plastic bag natural

Bioplastic… ปฐมบท #FridaysForFuture

ความเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านการใช้พลาสติกแบบเดิม โดยเฉพาะในมิติของหีบห่อและบรรจุภัณฑ์สินค้า ที่มีวงจรการใช้งานสั้นหรือใช้แล้วทิ้ง ทำให้ระบบนิเวศน์ผลิตภัณฑ์พลาสติก ที่เติบโตมากับระบบเศรษฐกิจช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 ต่อเนื่องมาจนถึงช่วง 20 ปีแรกของศตวรรษที่ 21… เปลี่ยนไปอย่างชัดเจน

กรณีงดให้ถุงพลาสติกใส่ของในห้างสรรพสินค้า ซุเปอร์มาร์เก็ตและมินิมาร์ทในประเทศไทย ถือเป็นมิติการเปลี่ยนแปลงที่สร้างแรงกระเพื่อมต่ออุตสาหกรรมพลาสติกจากปิโตรเคมีอย่างมาก พร้อมๆ กันนั้น… การเติบโตของไบโอพลาสติกก็มีมิติให้น่าสนใจอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อยังมีอุปสงค์ติดอยู่ในรูปแบบการใช้พลาสติก ที่ยังไม่เปลี่ยนแปลงอะไรไปกว่านี้มากนัก… Bioplastic หรือไบโอพลาสติกจึงโดดเด่นเป็น New S-Curve ใหม่ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์

Bioplastic หรือ ไบโอพลาสติก หรือ พลาสติกชีวภาพ… เป็นวัสดุโพลิเมอร์ที่ผลิตจากแหล่งวัตถุดิบชีวมวล เช่น แป้ง น้ำตาล ไขมันพืช ฟาง ชานอ้อย ซังข้าวโพด เศษไม้ ขี้เลื่อย เศษอาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย… สิ่งที่ต้องทำความเข้าก่อนอื่นก็คือ ไบโอพลาสติกทุกชนิดนอกจากจะต้องมีสมบัติทางโพลิเมอร์แล้ว ยังต้องพิจารณาตัวแปรการย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เปรียบเทียบกับพลาสติกที่ผลิตจากปิโตรเคมีด้วย

IUPAC หรือ International Union of Pure and Applied Chemistry หรือ สหภาพเคมีบริสุทธิ์และเคมีประยุกต์ระหว่างประเทศ ได้ให้คำนิยามอย่างเป็นทางการของ พลาสติกชีวภาพ ไว้ว่า…

พลาสติกชีวภาพ หรือ Bioplastic คือ Biobased Polymer หรือ โพลิเมอร์ฐานชีวภาพ ที่ทำจากมวลชีวภาพ หรือ Biomass บ้าง… จาก Bio–monomers หรือ โมโนเมอร์ที่ได้จากมวลชีวภาพบ้าง โดยในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการผลิตสามารถขึ้นรูปด้วยการไหลได้

การใช้คำว่าพลาสติกชีวภาพ หรือ Bioplastic มีข้อสังเกตและข้อควรระวังดังนี้คือ

  1. คำว่า “พลาสติกชีวภาพ” มักใช้สื่อถึงวัสดุที่ตรงกันข้ามกับโพลิเมอร์จากทรัพยากรฟอสซิล หรือ Fossil Resources
  2. คำว่า “พลาสติกชีวภาพ” เป็นคำที่อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ เพราะอาจสื่อความว่าพอลิเมอร์ใดๆ ที่ทำจากมวลชีวภาพ ล้วนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  3. การใช้คำว่า “พลาสติกชีวภาพ” จึงเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง และควรใช้คำว่า “โพลิเมอร์ฐานชีวภาพ หรือ Biobased Polymer” แทน
  4. หากโพลิเมอร์ฐานชีวภาพชนิดใดมีความใกล้เคียงกับโพลิเมอร์ฐานปิโตรเลียม หรือ Petro-based Polymer… ไม่จำเป็นว่าโพลิเมอร์ฐานชีวภาพชนิดนั้นจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า นอกจากจะมีผลการเปรียบเทียบที่ชี้ชัดจากการประเมินวงจรชีวิต หรือ Life Cycle Assessments ของวัสดุทั้งสองชนิดเปรียบเทียบแล้วเท่านั้น

ปัจจุบัน Biobased Polymer ถูกแบ่งออกเป็น 10 ประเภท ได้แก่

  1. Starch-based Plastics หรือ โพลิเมอร์ฐานชีวภาพจากแป้ง
  2. Cellulose-based Plastics หรือ โพลิเมอร์ฐานชีวภาพเซลลูโลส
  3. Protein-based Plastics หรือ โพลิเมอร์ฐานชีวภาพจากโปรตีน
  4. Some Aliphatic Polyesters หรือ โพลิเมอร์ฐานชีวภาพจากอลิฟาติกโพลีเอสเตอร์ มี 2 ประเภทย่อยไดแก่
    1. Polylactic Acid หรือ PLA หรือ โพลิเมอร์ฐานชีวภาพจากกรดโพลีแลคติก
    2. Poly-3-hydroxybutyrate หรือ โพลิเมอร์ฐานชีวภาพจากโพลี 3 ไฮดรอกซี่บิวติเรต
  5. Polyhydroxyalkanoates หรือ โพลิเมอร์ฐานชีวภาพโพลีไฮดรอกซีอัลคาโนเอต
  6. Polyamide 11 หรือ โพลิเมอร์ฐานชีวภาพจากโพลีอามายด์ 11 หรือ โพลิเมอร์ฐานชีวภาพจากน้ำมันธรรมชาติ
  7. Bio-derived Polyethylene หรือ โพลิเมอร์ฐานชีวภาพจากพอลิเอทิลีนที่ได้จากชีวภาพ
  8. Genetically Modified Feedstocks หรือ โพลิเมอร์ฐานชีวภาพจากวัตถุดิบดัดแปลงพันธุกรรม
  9. Polyhydroxyurethanes หรือ โพลิเมอร์ฐานชีวภาพจากโพลีไฮดรอกซียูรีเทน
  10. Lipid Derived Polymers หรือ โพลิเมอร์ฐานชีวภาพจากโพลิเมอร์ที่ได้จากไขมัน

ข้อเท็จจริงอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับ Bioplastic ทุกที่มาก็คือ… 

  • ประเด็นแรก พลาสติกชีวภาพยังผลิตและมีใช้น้อยกว่าหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของพลาสติกทั้งหมดที่ผลิตทั่วโลก… 
  • ประเด็นที่สอง ราคาและต้นทุนของ Bioplastic แพงกว่าพลาสติกปิโตรเคมีโดยเฉลี่ย 2-4 เท่า… 
  • ประเด็นที่สาม Bioplastic ไม่ได้ลดการปล่อยคาร์บอน หรือ Carbon Emissions สู่ชั้นบรรยากาศแต่อย่างใด… 
  • ประเด็นที่สี่ การแปรรูปและผลิต Bioplastic ประสบปัญหาด้านลอจิสติกส์ทั้งแหล่งวัตถุดิบและโครงสร้างพื้นฐานในการกำจัดของเหลือ เนื่องจากพลาสติกชีวภาพส่วนใหญ่ผลิตจากน้ำตาลจากพืช แป้งหรือน้ำมัน ซึ่งตัวเลขประมาณการณ์ว่า หากต้องการทดแทนพลาสติกจากปิโตรเคมี 250 ล้านตันที่ผลิตในแต่ละปี ด้วยพลาสติกชีวภาพจะต้องใช้พื้นที่ 100 ล้านเฮกตาร์หรือร้อยละ 7 ของพื้นที่เพาะปลูกบนโลก… 
  • ประเด็นที่ห้า เมื่อพลาสติกชีวภาพถึงจุดสิ้นสุดของวงจรชีวิตพลาสติกที่ออกแบบมาให้ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ จะถูกส่งไปยังหลุมฝังกลบเนื่องจากไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการหมักหรือการคัดแยกขยะที่เหมาะสม ซึ่งจะปล่อยก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกออกมาเมื่อสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจนอยู่ดี

แต่ไม่ว่าจะอย่างไร… ยุคของ Bioplastic มาถึงช้ากว่าที่หลายฝ่ายเข้าใจมาก ซึ่งถ้านับจากวันเปิดตัว Parkesine ต้นแบบพลาสติกชีวภาพที่ทำจากไนโตรเซลลูโลส หรือ Nitrocellulose โดย Alexander Parkes ในงาน Great London Exhibition ปี 1862 หรือกว่า 150 ปีมาแล้ว… ย่อมถือว่าพัฒนาการกว่าร้อยปีที่มีมา “ยังไปไม่ถึงไหนเท่าไหร่เลย” 

และที่สำคัญกว่านั้นก็คือ คำว่า Bioplastic กำลังเปลี่ยนความเข้าใจเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของพลาสติกชีวภาพแบบต่างๆ ที่กล่าวมาสำหรับหลายๆ คน ให้ผิดไปจากข้อเท็จจริงมากอยู่… 

#FridaysForFuture ครับ!

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts