Blended Learning Lesson Plan

Blended Instructions Lesson Plan

คนที่คลุกคลีอยู่กับ Computer Based Training มาตั้งแต่ยุค CAI ใน Floppy Disk อย่างผมล้วนเคยผ่านการถูกปฏิเสธและการดูแคลนสื่อดิจิตอลทั้งต่อหน้าและลับหลังมาแล้วทั้งนั้น ซึ่งผมไม่โทษใครหรอกครับ เพราะสื่อดิจิตอลในยุคนั้น สร้างความยุ่งยากให้ครูอาจารย์มากกว่าจะช่วยแบ่งเบา จึงไม่มีช่องว่างให้เทคโนโลยีการศึกษาเบียดเข้าไปเป็นภาระใคร… โชคร้ายหน่อยก็จะไปเจอผู้บริหารวิสัยทัศน์ไกล ซึ่งท่านจะสั่งและส่งพวกผมไปเจอกับสภาพที่ไม่พร้อมมากมาย โดยเฉพาะ Fixed Mindset ที่หลายครั้งพวกเราต้องยอมแพ้… แต่หลายครั้งพวกเราก็ได้โอกาส

การดำเนินการใดๆ ต่อจากได้รับโอกาส จึงต้องสร้างและใช้เครื่องมือมากมายเพื่อช่วยผลักดันเป้าหมาย ให้แนวทาง eLearning ไม่ถูกมองว่า… มีหรือไม่มีก็ไม่ต่างกัน และสรุปจบไปว่าไม่ต้องมีก็ได้ในท้ายที่สุด

หลายท่านคงเคยอ่านหรือเคยทำวิจัยในชั้นเรียนแบบใช้ eLearning กลุ่มหนึ่ง และสอนในชั้นเรียนอีกกลุ่มหนึ่งเทียบกันมาบ้าง… ส่วนใหญ่งานวิจัยแบบนี้จะสรุปว่า “ผู้เรียนทั้งสองกลุ่มมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ต่างกัน” ซึ่งข้อสรุปงานวิจัยแบบนี้แหละ ที่ทำให้ eLearning ในบ้านเราล้าหลังและวังเวงจนกระทั่งมาสำลักโควิดคราวนี้จึงรู้ว่า… เราไม่มีสื่อดิจิตอลเพียงพอสำหรับเด็กๆ

เอาเป็นว่า… ผมจะไม่เสียเวลาย้อนความอะไรอีก เพราะทั้งหมดนั่น “เป็นโอกาสที่ผ่านไปแล้วเหมือนสายน้ำ” และหลังวิกฤตโควิดรอบนี้ “เป็นอีกครั้งหนึ่งของโอกาส” ที่เราพร้อมยิ่งกว่าเมื่อครั้งการเตรียมปฏิรูปการศึกษาจนได้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นไหนๆ

และอย่างที่เรียนไปกับบทความหลายๆ ตอน… ผมเสนอให้ Blended ทุกวิชาทุกหลักสูตร ที่ผู้สอนเตรียมสอนเป็น PowerPoint อยู่แล้ว เอามาออกแบบแผนการสอนเพื่อ Blended ทั้งระดับหัวข้อ รายวิชาและหลักสูตร

วันนี้ผมเอา Framework หรือ กรอบการทำงานที่ชื่อว่า Blended Instruction Lesson Plan ซึ่งเป็น Template หรือ Canvas การทำแผนการสอนให้มีทั้ง eLearning และ Classroom ที่นักการศึกษาทั้งสาย Blended Learning โดยตรงและสายดิจิตอลที่ต้องพึ่ง Blended Learning… ใช้พัฒนาสื่อดิจิตอลเพื่อการศึกษามานาน

Blended Instruction Lesson Plan มีบันทึกและเผยแพร่บน wikiversity.org ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งในเครือ Wikipedia.org เช่นกัน

Blended Instruction Lesson Plan เป็นฟอร์มการออกแผนการสอนที่มีมานาน ชื่อเรียกจึงโบราณหน่อย แต่ผมยืนยันว่า แบบฟอร์มชุดนี้สามารถช่วยทำแผนการสอนแบบ Blended Learning ขึ้นชั้นต้นตำรับ ผมเองก็เคยใช้มาพอสมควรตั้งแต่ก่อนสิ้นศตวรรษที่ 20 เช่นกัน… ในฟอร์มมีข้อมูลเพียง 5 ชุดเท่านั้นเองให้กรอก ได้แก่

  1. Title หรือ หัวเรื่อง เป็นชื่อแผนการสอน
  2. Learning Objective เป็นวัตถุประสงค์ในแผนการสอนว่ามุ่งเป้าอะไร
  3. Computer Based Component(s) เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่จะให้นักเรียนได้เรียนผ่านคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง
  4. In-Person Component(s) เป็นกิจกรรมในชั้นเรียน
  5. Instruction Sequence เป็นแนวปฏิบัติในการเรียงลำดับกิจกรรมทั้ง Computer Based Component และ In-Person Component

ง่ายๆ แค่นี้แหละครับ… ผมมีตัวอย่างที่กรอกไว้แล้วแนบมาตามภาพด้านล่างด้วย

ขออภัยที่เอาเอกสารเป็นภาษาอังกฤษดิบๆ จากแหล่งอ้างอิงมานำเสนอ… ที่จริงแค่จะเอามาเกริ่นให้เห็นพัฒนาการของ Blended Learning Canvas ที่มีบรรพบุรุษอย่าง Blended Instruction lesson Plan เท่านั้นแหละครับ… และท้ายที่สุด ก็ต่อยอดออกไปหลายรูปแบบ เพราะไม่มีการตั้งกฏเกณฑ์หรือสถาบันมาดูแลแนวทางและปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอเหมือน Framework อื่นๆ

แต่สิ่งหนึ่งที่จิตวิญญาณของ Blended Learning ยังคงสืบทอดมาตลอดคือ Technologies and Pedagogical Combinations หรือการหลอมรวมเทคโนโลยีและการสอนโดยครูเอาไว้ด้วยกัน… ไม่ใช่เปรียบเทียบกันแล้วเลือกใช้ “อันที่ทำง่ายแต่ไม่ยั่งยืน” หรือ “ยั่งยืนแต่วุ่นวายซับซ้อน” ทางใดทางเดียว

ตอนหน้ามา Upgrade Blended Instructions Lesson Plan ให้เป็น Blended Learning Canvas เพื่อใช้หลังวิกฤตโควิดครับ!… 

อ้างอิง

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts