บทความเรื่อง The Growth Mindset & Blended Learning จากเวบไซต์ instructure.com เขียนโดย Aili Olichney พูดถึง Growth Mindset ในชั้นเรียนที่มักจะเจอนักเรียนสามกลุ่มใหญ่คือ… กลุ่มเรียนดีมีความรับผิดชอบและสติปัญญาเป็นเลิศ… กับกลุ่มพยายามเรียนและอยู่ในกติกาแต่ไม่สามารถทำเกรดได้ดีนัก… และกลุ่มที่ไม่ใส่ใจการเรียนแบบปกติทั่วไป
ประเด็นคือ… เด็กกลุ่มเรียนดีได้เกรด A เป็นกลุ่มที่มี Growth Mindset ที่ท้าทายต่อปัญหายากๆ ในขณะที่อีกสองกลุ่มมักจะยอมแพ้และติดอยู่กับคำว่า “ไม่เก่ง ไม่รู้เรื่องและทำไม่ได้” ซึ่งเป็น Fixed Mindset ตามนิยามของ Carol Dweck นักจิตวิทยาชื่อดังเจ้าของหนังสือ Mindset: The New Psychology of Success ที่ทั่วโลกยอมรับ
ข้อเสนอและแนวทางของ Aili Olichney ที่ผมสนใจก็คือ… การสร้างแผนการสอนเพื่อพัฒนา Growth Mindset ของนักเรียนทุกกลุ่ม โดยการสร้างแผนการสอนที่สามารถ Blended การเรียนการสอนในชั้นเรียนคู่กับเทคโนโลยีทางการศึกษา เพื่อเปิดประตูหลายๆ บานให้เหมาะกับนักเรียนของเธอทุกคน
นั่นหมายความว่า… Blended Instruction Plan ก็คือเครื่องมือพัฒนา Personalized Learning ที่นักการศึกษาส่วนใหญ่กำลังตามหาอยู่นั่นเอง… แนวทาง Blended Learning ที่ไม่ได้มีแต่ Aili Olichney เท่านั้นที่รู้จักและใช้เป็น… เมื่อค้น Google ดูจึงเห็นการประยุคใช้แบบต่างๆ มากมาย… ที่ต้องเรียนท่านที่สนใจไว้ตรงนี้ว่า… ไม่ต้องแปลกใจหรืองุนงงหรอกครับ
ธรรมชาติของ Blended Learning ไม่มีสูตรตายตัว… ยกเว้นการโฟกัสนักเรียนเป็นศูนย์กลาง เหมือนกรณีของ Teacher Aili Olichney ซึ่งนอกจากจะเอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแล้ว ยังเอา Growth Mindset ของผู้เรียนเป็นเป้าหมายอีกด้วย!!!
ถึงตรงนี้ก็ง่ายละครับ… มีอะไรที่สามารถช่วยให้เด็กเก่งและเรียนรู้ได้เร็ว ก็ Blended ใส่เข้าไปในแผนการเรียนให้นักเรียน… ย้ำว่า “แผนการเรียนของนักเรียน” โดยใช้ Growth Mindset กระตุ้นให้นักเรียน “ใฝ่เรียนรู้” จากทรัพยากรหลากหลายที่ครูมีให้… เนื้อหา หรือ Contents ที่ครูจะบอกนักเรียน หาวิธีสื่อสารเนื้อหาที่ว่าให้หลากหลาย จะสอนในห้อง ดูคลิปเพิ่ม ทำแบบฝึกหัดออนไลน์ ค้นคว้าทำรายงาน ฯลฯ
อย่างที่เกริ่นไปในบทความตอนที่แล้วเรื่อง Blended Instructions Lesson Plan แล้วว่า… ครูอาจารย์สาย Blended Learning หรือสาย eLearning ที่ต้องพึ่ง Blended Learning ล้วนเคยใช้และอ้างอิงเครื่องมือช่วยเตรียมสอนด้วย Blended Instruction Lesson Plan กันเป็นส่วนใหญ่… แต่เมื่อถึงยุคที่ต้อง “เตรียมแผนการเรียน” ให้นักเรียน เครื่องมือช่วยเตรียม Lesson Plan จึงต้องพัฒนาขึ้นใหม่… ซึ่งรูปแบบที่ผมใช้มานานชื่อว่า Blend Learning Canvas ครับ…
ที่ผมเคยใช้หน้าตาแบบนี้… ตอนหน้ามาดูวิธีใช้และตัวอย่างเบื้องต้นด้วยกันครับ!!!
อ้างอิง