ก่อนที่ผมจะเขียนถึง Co-creation Learning ในบทความ Co-creation Learning… ปฐมบท ความจริงผมมีหนังสือที่เคยอ่านไม่จบอยู่เล่มหนึ่งชื่อ Blended Learning in Action: A Practical Guide Toward Sustainable Change อยู่ก่อน และชั่งใจอยู่ว่า ผมควรจะทำบทความระดับ Introduce แค่แนะนำผิวเผิน หรือควรจะลงรายละเอียดให้เห็นจิ๊กซอว์ทุกชิ้นที่ Co-creation Learning เป็นชิ้นส่วนหลักชิ้นหนึ่งอยู่ในโครงสร้างทั้งหมด
ผมตัดสินใจรื้อรายละเอียด Blended Learning in Action: A Practical Guide Toward Sustainable Change หนังสือที่เสนอแนวคิดการจัดการศึกษาอย่างยั่งยืนจากนักการศึกษาสมัยใหม่ 3 คนได้แก่ Catlin Rice Tucker อดีตคุณครูจากเมือง Sonoma ในแคลิฟอร์เนียที่เคยสอนนักเรียน Grades 4–12 ด้วย Blended Learning มาแล้ว
ส่วน Co-author อีก 2 คนคือ Tiffany Wycoff และ Jason T. Green ต่างก็มีบทบาทนำในการผลักดัน Blended Learning ที่ร่วมกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับ Blended Learning ในโรงเรียนนำร่องหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา อาทิ Grandview Preparatory School ใน Florida และ The Mandell School ใน New York
โดยเฉพาะ Redbird Professional Learning Platform ที่มี Jason T. Green เป็นแกนนำในการพัฒนาระบบให้ครูอาจารย์ได้ทำ Co-creation and Shared Resource ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ระบบนิเวศน์ด้าน eLearning มีทรัพยากรระดับ Blended Learning และนำมาใช้งานอย่างยืดยุ่นได้ทั้ง Internet Based และ Place Based Classroom ด้วยทรัพยากรเดียวกัน ซึ่ง Blended Learning มีโมเดลที่ยืดยุ่นถึง 6 โมเดลประกอบด้วย
Face-to-Face Driver หรือเรียนสอนแบบพบหน้าเจอตัว… ซึ่งผู้สอนจะขับเคลื่อนการเรียนการสอนและกิจกรรมด้วยเครื่องมือช่วยสอนและทรัพยากรดิจิตอล
Rotation หรือหมุนเวียน… โดยผู้เรียนจะมีตารางเรียนออนไลน์ทั้ง Synchronous/Asynchronous และ Face-to-Face กับผู้สอนในชั้นเรียน
Flex หรือยืดยุ่น… โดยจัดหลักสูตร หรือ Curriculum ใส่ Digital Platform ไว้ให้ผู้เรียนทั้งหมด โดยมีผู้สอนหรือครูอาจารย์เตรียมพร้อมให้พบเจอพูดคุยปรึกษาแบบ Face-to-Face ตลอดเวลา
Labs หรือห้องปฏิบัติการ… โดยจัดหลักสูตร หรือ Curriculum ใส่ Digital Platform ไว้ให้ผู้เรียนเข้าถึงได้ทั้งหมด แต่ผู้เรียนต้องมาทำกิจกรรมในห้องปฏิบัติการ เหมือนยังเรียนโดยฝึกปฏิบัติเช่นเดิม
Self Blend หรือจัดการตัวเอง… รูปแบบนี้คือให้ผู้เรียนออกแบบการเรียนรู้ของตัวเองทั้งหมดได้เลย โดยมีทรัพยากรและตารางเวลาเจอหรือเรียนกับครูผู้สอน ทั้ง Synchronous eLearning และ Face-to-Face รวมทั้งการจัดตารางเรียนออนไลน์ทั้งหมดด้วยตัวเอง ภายใต้เงื่อนไขการประเมินความรู้หลังเรียนของสถาบันและหลักสูตร
Online Driver หรือขับเคลื่อนออนไลน์… โดยครูอาจารย์จะเปิดใช้ Synchronous eLearning Platform ให้นักเรียนสามารถขอเรียน ปรึกษาและแลกเปลี่ยนได้ ทั้งแบบกำหนดในตารางเวลาและการเปิดแบบ Open Time ก็ได้

ประเด็นก็คือ… Blended Learning ต้องเตรียมทุกแนวทางให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียน สามารถ Personalized ภาระกิจ หรือ Task ของตัวเองให้บรรลุวัตถุประสงค์ให้ได้ทั้งสองฝ่าย โดยมีสถาบันหรือฝ่ายอำนวยการ “ช่วยเติมช่องว่างไร้รอยต่อ” ให้ Blended Learning Models กลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานการเรียนรู้ ไม่ต่างจากการจัดหาอาคารสถานที่ โต๊ะเก้าอี้ สื่อและเครื่องมือช่วยสอน
แต่ก่อนจะไปคลี่แต่ละโมเดลใน Blended Learning Models มาดูรายละเอียด… ผมคิดว่าตอนต่อไปผมเอาเรื่อง Personalized Learning มาอธิบายเพิ่มเติมก่อนดีกว่า
โปรดติดตามด้วยครับ!