ประเทศไทยพึ่งจะผ่านการเลือกตั้งใหญ่ ซึ่งรูปแบบการเลือกตั้งในความรับผิดชอบของ กกต. หรือ คณะกรรมการการเลือกตั้งก็ยังคงเป็นรูปแบบคลาสสิคที่ใช้บัตรลงคะแนน หรือ บัตรเลือกตั้งเป็นเครื่องมือเก็บคะแนนจากผู้ใช้สิทธิ์ออกเสียง… ซึ่งก็เรียบร้อยดีในระดับที่ยอมรับได้แบบไม่อายนานาชาตินัก โดยทุกฝ่ายไม่มีใครขัดข้องเรื่องรูปแบบการเลือกตั้งแบบใช้บัตรเลือกตั้งลงคะแนน
แต่ในทางเทคโนโลยี… คนในวงการ Blockchain รู้กันมานานแล้วว่า Blockchain Technology คือรูปแบบการเลือกตั้งในอนาคตที่จะมาแทนรูปแบบใช้บัตรเลือกตั้งลงคะแนนอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง… ซึ่งคนในวงการบล็อกเชนเองได้พัฒนารูปแบบการลงมติ หรือ Voting ที่โปร่งใส ไร้คนกลาง ชัดเจนและเป็นธรรมกับการจัดการ POS Blockchain หรือ Proof-Of-Stake Blockchain ที่สามารถระบุสิทธิ์ในการลงมติตามสัดส่วนการมีส่วนได้ส่วนเสีย…
ข้อมูลจาก Brookings Institution ที่เป็น Think Tank ให้สหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ปี 1916 ได้แนะนำ Blockchain Voting หรือ การใช้สิทธิ์ลงมติผ่านบล็อกเชน เอาไว้ว่า… Blockchain Voting หรือ Decentralized Voting มีศักยภาพหลายประการที่ทำให้การเลือกตั้ง หรือ การลงมติโปร่งใส ชัดเจน ตรวจสอบได้ และ ปิดโอกาสการฉ้อโกงการลงมติได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยทุกสิทธิ์ที่ออกเสียงลงมติไปจะถูกนับทันทีอย่างชัดเจน
ตัวอย่างการใช้แพลตฟอร์มลงมติอย่าง Voatz ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม Blockchain Election สมบูรณ์แบบในการเลือกตั้งในรัฐ West Virginia ปี 2018 และ ในรัฐ Colorado ปี 2019 ซึ่งทหารประจำการที่มีสิทธิ์เลือกตั้งหลายร้อยคนที่ประจำการอยู่นอกสหรัฐก็ลงคะแนนเสียงผ่าน Voatz โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการจัดการเลือกตั้งล่วงหน้า และ การเลือกตั้งนอกประเทศให้สิ้นเปลือง… เพราะสามารถเปิดให้โหวตในช่วงเวลาเดียวกันได้ทั่วโลกโดยไม่มีอุปสรรคใดๆ
อย่างไรก็ตาม… กรณีการใช้แพลตฟอร์ม Voatz ใน West Virginia และ Colorado ก็ยังเป็นที่ถกเถียงเรื่องจุดอ่อนด้านต่างๆ ที่บล็อกเชนถูกนำมาใช้แทนการหย่อนบัตรอย่างหยาบๆ โดยไม่มีการจัดการด้านการยืนยันตัวตน หรือ KYC ที่รัดกุมจริงๆ โดยเฉพาะช่องโหว่ของทั้ง Hardware และ Software นอกบล็อกเชนที่ยังมี “ความเสี่ยงต่อการโจมตีทางไซเบอร์” เพื่อบิดเบือนข้อมูลก่อนบันทึกลงบล็อกเชนได้ไม่ยาก
อย่างไรก็ตาม… งานวิจัยเรื่อง DVTChain: A Blockchain-Based Decentralized Mechanism To Ensure The Security Of Digital Voting System Voting System โดย Syada Tasmia Alvi และ คณะ ซึ่งศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการลงคะแนนเสียงแบบดิจิทัล กับ แบบหย่อนบัตรเลือกตั้ง… ซึ่งได้ตั้งข้อสังเกตุเรื่องกลไกการลงมติแบบ End-to-End ที่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งลงคะแนนตรงไปที่ผลรวมคะแนนเสียงทันทีโดยไม่ผ่านมือบุคคลที่สามอีก… ซึ่งการเลือกตั้งแบบหย่อนบัตรเลือกตั้งต้องใช้เวลาอีกเป็นวันๆ กว่าจะได้ผลรวมคะแนนเสียง และ ประกาศผลการเลือกตั้ง… ส่วนงานวิจัยเรื่อง Blockchain for Electronic Voting System—Review and Open Research Challenges โดย Uzma Jafar และคณะ ก็ได้ยืนยันศักยภาพแบบ End-To-End Verification Advantages ไม่ต่างกัน… โดยมีการยืนยันเพิ่มเติมว่า Blockchain Voting หรือ Blockchain Election มีศักยภาพด้านการปรับขนาด หรือ Scalability และ บันทึกรายละเอียดการโหวต และ ผลรวมได้ด้วยความเร็วสูงมาก
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ… การเลือกตั้ง หรือการโหวตผ่านช่องทางดิจิทัลบนเทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นแนวคิด และ ระบบที่กำลังถูกผลักดันให้ได้รับการยอมรับให้เป็นมาตรฐานการออกเสียงในระบอบประชาธิปไตยอย่างชัดเจน… แถมยังเป็นกระแสหลัก และ กระแสเดียวที่ทุกฝ่ายเชื่อว่ามาถูกทางแล้ว… เพียงแต่เทคนิคการจัดการ รวมทั้งกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการโหวตผ่านช่องทางดิจิทัลบนเทคโนโลยีบล็อกเชนคงต้องปรับปรุงขึ้นใช้เฉพาะ โดยมีความเป็นไปได้ที่จะต้องใช้เครือข่าย Hardware ที่เหมาะสมเชื่อถือได้ในการยืนยันตัวตนก่อนลงมติที่โปร่งใส่… เพราะระบบลงมติแบบใช้มือถือส่วนตัวโหวตในแบบที่มีการทดสอบใช้กันเป็นส่วนใหญ่ ยังถูกตั้งคำถามที่ตอบได้ไม่ชัดอีกหลายประเด็น… ส่วนรูปแบบจริงๆ ที่จะใช้กันในอนาคตจะเป็นแบบไหน? และ ถ้าโหวตทางตรงได้ต้องเลือกตั้งผู้แทนอยู่อีกมั๊ย?… ผมว่าอีกไม่นานคงทันได้เห็นครับ!
References…