Bio Economy

Bio Economy… เศรษฐกิจชีวภาพ #FridaysForFuture

ปัจจุบันประเทศไทยส่งเสริมกระบวนการแปรสภาพชีวมวล หรือ แปรรูปวัตถุดิบที่ได้จากพืช ทั้งเพื่อเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ หรือ Biofuels และไบโอเคมีคอล หรือ Biochemicals และพลาสติกชีวภาพ หรือ Bioplastics…  ซึ่งได้จากกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพที่สำคัญ เช่น การหมัก การเร่งปฏิกิริยาด้วยเอนไซม์ และกระบวนการทางวิศวกรรมเคมีแนวทางอื่นๆ กำลังมีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม… หลายแนวทางถูกพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีมูลค่าการลงทุนและคืนอัตราผลตอบแทนที่สูงยิ่ง

กรณีของ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ถือเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่า… อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ กำลังเป็นแนวทางใหม่ที่สำคัญ

ประเทศไทยถือว่ามีศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพอย่างมาก เนื่องจากมีวัตถุดิบทางการเกษตรที่หลากหลาย การพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ จึงได้รับความสนใจอย่างมาก และหลายฝ่ายเชื่อว่า  อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพสามารถสร้างความยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นทางเลือกที่มีศักยภาพอย่างยิ่งต่อยุทธศาสตร์ลดการพึ่งพาการผลิตจากปิโตรเลียม

ห่วงโซ่เศรษฐกิจชีวภาพที่กำลังเติบโตต่อเนื่องตลอดหลายปี… ที่เห็นชัดเจที่สุดคงจะเป็นกรณีปาล์มน้ำมัน และการผลิตก๊าซโซฮอล์เพื่อผสมใช้เป็นเชื้อเพลิงยานพาหนะ ที่ทุกรัฐบาล “ล้วนต้อง” สนับสนุนส่งเสริมต่อเนื่อง จากคุณประโยชน์มากมายหลายชั้น บนโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมไทย ที่ยังต้องพึ่งพาภาคเกษตรกรรมไปอีกนาน หรืออาจจะตลอดไปเลยก็ได้

งานวิจัยหัวข้อ Sustainability assessment of oil palm value chain and refinery systems for food, fuel and other value products in Thailand โดย ศ.ดร.แชบเบียร์ กีวาลา และคณะ พูดถึงอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพว่า… เป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายสำหรับการพัฒนาในอนาคต เพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจชีวภาพ หรือ Bio Economy ที่ยั่งยืนกว่าในทุกมิติ โดยเฉพาะกับประเทศไทย

งานของอาจารย์แชบเบียร์ กีวาลาและคณะ ยังพูดถึงไบโอรีไฟน์เนอรี่ หรือ Biorefinery หรือ โรงกลั่นชีวภาพ ซึ่งเป็นโรงกลั่นหรือโรงงานอุตสาหกรรมที่มุ่งแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ด้วยเทคนิคและเทคโนโลยีขั้นสูงหลายระดับ… ซึ่งแต่เดิมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร มักจะแปรรูปเพียงเพื่อใช้เป็นอาหารคน สัตว์หรือพืช… แต่ Biorefinery เป็นระบบการแปรรูปหลายหน่วยประกอบกันเพื่อแปลงชีวมวล ซึ่งภายในจะมีองค์ประกอบทางเคมีที่หลากหลายและซับซ้อน เช่น เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส ลิกนิน รวมถึงแร่ธาตุต่างๆ โดยจะแปรรูปไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มยิ่งกว่า เช่น เชื้อเพลิง พลังงานไฟฟ้า และสารเคมี เป็นต้น

โดยส่วนตัวแล้วผมดีใจและมีความสุขมากเมื่อได้ยินใครพูดถึง Biorefinery… และดีใจที่ยุทธศาสตร์ของไทยโอบอุ้มเทคโนโลยีและห่วงโซ่นี้กันเต็มรูปแบบ… กรณี EECi หรือ The Eastern Economic Corridor of Innovation ในพื้นที่ EEC ส่วนจังหวัดระยอง… ซึ่งพื้นที่เกือบทั้งหมด รองรับ Biorefinery Project ที่เดินหน้าไปแล้วกว่า 50% ของโครงการที่ยื่นขอส่งเสริมการลงทุนไว้

เวบไซต์ข่าว Nationthailand.com ได้รายงานข้อมูลแถลงจาก ดร.เจนกฤษณ์ คณาธารณา ในฐานะ EECi Director ที่พูดถึง Biorefinery Project ในพื้นที่ EECi ที่ท่านรับผิดชอบอยู่ ยืนยันว่า โครงการกว่า 45% พร้อมเดินเครื่องในช่วงเดือนมีนาคม–พฤษภาคมปี 2021 นี้แน่นอน

ในด้านสิ่งแวดล้อม… มีความคาดหวังกันว่า… เชื้อเพลิงชีวภาพและบรรจุภัณฑ์ชีวภาพจะเข้ามาทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลและปิโตรเคมีในอนาคตอันใกล้นี้… แต่ในทัศนของผมยังมองว่า เร็วเกินไปที่จะบอกว่า Biorefinery Technology จะเป็นทางออกที่ไร้ผลกระทบ… โดยเฉพาะประเด็นสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่น่าจะแก้ง่ายแค่เปลี่ยนมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีชีวภาพเท่านั้น… 

แต่ไม่ว่าจะอย่างไร… ยังคงสนับสนุนเศรษฐกิจชีวภาพ หรือ Bio Economy อยู่ครับ!

#FridaysForFuture ครับ

อ้างอิง

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts