วันนี้เรายังคงอยู่กับ Minto Pyramid Principle ซึ่งเป็นหลักการออกแบบการสื่อสารเรื่องยากๆ ให้เข้าใจง่ายขึ้น… และเป็นเทคนิคการทำความเข้าใจข้อมูลที่จะแปลงเป็นสาร เพื่อส่งไปยังผู้รับ ที่ให้หลักในการ “เรียงข้อมูลใส่โครงสร้างมาตรฐาน” เพื่อให้ “คนส่งสาร” สามารถทำความเข้าใจรายละเอียดของสารหรือข้อมูลแวดล้อมทั้งหมดอย่างถูกต้องชัดเจน แล้วค่อยส่งต่อ “ความเข้าใจอันถูกต้องชัดเจน” ไปถึงคนรับสารลำดับถัดไป
การส่งต่อความเข้าใจอันถูกต้องชัดเจน ในมุมมองของการสื่อสารเราเรียกว่า Good Communication… คนที่สามารถสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจสารได้ถูกต้องชัดเจน จึงได้ชื่อว่าเป็นคนมี Good Communication Skills ไปด้วย… ในทำนองเดียวกัน การส่งต่อความเข้าใจอันถูกต้องชัดเจน ในมุมมองด้านการศึกษาก็เรียกว่า Good Teaching เช่นกัน และคนที่สามารถส่งต่อความเข้าใจอันถูกต้องชัดเจนให้ผู้เรียนได้ดี จึงเรียกว่า Good Teacher ไปด้วย

ประเด็นก็คือ… Message หรือสารที่ง่ายต่อความเข้าใจอันถูกต้องชัดเจน จะมีโครงสร้างที่ชัดเจนสำหรับการรับรู้ของปลายทางผู้รับสารเสมอ… เหมือนอาหารก่อนกลืนลงท้อง จะมีโครงสร้างเป็นอาหารที่บดเคี้ยวแล้ว จึงกลืนลงท้องได้นั่นเอง และ Minto Pyramid Principle ถือเป็นโครงสร้างการเตรียมสารให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถ “ส่งต่อความเข้าใจอันถูกต้องชัดเจน” วิธีหนึ่ง ที่ผ่านการพิสูจน์มาแล้วว่า… เป็นโครงสร้างที่ล้ำเลิศเพริศแพร้วทั้งฝั่งคนส่งสารและคนรับสาร
Minto Pyramid Principle เป็นเทคนิคการจัดโครงสร้างข้อมูลและตรรกะเพื่อเล่าต่อหรือส่งต่อความเข้าใจอันถูกต้อง ครบถ้วนและชัดเจน… ท่านที่ยังไม่รู้จัก Barbara Minto และ Minto Pyramid Principle มาก่อน ผมขอให้ท่านกลับไปอ่านบทความเรื่อง SCQA Methods, Barbara Minto และ McKinsey & Company ก่อนครับ… เพราะตอนนี้เป็นขั้นการทำความเข้าใจโครงสร้างปิรามิดและวิธีสร้างปิรามิดกันแล้ว
และต่อไปนี้คือ 5 ขั้นการเตรียม “ส่งต่อความเข้าใจอันถูกต้องชัดเจนด้วย Minto Pyramid Principle” ตั้งแต่ SCQA จนถึงเตรียมสไลด์ไปนำเสนอกันเลย
1. Build SCQA logic
SCQA ใน Minto Pyramid Principle คือวัตถุดิบข้อมูลที่จะใช้สำหรับสร้าง Message หรือสารที่ทรงพลัง ซึ่งข้อมูลทั้งหมดต้องเป็นข้อมูลที่ ”ชัดเจนถูกต้อง” และต้องหาวิธี “ยืนยันความถูกต้อง” ของข้อมูล ซึ่งตัวแปร SCQA ทั้ง 4 ด้าน จะถูกแยกออกเป็น 2 กลุ่มคือ Situation กับ Complication คู่หนึ่ง Question กับ Answer อีกคู่หนึ่ง… แล้วเริ่มต้นร่างข้อมูลที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกันออกมาในแต่ละคู่ และโยงความสัมพันธ์ระหว่างคู่ให้เห็นวงจรข้อเท็จจริง หรือ Facts ที่จะไหลเชื่อมโยงกัน… ประเด็นสำคัญของขั้นเตรียมข้อมูลนี้คือ Facts หรือข้อเท็จจริง “ที่ห้ามผิดพลาดบกพร่อง” เพราะนี่คือกระดุมเม็ดแรกที่ต้องกลัดให้ถูกเท่านั้น ซึ่งข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ไม่ผิดพลาดบกพร่อง เกือบทั้งหมดเป็นข้อมูลเชิงลึก หรือ Insight ที่ส่วนใหญ่ได้มาจากการศึกษาวิจัยหรือ Research และการใส่ใจขั้นสูงสุด หรือ Optimized Empathic… ซึ่งขั้นตอนนี้จึงมักจะแพง นานและวุ่นวายที่สุด
2. Write Logic Support Answer
ขั้นนี้เป็นการคัดเอาข้อมูล Insight มาวิเคราะห์และสังเคราะห์จนได้ Facts ออกมาทั้งหมด… แล้วเลือกเอาเฉพาะ Facts ที่จะพาไปถึงคำตอบ หรือ Answer ออกมาทำตัวแปรในโครงสร้างข้อมูล… โดยส่วนตัวผมชอบเทคนิคการสร้างปิรามิดคำถาม หรือ Question Pyramid ขึ้นมาทำ LSA หรือ Logic Support Answer… ซึ่งผมเลือกใช้เทคนิคนี้จากการผสมแนวคิด Start with Why ของ Simon Sinek เข้าไปครับ!
3. Support Arguments with Evidence Based Data
การหาคำตอบให้ประเด็นถกเถียงโต้แย้ง คือโอกาสในการพัฒนา Message หรือสาร ที่ยังเหลือ “คำถามที่ยังไม่มีคำตอบ” ซึ่งข้อโต้แย้งโดยทั่วไปจะเป็นคำถามที่พิเศษกว่าคำถามที่ต้องการคำตอบธรรมดา การตอบข้อโต้แย้ง หรือการเข้าใจข้อโต้แย้งที่ฝังอยู่ในสาระของข้อมูลและสาร จึงต้องการ “คำตอบเป็นพิเศษ” ตามไปด้วย… และการหาคำตอบเป็นพิเศษ ต้องการเพียง “หลักฐานเชิงประจักษ์ หรือ Evidence Based Data” มาอธิบายคำตอบเพิ่มเติมเพื่อลบคำถามออกให้เหลือแต่ Insight
4. Hook First, Introduction
ขั้นนี้จะเป็นการหาทาง “สรุปย่อให้เหลือสั้นๆ” ของ SCQA Model ที่สมบูรณ์ทั้งข้อมูลและข้อเท็จจริงแล้วซึ่งทั้งหมดถูกเรียกว่า “รายละเอียด” ที่ขั้นนี้ต้องนำมาสรุปย่อให้สั้นลงมากที่สุด แล้วเอาสรุปย่อฉบับสั้นที่สุดแล้ว… ไปทอนให้เหลือสั้นๆ แต่มี Message “เพื่อทราบ” อยู่ใน Message ที่ถูกทอนให้เหลือสั้นๆ นั้น… เทคนิคสำคัญในการตัดทอน “สรุปย่อให้เหลือสั้นๆ” ไม่ได้อยู่ที่การรักษาข้อมูลให้ครบถ้วน แต่เป็นการชี้นำให้ค้นหาข้อมูลในรายละเอียดต่อ… ซึ่งทั้งหมดหาได้ใน “Keyword” ในคำถามและข้อโต้แย้งเป็นส่วนใหญ่
5. Storytelling and Graphic Design
ขั้นสุดท้ายเป็นลำดับของการเตรียมออกแบบการส่งสารหรือการนำเสนอข้อมูลให้เป้าหมาย… ซึ่งหลักก็คือการทำให้เป้าหมายหรือผู้รับสาร “รู้เรื่องและเห็นภาพที่เล่า” ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกเตรียมแบบ Storyboard เป็น Slide ทั้งเพื่อลำดับเรื่องราวนำไปสู่งาน Production อื่นๆ เช่นเอาไปถ่ายทำเป็นภาพยนต์ หรือไม่ก็เอาไปฉายขึ้นจอประกอบการบรรยายหรือเล่าเรื่องตรงๆ… หลายวันก่อนผมเคยเขียนนำเสนอไปแล้วในบทความเรื่อง Graphics with Storytelling… พลังในการนำเสนอ ถ้าท่านยังไม่ได้อ่านก็แนะนำให้คลิกกลับไปอ่านได้เลยครับ
การเอา SCQA ที่สร้างขึ้นจาก Pyramid Principle ไปใช้จะมีประมาณนี้ครับ ตัวเทคนิคโดยละเอียดจะมีมิติมากกว่าที่ผมอธิบายไว้ในบทความนี้หลายเท่า… และถ้าท่านสนใจรายละเอียดจริงๆ แนะนำให้เข้าโปรแกรม Training กับ Minto Books International ดีที่สุดครับ… ส่วนในหนังสือ โดยรายละเอียดผมคิดว่าเหมาะกับแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเขียนรายงานการวิจัยเชิงธุรกิจมากกว่า การนำมาประยุกต์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น โดยเฉพาะวัตถุประสงค์ด้านการศึกษา
งั้น… ตอนหน้ามาลองจับคู่ Minto Pyramid Principle กับ Cone Of Experience ของ Edgar Dale เพื่อประยุกต์ใช้ทางการศึกษาดูหน่อย…
จะเป็นนวัตกรรมหรือคู่กรรม? โปรดติดตาม!
อ้างอิง