Pavlov จึงให้อาหารสุนัขพร้อมกับสั่นกระดิ่งไปด้วยหลายๆ ครั้งจนสมองของสุนัขเชื่อมโยงเสียงกระดิ่งสัมพันธ์กับอาหารของมัน… ในเวลาต่อมา เสียงกระดิ่งของ Ivan Pavlov ในขณะที่สุนัขกลุ่มทดลองอยากอาหารจะกระตุ้นน้ำลายของสุนัขทุกครั้ง แม้จะไม่มีอาหารมาให้ก็ตาม

การทดลองในคนถูกปรับแต่ง และ ทำการทดสอบโดย John B. Watson นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นทารกวัย 11 เดือน ซึ่งผลการทดลองได้ข้อสรุปแบบเดียวกับการทดลองในสุนัขของ Ivan Pavlov และต่อมาถูกประยุกต์โดยนักกิจกรรมบำบัดชื่อ Joseph Wolpe เพื่อนำแนวทางการใช้สิ่งเร้าเงื่อนไข หรือ Conditioned Stimulus เพื่อให้เกิดการตอบสนองตามเงื่อนไข หรือ Conditioned Response เป็นพฤติกรรมหวังผล

ประเด็นก็คือ การตอบสนองตามเงื่อนไข หรือ Conditioned Response ถือเป็นศาสตร์ด้านพฤติกรรมที่อ้างอิงจิตวิทยาล้วนๆ ซึ่งได้รับความสนใจ และ ถูกประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางในยุคเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม หรือ Behavioral Economics… โดยเฉพาะการประยุกต์ใช้ในทางการเรียนการสอน และ การศึกษาผ่าน “การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน” ในทุกกิจกรรมการเรียนรู้ทั้ง OnSite และ OnLine ทั้งที่เป็น Synchronous Learning และ Asynchronous Learning ซึ่งส่วนใหญ่ยังใช้ชื่อหลักการนี้ตรงกันว่า Associative Learning

Associative Learning หรือ การเรียนรู้ตามหลักเชื่อมโยงความสัมพันธ์ แม้จะพัฒนามาจากหลักการทางจิตวิทยาที่อธิบายไว้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18… แต่การประยุกต์ใช้ในทางการศึกษาในยุค Lifelong Learning ซึ่งเทคโนโลยีทางการศึกษามีส่วนช่วยให้การกำหนดเงื่อนไขสิ่งเร้า หรือ Conditioned Stimulus เกิดขึ้นได้ในหลากหลายบริบทอย่างในปัจจุบัน… โดยส่วนตัวยังมองว่าเป็นอะไรที่ใหม่ และ มีแง่มุมให้นำใช้ตั้งแต่การออกแบบกิจกรรมหนึ่งๆ เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะหนึ่งๆ ซึ่งเป็นกุศโลบายทางการสอน หรือ Teaching Tactics ใหม่ๆ ที่เป็นอีกความหวังหนึ่งของการออกแบบหลักสูตรการศึกษายุคดิจิทัล

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *