นักจิตวิทยาได้อธิบายพฤติกรรมของสมองในระหว่างที่เจ้าตัวกำลังเผชิญปัญหาบางอย่าง ซึ่งความคิดและพฤติกรรมปกติมักจะใช้ในการเผชิญปัญหาตรงหน้าไม่ได้ นั่นแปลว่าคนส่วนใหญ่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และ เปลี่ยนวิธีตัดสินใจในระหว่างที่เจอปัญหาเสมอ และ ที่สำคัญกว่านั้น คนส่วนใหญ่ยังเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระหว่างเจอปัญหาด้วยสัญชาตญาณมากกว่าจะหยุดคิดไตร่ตรองอีกต่างหาก ซึ่งขาดความรอบคอบ ไม่สมเหตุผล และ ประเมินผลลัพธ์ล่วงหน้าได้ไม่ง่ายจนเกิด “ผิดซ้ำผิดซาก” ถึงแม้จะเป็นปัญหาเดิมๆ ที่วนมาเล่นงานคนๆ เดิมในสถานการณ์เหมือนๆ เดิมก็ตาม
ปัญหาก็คือ… ไม่มีใครอยากทำอะไรพลาดซ้ำกันหรอก! โดยเฉพาะความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากความไร้สติ และ พฤติกรรมลนลานแก้ปัญหาแบบไม่ได้หยุดคิด หรือ ไม่ได้ฉุกคิดให้รอบคอบ… ซึ่งแก้ไขได้ด้วยการหยุดคิดให้รอบคอบก็แก้ไขได้แล้ว… เพียงแต่การหยุดคิดในระหว่างเจอปัญหาที่ทำให้เรากลัว และ เร่งรีบจนสมองเรียกใช้สัญชาตญาณแทนที่จะใช้สติปัญญาเหมือนปกติ… การจะหยุดคิดให้รอบคอบจึงไม่ง่ายแค่นับหนึ่งถึงสิบแล้วจะทำให้พฤติกรรมการตอบสนองต่อปัญหาของเราออกมาดีกว่าเดิม
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ… หลายคนเชื่อการทำอะไรผิดซ้ำผิดซากของตัวเอง หรือ ของคนใกล้ตัวเองเป็นเรื่องนิสัย หรือ Habit หรือไม่ก็เป็นเรื่องการควบคุมอารมณ์ หรือ Emotional Control ซึ่งก็มีส่วนถูกที่ปฏิเสธไม่ได้ แต่ก็ไม่ครอบคลุมทั้งหมดตราบเท่าที่ยังไม่ได้พูดถึงกลไกการขับเคลื่อนพฤติกรรมจริงๆ อย่างสัญชาตญาณ หรือ Instinct… ซึ่งนิสัย และ อารมณ์ความรู้สึกเป็นตัวกระตุ้นสัญชาตญาณให้แสดงพฤติกรรมออกมาในแบบที่เวลาปกติจะไม่ทำแบบนั้น
ประเด็นก็คือ… เราควบคุมสัญชาตญาณ หรือ Instinct โดยตรงไม่ได้ เว้นแต่จะพัฒนานิสัย และ ฝึกควบคุมอารมณ์ไม่ให้ถูกใช้กระตุ้นสัญชาตญาณได้ง่าย เช่น การฝึกนิสัยให้เมตตาเป็นกับทุกอย่างเพื่อควบคุมความก้าวร้าวในสัญชาตญาณ หรือ ฝึกมองโลกในแง่ดีเพื่อกำจัดอารมณ์อ่อนไหว หวั่นกลัว และ หวาดระแวงเพื่อควบคุมความโกรธ และ ความเคียดแค้นชิงชังแบบไม่มีเหตุผล… ซึ่งทำให้หลายๆ คนทำเรื่องผิดพลาดซ้ำซากอย่างคาดไม่ถึงได้ง่าย ที่แม้แต่เจ้าตัวก็ยังรับไม่ได้ในบางความผิดพลาดก็มีมาก
References…