Autonomy Supportive Teaching… การสอนด้วยแนวทางการสนับสนุนการเรียนรู้อย่างอิสระ #ReDucation

ท่านที่เรียน “วิชาครู” มาจากสถาบันพัฒนาวิชาชีพผู้สอนจากทุกสถาบัน ต่างก็คงได้เรียนรู้ และ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “บทบาทครู” ซึ่งเขียนเอาไว้ครอบคลุมคุณค่าเชิงบวกตั้งแต่ในรั้วโรงเรียนไปจนถึงผลประโยชน์ชาติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง การทหาร การต่างประเทศ รวมทั้งคุณธรรมจริยธรรม และ อะไรอีกมากที่บทบาทครูล้วนมีอยู่ทุกหนแห่งที่ผู้คนสามารถฝึกฝนเรียนรู้ได้จากคนเป็นครู

กล่าวเฉพาะบทบาทของครูในฐานะผู้สนับสนุน ส่งเสริม และ พัฒนาเยาวชน… ซึ่งเป็นบทบาทครูที่เด่นชัด และ เป็นบทบาทสำคัญในฐานะผู้ให้การศึกษาพื้นฐานที่มีคุณภาพแก่เยาวชนที่เป็นผู้เรียน ซึ่งให้ความรู้ทั้งวิชาสามัญ และ วิชาชีพตามหลักสูตรที่ครูมีหน้าที่รับผิดชอบ…

ประเด็นก็คือ บทบาทในหน้าที่รับผิดชอบในฐานะผู้สนับสนุน ส่งเสริม และ พัฒนาเยาวชนนี้… ครูในปัจจุบันค่อนข้างอิสระที่จะจัดการสอนโดยวิธีใดๆ ได้ยืดยุ่นกว่าครูยุคเก่า ซึ่งถูกควบคุมวิธีและแนวทางการสอนซึ่งจำเป็นต้องควบคุมผู้เรียนอีกต่อหนึ่ง… โดยจะเห็น “พฤติกรรมการสอน” ที่ครูมักจะพูด กระทำ และ นำเสนอเนื้อหา “ให้อยู่ในการควบคุมของครู” ให้ได้มากที่สุด… ซึ่งได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของความล้มเหลวด้านผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาค่อนข้างชัดเจน เมื่อผู้เรียนส่วนใหญ่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของครูที่มีสมรรถนะการเป็นครูต่ำ… ซึ่งต้องยอมรับว่ามี “คนทำอาชีพสอน” โดยบกพร่องความเป็นครูที่ดีมากเหลือเกินในปัจจุบัน

ประกอบกับ… ความเปลี่ยนแปลงทั่วไปในโลกยุค VUCA ที่เกิดผันผวนไม่แน่นอนบนความซับซ้อนคลุมครือได้เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเราทุกคนในทุกๆ วัน โดยไม่ละเว้นเด็กผู้ใหญ่ หรือ ครูหรือนักเรียน… บทบาทครูที่เคย “ควบคุมการเรียนรู้” ของผู้เรียนในความรับผิดชอบแบบเดิมจึงทำได้ยาก และ ป่วยการที่จะหาทางควบคุมการสอน หรือ Controlling Teaching แบบคุณครูยุคเก่า

การพูดถึง Open Teaching หรือ การสอนแบบเปิดกว้าง เพื่อให้ทันการเปลี่ยนแปลงที่ผู้เรียนเองก็ต้องปรับเปลี่ยนให้ทัน ซึ่งผู้สอนจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนล่วงหน้าเพื่อรักษาผลประโยชน์ให้ผู้เรียนเท่าทันการเปลี่ยนแปลง… อันเป็นบทบาทหลักที่ผู้เรียน “คาดหวังจากครู” ในหน้าที่ผู้พัฒนาความรู้และทักษะที่ใช้ได้จริงสำหรับพวกเขา

เมื่อบทบาทครูถูกบริบทการสอนแบบเปิดกว้าง ผลักดันออกจาก Confort Zone ที่ครูเคยควบคุมการเรียนการสอน และ ควบคุมชั้นเรียนของครูได้ค่อนข้างเบ็ดเสร็จ… บทบาทครูในฐานะผู้ควบคุม จึงต้องเปลี่ยนมาเป็นผู้ให้การสนับสนุนผู้เรียนแทน ซึ่งการสนับสนุนที่ว่ายังจำเป็นต้องให้อิสระสูงสุดแก่ผู้เรียนในแบบที่เรียกว่า Autonomy Supportive Teaching หรือ การสนับสนุนอย่างอิสระแก่ผู้เรียนอีกด้วย

ในหนังสือ Building Autonomous Learners: Perspectives from Research and Practice Using Self-Determination Theory ซึ่งเนื้อหาในเล่มบางตอนได้พูดถึง Autonomy-Supportive Teaching และ ได้ให้นิยาม กับ แนวทางเกี่ยวกับ Autonomy Supportive Teaching ว่า… เป็นการสอนโดยสนันสนุนให้ผู้เรียนพึ่งพาตนเองภายใต้การประเมินผลสัมฤทธิ์การพัฒนาความรู้และทักษะเชิงบวกที่ชัดเจน… โดยแนวทางการจัดการสอนต้องครอบคลุมการให้อิสระ และ การสนับสนุนอย่างน้อย 6 ประการเพื่อโน้มนำจูงใจผู้เรียน คือ

  • ควรใช้มุมมองของผู้เรียน 
  • ควรให้ความสำคัญกับทรัพยากรที่สร้างแรงบันดาลใจภายในของผู้เรียน 
  • จำเป็นต้องให้คำอธิบายที่มีเหตุผล 
  • เปิดกว้างเพื่อรับทราบ และ ยอมรับผลกระทบเชิงลบ 
  • ต้องพึ่งพาอ้างอิงข้อมูลจริง
  • ต้องใช้ท่าทีการสื่อสาร และ ภาษาที่ไม่กดดัน 

คร่าวๆ ประมาณนี้ก่อนน๊ะครับ… เพราะการใส่รายละเอียดมากกว่านี้ต้องเกริ่นมาจาก Self-Determination Theory ซึ่งเป็นทฤษฎีการศึกษาที่มาแรงเหลือเกินในยุคที่ทุกคนจะต้อง Learn – Unlearn – Relearn ซึ่งไม่มีใครสามารถเป็นครูได้ตลอดเวลาอีกแล้ว… เพราะต้องเรียนบ้าง สอนบ้างปนๆ กันไป และ ผู้เรียนเองก็ไม่สามารถใช้ช่วงวัยตั้งแต่เกิดจนอายุเกินยี่สิบปีเพื่อก้มหน้าก้มตาเรียนตามหลักสูตร ที่ใครก็ไม่รู้ออกแบบไว้ ทั้งๆ ที่จบปริญญาก็ยังหาอาชีพ และ งานที่เลี้ยงตัวได้จริงยากเย็นจนหลายคนต้องกลับไปเริ่มต้นชีวิตที่ตลาดนัด หรือ เป็นฟรีแลนซ์

!!!

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts