Breaking Bad Habits… อยากหยุดพฤติกรรมไม่ดีของตัวเอง #SelfInsight

คนส่วนใหญ่รู้ดีว่าพฤติกรรมอะไรของตัวเองที่ไม่ดีกับตัวเองบ้าง และคนส่วนใหญ่ก็มักจะไม่สามารถหยุดพฤติกรรมไม่ดีกับตัวเองที่รู้ทั้งรู้ว่าไม่ดีเหล่านั้น ซึ่งข้อมูลจาก National Institutes of Health ของสหรัฐอเมริกาสำรวจพบคนอเมริกันกว่า 70% ที่สูบบุหรี่ต่างก็บอกว่าตนอยากเลิกบุหรี่ ซึ่งทั้งหมดยังซื้อและพกบุหรี่ติดตัวเพื่อให้มีสูบเมื่ออยากสูบกันแทบทุกคน… ส่วนกลุ่มผู้ติดสารเสพติด และ แอลกอฮอล์ต่างก็บอกว่าตนอยากเลิก และ รับรู้–เข้าใจถึงผลกระทบของสิ่งเสพติดเหล่านั้นที่ส่งผลเสียต่อร่างกายของตน และ สายสัมพันธ์กับคนรอบข้าง… และคนส่วนใหญ่รู้ถึงภัยร้ายจากภาวะน้ำหนักเกินที่ควบคุมได้ด้วยการควบคุมอาหาร แต่เมื่อเจอของอร่อยที่ชื่นชอบก็ไม่เคยจะหยุดคิดก่อนกินเช่นเดิม

นักวิจัยภายใต้ทุนสนับสนุนจาก NIH หรือ National Institutes of Health ได้ศึกษาเงื่อนงำที่เพาะ “นิสัยแย่ๆ หรือ Bad Habits” ที่ยากจะแก้ไขขึ้นในสมองของเรา… เพื่อนำองค์ความรู้นี้ไปพัฒนากลยุทธ์เพื่อช่วยเราให้เปลี่ยนแปลงตัวเราอย่างได้ผลเท่าที่เราต้องการ

Dr. Nora Volkow ผู้อำนวยการสถาบันยาเสพติดแห่งชาติ ประจำ NIH ชี้ว่า… นิสัยมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาวะของเราอย่างสำคัญ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับชีววิทยาว่าเราพัฒนากิจวัตรที่อาจเป็นอันตรายต่อเราอย่างไร และ วิธีทำลายกิจวัตรเหล่านั้น และ เปิดรับสิ่งใหม่ๆ อาจช่วยให้เราเปลี่ยนวิถีชีวิต และ นำพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพมาใช้ได้

Dr. Nora Volkow อธิบายเพิ่มเติมว่า… นิสัยเกิดขึ้นได้จากการทำซ้ำๆ ซึ่งนิสัยเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตปกติ และ มักจะเป็นประโยชน์กับเจ้าตัว… เราตื่นนอนทุกเช้า อาบน้ำ หวีผม หรือ แปรงฟันโดยที่เราไม่รู้ตัว… เราสามารถขับรถไปตามเส้นทางที่คุ้นเคยด้วยระบบนำร่องอัตโนมัติทางจิต โดยไม่ต้องคิดถึงเส้นทางมากนัก… เมื่อพฤติกรรมกลายเป็นกลไกอัตโนมัติ มันทำให้เราได้เปรียบ เพราะสมองไม่ต้องใช้ความคิดอย่างมีสติในการทำกิจกรรมด้วยนิสัย

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ… นิสัยสามารถเปลี่ยนแปลง และหรือ พัฒนาได้เมื่อปรากฏเหตุการณ์ที่ดี หรือ สนุกสนานมากระตุ้น “ศูนย์รางวัลของสมอง หรือ Brain’s Reward” ซึ่งรางวัลที่สมองพึงใจนี้เองที่ก่อร่างเป็นนิสัย และ กำหนดกิจวัตร โดยหลายกรณีเป็นกิจวัตรที่อันตราย เช่น การกินมากเกินไป การสูบบุหรี่ การใช้สารเสพติดหรือแอลกอฮอล์ เล่นการพนัน หรือแม้แต่การใช้คอมพิวเตอร์และสื่อสังคมออนไลน์เกินจำเป็น

Dr. Russell Poldrack นักประสาทชีววิทยาจาก University of Texas at Austin ชี้ว่า… กลไกทั่วไปที่เราสร้างนิสัยการกินมากเกินไป และ การทำกิจวัตรโดยนิสัยแบบไม่ต้องคิดถึงรายละเอียดนั้นเหมือนกัน… แต่มีข้อแตกต่างที่สำคัญประการหนึ่ง คือ นิสัยที่โฟกัสความสุขนั้นยากที่จะเลิกได้… ซึ่งพฤติกรรมที่ทำให้มีความสุข และ สนุกสนานสามารถกระตุ้นสมองให้หลั่งสารเคมีที่เรียกว่าโดปามีน หรือ Dopamine… ถ้าทำอะไรซ้ำแล้วซ้ำอีก และ โดพามีนก็หลั่งได้เสมอเมื่อทำสิ่งนั้น นั่นจะยิ่งเสริมสร้างนิสัยให้ติดแน่นมากขึ้น และ เมื่อไม่ได้ทำสิ่งที่สมองเคยได้สัมผัสโดปามีนอย่างเพียงพอ… โดปามีนจะกระตุ้นความปรารถนาที่จะทำอีกครั้ง… ข้อเท็จจริงนี้อธิบายว่าทำไมบางคนจึงอยากเสพยา แม้ว่ายาจะไม่ทำให้พวกเขารู้สึกดีอีกต่อไปแล้วก็ตาม… สมองบางส่วนจะต่อต้านเราเมื่อเราพยายามเอาชนะนิสัยแย่ๆ หรือ พฤติกรรมที่ไม่ดี ซึ่ง “ศูนย์รางวัลของสมอง หรือ Brain’s Reward” จะทำให้เราโหยหาสิ่งที่เราพยายามหักห้ามใจเสมอ

ข่าวดีก็คือ มนุษย์ไม่ได้เป็นเพียงสิ่งมีชีวิตที่มีนิสัยที่หลากหลาย แต่เรายังมีพื้นที่สมองอีกมากที่จะช่วยให้เราทำสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับสุขภาวะของเรา

Professor Dr. Roy Baumeister ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาแห่ง Florida State University อธิบายว่า… มนุษย์เก่งกว่าสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ ในการเปลี่ยนแปลง และ กำหนดพฤติกรรมของเราไปสู่เป้าหมายระยะยาว หรือ ผลประโยชน์ระยะยาว… โดยการศึกษาของ Roy Baumeister เกี่ยวกับการตัดสินใจและความมุ่งมั่นได้ข้อสรุปว่า… การควบคุมตนเองก็เหมือนการใช้กล้ามเนื้อ เมื่อออกแรงควบคุมกล้ามเนื้อตัวเองก็จะรู้สึกอ่อนล้าได้ ซึ่งการควบคุมตัวเองก็เหมือนการควบคุมกล้ามเนื้อด้วยการออกกำลังกาย… ถ้าทำอย่างต่อเนื่องจนผ่านไปช่วงหนึ่ง กล้ามเนื้อที่เคยเมื่อยล้าเพราะถูกควบคุมก็จะแข็งแรงขึ้นเมื่อออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่นเดียวกับสมองที่ทานทนการเรียกร้องจาก “ศูนย์รางวัลของสมอง หรือ Brain’s Reward” ผ่านนิสัยแย่ๆ ได้ดีกว่าเดิม… ถึงแม้ความมุ่งมั่นจะอ่อนล้าไปได้บ้าง แต่ก็สามารถใช้กิจวัตรช่วยควบคุมตนเองแบบต่างๆ เป็นประจำเข้ามาชดเชยได้ เช่น ไม่พกบุหรี่ไฟแช็กแบบพร้อมสูบตลอดเวลา หรือ จดอาหารที่กินเข้าไปทุกอย่าง–ทุกมื้อ–ทุกวัน เป็นต้น

ข้อมูลจาก Healthline.com ชี้ว่า…การทำลายนิสัยแย่ๆ ที่ไม่ดีกับตัวเราอาจเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะการหยุด หรือ ทำลายพฤติกรรมแย่ๆ ที่เคยทำมานาน… แต่ถ้าเข้าใจที่มาว่านิสัยอันไม่พึงประสงค์ของเราก่อตัวขึ้นอย่างไรในตอนแรก กระบวนการเปลี่ยนแปลงแก้ไขนิสัยเหล่านี้ก็เป็นไปได้มากขึ้น… โดยมีแนวทางการพัฒนานิสัยใหม่ทดแทนด้วยแนวคิด 3Rs คือ…

  1. Reminder หรือ เตือนความจำ… เพื่อส่งสัญญาณกระตุ้นให้ทำกิจวัตร และ ปฏิบัตตัวภายใต้ภาวะรู้ตัวว่าทำอะไรอยู่ หรือ จะต้องทำอะไรลำดับถัดไป
  2. Routine หรือ กิจวัตรประจำ… โดยฝึกกิจวัตรด้วยลำดับของพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพ เช่น กดชักโครก – ล้างมือด้วยสบู่ – เช็ดมือให้แห้ง – ทาโลชั่น เป็นต้น
  3. Reward หรือ ให้รางวัล… โดยเลือกทำกิจกรรมที่สมองได้โดปามีน หรือ Dopamine ทั้งที่ก่อให้เกิดความรู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลิน และหรือ รู้สึกคลายทุกข์… โดยไม่ขัดแย้งกับสุขภาวะองค์รวมของตนในระยะยาว

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts