กล่องอาหารจากชานอ้อย #FridayForFuture 

ปี 2548 ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของ บรรจุภัณฑ์อาหารชานอ้อยแบรนด์ Gracz  ซึ่งเป็นแบรนด์บรรจุภัณฑ์ชานอ้อยรายแรกของไทย นพ.วีรฉัตร กิตติรัตน์ไพบูลย์ ผู้ก่อตั้ง ได้มองเห็นปัญหาของบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วทิ้งที่ใช้อยู่ในประเทศไทย โดยเฉพาะกล่องโฟม ที่มีข้อเสียคือ มีสารเคมีปนเปื้อน ที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้ และที่สำคัญทำลายสิ่งแวดล้อม

ตอนนั้นคุณหมอวิรฉัตรมองว่า… ตลาดบรรจุภัณฑ์อาหารใช้แล้วทิ้ง ที่มีความปลอดภัย เป็นเซ็กเมนต์ใหม่ที่มีดีมานด์ในตลาด แต่ยังไม่มีผู้ผลิตรายไหนสามารถตอบโจทย์ได้ตรงจุด ในด้านของสามารถใส่อาหารประเภทน้ำ และน้ำมัน ทั้งอาหารร้อนอาหารเย็นโดยไม่รั่วซึม และเข้าไมโครเวฟได้

จากการมองเห็นดีมานด์ และ Pain Point ของผู้บริโภคอาหารนอกบ้าน เขาได้ลองมองหาวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของผู้ใช้มาทดลอง ทำบรรจุภัณฑ์อาหารใช้แล้วทิ้ง

และพบว่าประเทศไทย มีของเหลือใช้จากภาคการเกษตร เช่นชานอ้อย และมีวัชพืชที่ไม่เกิดประโยชน์เป็นจำนวนมาก อย่างผักตบชวา ไมยราพยักษ์ที่มีเส้นใยสูงเหมาะสำหรับพัฒนามาเป็นบรรจุภัณฑ์อาหาร

จากการวิจัยและพัฒนากว่า 5 ปี ก่อนที่จะเลือกชานอ้อย ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้ในอุตสาหกรรมน้ำตาล จากการที่ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการส่งออกน้ำตาลสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก

นอกจากนั้นชานอ้อย ยังเป็นวัตถุดิบ ที่มีต้นทุนโลจิสติกต่ำกว่าวัสดุอื่นๆ อย่างไมยราพยักษ์ ผักตบชวา เพราะโรงงานน้ำตาลจะเป็นผู้ขนอ้อยมารีดเป็นน้ำอ้อยออกเหลือเพียงซากอ้อย สามารถลดต้นทุนการขนส่งต้นอ้อยจากไร่ และต้นทุนในการรีดน้ำออกเพื่อเอาแต่เส้นใยมาเข้ากระบวนการปั่นเส้นใยมาขึ้นรูปทำบรรจุภัณฑ์อาหาร

โดยได้เลือกตั้งโรงงานในพื้นที่จังหวัดชัยนาท ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีโรงงานน้ำตาลเป็นจำนวนมาก เพื่อลดต้นทุนในการขนส่งอีกต่อหนึ่ง

เมื่อกระบวนการผลิตลงตัว จึงได้เปิดตลาดด้วยการส่งออกต่างประเทศเป็นหลักในช่วงแรก เนื่องจากบรรจุภัณฑ์ชานอ้อยเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ยังไม่มีต้นแบบในการเรียนรู้ศึกษา ทำให้ต้นทุนในพัฒนาและการผลิตสูง ต้นทุกต่อชิ้นของบรรจุภัณฑ์สูงขึ้นตามมา และเป็นราคาที่ไม่เหมาะสมกับตลาดไทย

จนในวันที่ราคาบรรจุภัณฑ์ชานอ้อย เริ่มลงตัวจึงได้เปิดตลาดในประเทศไทย

ซึ่งกลยุทธ์ที่คุณหมอวีรฉัตร และบรรจุภัณฑ์แบรนด์ Gracz ใช้บุกตลาด กล่องอาหารชานอ้อย คือ

  1. ตั้งชื่อเรียกบรรจุภัณฑ์ชานอ้อยว่า ภาชีวะ ซึ่งมีความหมายว่าภาชนะเพื่อชีวิต เพื่อสร้างความแตกต่างจากบรรจุภัณฑ์ใส่อาหารใช้แล้วทิ้งอื่นๆ และสร้างการจำจด เพราะเป็นคำที่แปลกแต่สื่อความหมาย
  2. ให้ความรู้ด้านสุขภาพ ตอบโจทย์แพง แต่ จ่าย ด้วยพลังมวลชน… ปัญหาของกล่องอาหารชานอ้อยคือมีราคาที่สูงกว่ากล่องโฟมเฉลี่ยประมาณ 1-3 บาท ซึ่งในมุมของแม่ค้า ถือว่าเป็นต้นทุนที่สูงขึ้นแบบไร้ประโยชน์… แต่คุณหมอวีรฉัตร เชื่อว่าแม่ค้ายอมเปลี่ยนถ้าลูกค้ามีความเข้าใจถึงกล่องอาหารชานอ้อยดีพอ และบอกให้เปลี่ยน การที่จะไปถึงจุดนั้น ด่านแรกคือการแนะนำให้คนได้รู้จักในวงกว้างเสียก่อน

    เขาได้ใช้วิธีการเลือกกลุ่มคนที่มีอิทธิพลความคิดในสังคม โดยเริ่มจากการเข้าไปทาบทามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอให้ทางมหาวิทยาลัยเปลี่ยนจากการใช้กล่องโฟมในรั้วมหาวิทยาลัย เป็นกล่องชานอ้อยบรรจุอาหาร ในโครงการ CU No Foam ระยะเวลาทดลองตลาด 3 เดือน

    ผลปรากฏว่า นิสิต จุฬาให้การตอบรับดี จนโครงการนี้ขยายผลไปยังมหาวิทยาลัยอื่นๆ อย่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  โรงพยาบาล และงานอีเวนต์ภาครัฐ

จนปัจจุบัน Gracz สามารถสร้างรายได้มากถึง 400 ล้านบาท แบ่งเป็นในประเทศและต่างประเทศ 50:50

ผมลอกเนื้อหาบทความมาจาก… Marketeeronline.co เพื่อช่วยเผยแพร่ธุรกิจที่ “เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกว่า” อย่างโฟมและพลาสติกในวันที่… การสั่งอาหารออนไลน์กลายเป็นไลฟ์สไตล์คนรุ่นเรา ที่นับวันมีแต่จะต้องการบรรจุภัณฑ์มากขึ้นกว่าเดิม ในวันที่คนปรุงอาหารเองน้อยลง และทานข้าวนอกบ้านยากขึ้น

#FridayForFuture ครับ

อ้างอิง

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts