เทคโนโลยีทางการศึกษาในห้วงเวลาที่วิวัฒนาการของซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ กับ เทคโนโลยีขั้นสูง หรือ Advanced Technology ได้ผูกพันกับชีวิตประจำวันของพวกเราอย่างเข้มข้น ซึ่งความก้าวหน้าเหล่านี้ได้บีบเค้นให้ “บริบท” ที่เกี่ยวข้องกิจกรรมทุกอย่างในชีวิตประจำวันของผู้คน ต้องวิวัฒนาตามความก้าวหน้าที่ยั้งไม่หยุดเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง และ ผลักดันการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งถึงรากฐานชีวิตทุกด้าน… โดยเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ และ การพัฒนาตัวเอง หรือที่เรียกว่าด้าน “การศึกษา” ให้วิวัฒน์จนตามทันเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปไม่หยุดหย่อน ซึ่งนักวิจัย และ นักเทคโนโลยีทางการศึกษาได้ริเริ่ม และ หาทางหลอมรวมเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ากับหลักการ และ ทฤษฎีทางการศึกษากันอย่างคึกคัก
งานวิจัยในหัวข้อ Design of a Digital Art Teaching Platform Based on Automatic Recording Technology โดย Dr.Wei Liu จาก University of Science and Technology Liaoning เป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาที่ได้เห็นความพยายามในการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาศิลปะ ภายใต้แนวคิดการผสมผสานเทคโนโลยีเข้ากับงานศิลปะ ผ่านมุมมองที่ชัดเจนว่าศิลปะในยุคถัดไปจะถูกสร้างสรรค์ และ เผยแพร่ในรูปแบบดิจิทัลเกือบทั้งหมด… ระบบการจัดการชั้นเรียน และ หลักสูตรการสอนศิลปะจึงถูกให้ความสำคัญกับศิลปะดิจิทัลที่มีพื้นฐานมาจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อย่างชัดเจน
ความจริง… ส่วนที่น่าสนใจที่สุดของงานวิจัยหัวข้อ Design of a Digital Art Teaching Platform Based on Automatic Recording Technology โดย Dr.Wei Liu ไม่ใช่ประเด็นทางการศึกษา และ ไม่ใช่แนวทางการเรียนการสอนศิลปะที่มีการหลอมรวมเทคโนโลยีเข้าไปในหลักสูตรโดยตรง… เพราะส่วนที่น่าสนใจที่สุดดูเหมือนจะเป็น “แพลตฟอร์ม” ที่ใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐาน หรือ Infrastructure เพื่อดำเนินการให้การเรียนการสอนถูกขับเคลื่อนไปได้อย่างราบรื่น… ไม่ติดขัดย้อนแย้งกับกิจกรรมภายใต้หลักสูตรที่พัฒนาอิงกรอบทฤษฎิการเรียนการสอนแบบเอาคอมพิวเตอร์มาสอนด้วยหลัดสูตรยุคกระดาษดินสอ… โดยนักวิจัยได้มีการนำใช้ทฤษฎิทางการศึกษาชื่อ Five-Star Teaching Theory ซึ่งเผยแพร่ใช้อย่างกว้างขวางโดยนักการศึกษาในสิงคโปร์เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา… รวมทั้งการนำใช้แนวทาง Micro-Teaching และ วิทยาการข้อมูล หรือ Data Science เข้ามาพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อรองรับกิจกรรมการเรียนการสอนที่ง่าย ชัดเจน และ ละเอียดลึกซึ้งโดยไม่เป็นภาระแก่ครูอาจารย์ผู้ฝึกอบรมทักษะความรู้ให้นักเรียน หรือแม้แต่เป็นภาระต่อผู้เรียน
รายละอียดในเนื้องานวิจัยที่อ้างถึงขอไม่วิพากษ์ และ รีวิวถึงสาระครับ เพราะที่ยกมาพูดถึงเพียงต้องการชี้ให้เห็นแนวทางที่กิจกรรมทางการศึกษาที่จะวิวัฒน์ต่อไปจากยุคสมุดดินสอในรุ่นเรา ที่เคยพัฒนามาจากยุคกระดานชนวน และ ใบลานของคนรุ่นปู่ย่า… ซึ่งนักการศึกษาบ้านเรากลุ่มที่เปิดรับเทคโนโลยีควรได้เห็น และ กล้าผลักดันฉากทัศน์ลำดับต่อไปที่จะเกิดในกิจการด้านการศึกษาอย่างชัดเจน… โดยควรจะชัดเจนมากพอถึงขั้นที่สามารถ Defense ความเชื่อ และ วิสัยทัศน์ที่มี กับ นักการศึกษาโลกเก่าที่เห็นหลายท่านยังอยากอยู่อีกนานเพื่อตรวจการบ้านคนรุ่นหลังด้วยความรู้ และ ความเชื่อที่เคยประสบความสำเร็จ และ ใช้ได้ดีมากๆ เมื่อนานมาแล้ว… ด้วยความเคารพครับ!
References…