ข้อเท็จจริงที่ว่า… พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากความปรารถนา หรือ ความต้องการ หรือ Needs ที่สัมพันธ์กับความคิดและอารมณ์ความรู้สึก ทั้งที่เกิดภายในกับตัวเองและเกิดบนสายสัมพันธ์กับผู้อื่น และด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า… มนุษย์เป็นสัตว์สังคมผู้ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม เพื่อแบ่งปันทั้งค่านิยมและความเชื่อร่วมกับกับคนอื่นๆ ซึ่งจะทำให้คนๆ นั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และ เข้าถึงทรัพยากรของกลุ่มโดยมี “การยอมรับ” จากคนอื่นๆ ในกลุ่มหรือสังคมเป็นเงื่อนไขสำคัญ
ประเด็นก็คือ… การได้รับการยอมรับจากคนอื่น หรือ อีกนัยหนึ่งก็คือการได้รับความไว้วางใจ และ ความเชื่อถือจากบุคคลอื่นไม่สามารถเกิดขึ้นลอยๆ โดยขาด “ความรัก” ในรูปแบบต่างๆ จากคนอื่นๆ ที่คนๆ หนึ่งจำเป็นต้องมีและได้ไว้ เพื่อเอาชนะความกลัว… ความเหงา… ความวิตกกังวล… ความเศร้า และอะไรอื่นอีกมากที่คนๆ หนึ่งสามารถเติมเต็มความต้องการเหล่านี้ผ่านมิตรภาพ… กิจกรรมทางสังคม… ความสัมพันธ์ในครอบครัว… ชุมชน รวมทั้งกลุ่มต่างๆ ที่คนๆ หนึ่งอยู่เป็นสมาชิก
ในทฤษฎีวรรณะความต้องการของมาสโลว์ หรือ Maslow’s Hierarchy of Needs ของ Abraham Maslow ได้กำหนดบริบทของความปราถนาต่อรักและการยอมรับจากสังคม หรือ Love and Belonging Needs เอาไว้เป็นขั้นที่ 3 ของพีระมิดแห่งความปราถนา ซึ่งเป็นลำดับขั้นที่มนุษย์คนหนึ่งจะต่อยอดไปสู่ขั้นที่ 4 หรือ ขั้นเกิด Esteem หรือ ความเชื่อมั่นในตน และ เชื่อมั่นในความรักและได้รับการยอมรับนับถือจากคนอื่นๆ ในสายสัมพันธ์ อันเป็นขั้น “ความสำเร็จ” สำหรับคนส่วนใหญ่… โดยความต้องการในขั้น Love and Belonging Needs จำเป็นต้องได้รับการเติมเต็มก่อนอื่นจึงจะสามารถต่อยอดไปได้
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ… Love and Belonging Needs ต้องการปัจจัยภายนอกที่เป็นวิจารณญาณของผู้อื่น ทั้งในสายสัมพันธ์แบบต่างๆ และทั้งจากกลุ่มหรือสังคมที่คนๆ หนึ่ง “ต้องการเห็นตัวเองถูกรัก และ ถูกยอมรับบนความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจได้” ซึ่งโดยทั่วไปก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน… แต่ความต้องการขั้น Love and Belonging มีความซับซ้อนภายในบริบทแวดล้อม… โดยเฉพาะส่วนที่เป็น “ความรู้สึก หรือ Emotional” ทั้งจากตัวเองที่มีต่อผู้อื่น และ ที่รับรู้ถึงความรู้สึกของผู้อื่นที่มีต่อตัวเอง
Love and Belonging Needs จึงสะท้อนผ่านการมีคนรัก การมีคู่ครอง การสร้างครอบครัว การคบเพื่อน และ การสั่งสมการยอมรับจากสังคมผ่านพฤติกรรมความดีต่างๆ ที่กลุ่มหรือสังคม “ให้คุณค่า หรือ Values” ผ่านการแสดงออกถึงการยอมรับและชื่นชม
แต่ความพยายามที่จะสนองความต้องการให้ได้ Love and Belonging ในหลายกรณีอาจไม่เป็นดั่งที่หวัง เพราะ… ความรู้สึก หรือ Emotional ที่ตัวเองมีต่อผู้อื่น และ ที่ผู้อื่นมีต่อตัวเองไม่สามารถคาดหวังอะไรได้มากนัก… โดยเฉพาะพฤติกรรมความสัมพันธ์ที่ความต้องการ หรือ Needs ที่ขัดแย้งกันของคู่ความสัมพันธ์จน “ความรู้สึก” ที่มีต่อกัน… ตอบสนอง Love and Belonging ไม่ได้อย่างที่ต้องการ… ซึ่งการสร้างและหรือเยียวยาต้องกลับไปที่การดูแล “กลไกมิตรภาพ” ให้เข้าที่เข้าทางก่อน
ในคำภีร์ Nicomachean Ethics ของ Aristotle ได้กล่าวถึง “มิตรภาพ หรือ Friendship” อันเป็นต้นธารในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีเพื่อให้เกิด Love and Belonging Needs ถูกพัฒนาจนเข้มแข็งพอที่จะกลายเป็นรากฐานชั้นที่ 3 ของพีระมิดเพื่อต่อยอดให้สูงไปถึงชั้นที่ 4 และ 5 ตามลำดับว่า…
มิตรภาพ หรือ Friendship คือ ความรู้สึกชอบพอหรือถูกใจกัน… โดยมิตรภาพที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วย การเห็นคุณค่าซึ่งกันและกัน… ชื่นชมในความดีต่อกันและกัน…
มิตรภาพ หรือ Friendship จึงเป็นจุดเริ่มต้นของพลังด้านบวกในชีวิต ที่จะนำมาซึ่ง Love and Belonging Needs จากสาระหลักของมิตรภาพที่เกิดด้วย “เชื่อถือไว้วางใจซึ่งกันและกันอย่างเท่าเทียม” จนเห็นเป็นการแสดงออกถึงสภาวะทางศีลธรรมที่บุคคลมีต่อกัน ทั้ง… ความรัก การชื่นชมในความดี และ ความปรารถนาดี ที่ต่างฝ่ายต่างมีให้กันบนความสัมพันธ์ที่ตั้งอยู่ด้วยความเสมอภาค…
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ… Love and Belonging Needs ในคนที่ขาดพร่องส่วนใหญ่มักมาจาก… ความรู้สึกเชื่อถือไว้วางใจต่อกัน “มีไม่เท่าเทียม” จนเป็นที่พอใจ… ซึ่งก็อาจเป็นเพียงความรู้สึก หรือ เป็นความรู้สึกพร้อมข้อเท็จจริงตามที่รู้สึกก็ได้…
อย่างไรก็ตาม… บริบทของความปราถนาต่อรักและการยอมรับ หรือ Love and Belonging Needs ที่มักจะเริ่มต้นและขาดหายก็เพราะเชื่อถือไว้วางใจซึ่งกันและกันได้เลือนไป… แต่สาระหลักจริงๆ กลับไม่ได้อยู่ที่ “ความเชื่อถือไว้วางใจ” แม้แต่น้อย เพราะความเชื่อถือไว้วางใจเป็นเพียงบทสรุปของ มิตรภาพ หรือ Friendship ของคู่ความสัมพันธ์เพียงหนึ่งเหตุการณ์เท่านั้น… ซึ่งโอกาสที่มิตรภาพจะให้ผลลัพธ์หรือบทสรุปไม่ได้อย่างที่ต้องการก็คงเกิดขึ้นได้บ้าง… เว้นแต่ในบางคนที่เห็นมิตรภาพเสื่อสูญเสียหายกับทุกๆ สายสัมพันธ์ จนไม่สามารถสร้าง Love and Belonging Needs ได้สำเร็จเลยสักครั้ง
เห็นทีอาจจะต้อง “พิจารณาตนเอง” ว่ามีอะไรบางอย่างในตัวเราที่อาจจะต้องชำระจัดการให้ได้เสียก่อน… โดยเฉพาะอัตตาตน!
References…