Airplane and biofuel tank

ภาพรวมอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ และ เคมีชีวภาพ #GreenEconomy

อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ เป็นหนึ่งในสิบอุตสาหกรรมตามยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย และ เป็นอุตสาหกรรมหลักในการก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจฐานชีวภาพ หรือ Biobased Economy ครอบคลุมบริบทที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันระหว่างเชื้อเพลิงชีวภาพ หรือ Biofuel และ เคมีชีวภาพ หรือ Biochemical โดยเริ่มจากเชื้อเพลิงที่ได้จากชีวมวล หรือ Biomass แล้วมีกระบวนการผลิตที่ เชื่อมโยงทำให้เกิดผลลัพธ์เป็นเคมีชีวภาพ และ เชื้อเพลิงชีวภาพ โดยมีมาตรฐานการแบ่งกลุ่มอ้างอิง The International Standard Industrial Classification หรือ ISIC Rev.4 ในหมวด C190000 การผลิตถ่านโค้กและ ผลิตภัณฑ์จากการกลั่นปิโตรเลียม และ C200000 การผลิตเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี

รายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยี และ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ โครงการพัฒนาผู้ประกอบการด้านทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม โดยสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ระบุข้อมูลสำคัญไว้ในรายงานว่า… อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ มีบทบาทสำคัญระดับโลก 

แม้การผลิตจะมีต้นทุนสูง แต่หลายประเทศตระหนักถึงประโยชน์ที่มีต่อสภาพแวดล้อม และ มีนโยบาย กระตุ้นการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อเป้าหมายการลดคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 ทำให้ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

ข้อมูลปี พ.ศ. 2559 พบปริมาณการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพของโลกอยู่ที่ 82.306 ล้านตัน เมื่อเปรียบเทียบเป็นตันน้ำมันดิบ หรือ Kilotonnes of Oil Equivalent หรือ KTOE โดยมีการผลิตเอทานอลเพิ่มขึ้น 0.7% จากปี พ.ศ. 2558… ในขณะที่การผลิตไบโอดีเซลมีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้น 6.5% จากปี พ.ศ. 2558… 

ประเทศอินโดนีเซียมีการผลิตชื้อเพลิงชีวภาพเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 จนกลายเป็น 1 ใน 5 ประเทศที่มีการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพในปริมาณสูงสุดระดับโลก ซึ่งได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา… บราซิล… เยอรมันนี… อาร์เจนตินา และ อินโดนีเซีย ตามลำดับ 

ส่วนปริมาณการใช้ หรือ ความต้องการระดับโลกพบว่า… ในปี พ.ศ. 2559 พบปริมาณการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพขยายตัวเป็น 419.6 ล้านตัน เติบโตเพิ่มขึ้น 14.1% จากปี พ.ศ. 2558 และการคาดการณ์ความต้องการในขณะนั้น พบความต้องการใช้งานเชื้อเพลิงชีวภาพในปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดผู้ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพมากที่สุดยังคงเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา… เยอรมันนี… บราซิล… สหราชอาณาจักร… สเปน และ อิตาลี 

ส่วนแนวโน้มของอุตสาหกรรมในระดับชาติ ประเทศไทยมีชื่อเสียงและสถานภาพโดดเด่นในฐานะผู้นำการผลิตและการใช้ประโยชน์จากเชื้อเพลิงชีวภาพในระดับภูมิภาค และ ยังเป็นประเทศแรกในกลุ่มอาเซียน ที่มีนโยบายสนับสนุนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อลดการพึ่งพาน้ำมันจากต่างประเทศและสร้างมูลค่าเพิ่มแก่วัตถุดิบทางการเกษตร 

จากรายงานปี พ.ศ. 2559… ไทยมีปริมาณการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ 1,610 KTOE เพิ่มขึ้น 0.2% จากปี พ.ศ. 2558 ในขณะที่ปริมาณการใช้หรือความต้องการเชื้อเพลิงชีวภาพในประเทศขณะนั้น มีจำนวนถึง 2.8 KTOE คิดเป็นอัตราเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4% จากปี พ.ศ. 2558 

ประเด็นแก๊สโซฮอล์ในประเทศไทย… ซึ่งเกิดขึ้นจากพระราชดำริในล้นเกล้ารัชกาลก่อน… พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 ที่ทรงเล็งเห็นถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำมัน โดยได้ทรงศึกษาการนำอ้อยมาแปรรูปเป็นแอลกอฮอล์ และ นำแอลกอฮอล์มาผลิตเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ด้วยพระองค์เองภายในเขตพระราชฐาน และ ยังทรงดำริให้พาหนะในกิจการส่วนพระองค์ ทดลองใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ จนนำไปสู่แผนเกษตรกรรมพืชพลังงาน และ อุตสาหกรรมพลังงานชีวภาพ จนประเทศไทยกลายเป็นผู้นำการผลิต และ การใช้ประโยชน์จากเชื้อเพลิงชีวภาพในระดับภูมิภาคจนถึงปัจจุบัน

น้ำมันแก๊สโซฮอล์ในประเทศไทย มีจำหน่ายในสถานีบริการน้ำมันทั่วไป ทั้งน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 และ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ซึ่งมีส่วนผสมของเอทานอลไม่เกินร้อยละ 10 โดยรถยนต์ระบบหัวฉีดสามารถใช้แทนน้ำมันเบนซินได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องดัดแปลงเครื่องยนต์ แต่แก๊สโซฮอล์ชนิดอื่น เช่น แก๊สโซฮอล์ E20 ซึ่งมีส่วนผสมของเอทานอลร้อยละ 20 และ แก๊สโซฮอล์ E85 ซึ่งมีส่วนผสมของเอทานอลร้อยละ 85 จำเป็นต้องใช้ร่วมกับเครื่องยนต์ที่ออกแบบมาเฉพาะ

ส่วนข้อมูลในเชิงอุตสาหกรรม และ นวัตกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ… รายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยี และ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ โครงการพัฒนาผู้ประกอบการด้านทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม โดยสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากการสืบค้นฐานข้อมูลสิทธิบัตร Questel ผลที่ได้จากการสืบค้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ถึงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2560 พบว่า… คำขอรับสิทธิบัตรด้านเชื้อเพลิงชีวภาพเกี่ยวกับเอทานอล และ เชื้อเพลิงชีวภาพระดับโลก มีจำนวน 13,005 คำขอ โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนถึงปี พ.ศ. 2551 เริ่มมีจำนวนคำขอคงที่โดยเฉลี่ยประมาณ 1,000-1,100 คำขอต่อปี… โดยประเทศที่มีจำนวนคำขอรับสิทธิบัตรสะสมมากที่สุดเรียงลำดับ ได้แก่… 

  1. ประเทศจีน 
  2. ประเทศสหรัฐอเมริกา 
  3. ประเทศแคนาดา 
  4. ประเทศเกาหลี 
  5. ประเทศญี่ปุ่น 
  6. ประเทศเยอรมนี 

ส่วนชื่อผู้ขอรับสิทธิบัตรสะสมมากที่สุดในโลกคือ BASF หรือ Badische Anilin- & Sodafabrik ซึ่งมีบริษัทแม่ในเยอรมนี

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts