Gap Analysis

Business Gap Analysis… เทคนิคการวิเคราะห์ช่องว่างทางธุรกิจ #SaturdayStrategy

ช่องว่าง หรือ Gap ในนิยามทางกลยุทธ์โดยทั่วไปจะเป็นการพูดถึง “ช่องว่างรอการเติมเต็มเพื่อบรรลุเป้าหมาย” ซึ่งจะเกิดจุดอ้างอิงขึ้นสองจุดคือ จุดปัจจุบัน กับ จุดหมาย หรือ เป้าหมาย… ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่มีการพูดถึงเป้าหมายในทุกบริบทและปัจจัย ประเด็นที่กำลังพูดถึงมักจะตามมาด้วย “การวางแผน” อย่างไม่ต้องสงสัย… การพูดถึง Gap ในทางธุรกิจ หรือ ในเชิงกลยุทธ์องค์กร จึงเป็นการพูดถึง “แผน หรือ Plan” โดยปริยายอย่างไม่ต้องสงสัยด้วยเช่นกัน

ประเด็นก็คือ Gap หรือ Business Gap ไม่ใช่ของหายาก และ ส่วนใหญ่เป็น “ปัญหา” ที่ปรากฏอยู่ต่อหน้าต่อตาอย่างชัดเจนเสมอ ซึ่งหลายกรณีมีปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนมากมายหลายประเด็นจนชิน และ “คนใน” ล้วนมองข้ามไปทุกประเด็นได้ตลอดเวลาที่ผ่านมาด้วยซ้ำก็มี…

อย่างไรก็ตาม… เมื่อการพูดถึงช่องว่างทางธุรกิจ หรือ Business Gap รวมทั้งการ “ยกปัญหา” ที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จทุกกรณีมาพูดถึง… ซึ่งการพูดถึงทุกกรณีจะเป็นขั้นตอนการหาข้อมูล ศึกษารายละเอียด วิพากษ์วิจารณ์ และ ตั้งคำถามถึง Gap กับ เป้าหมายอยู่ในเนื้อ และ ถือเป็นการวิเคราะห์ช่องว่าง หรือ Gap Analysis โดยปริยายด้วย… 

ที่น่าสนใจก็คือ… Gap Analysis สำหรับหลายๆ ทีม หรือ หลายๆ องค์กรที่ยกขึ้นมาเป็นวาระใหญ่ประจำปี ในช่วงที่มีการเตรียมแผนปีต่อไป และ ยกขึ้นมาเป็นวาระพิเศษสำหรับการกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ลำดับถัดไป… หลายทีมจากหลายกรณีเป็นเรื่อง “ไม่สนุก” จนถึงขั้นบางทีม หรือ บางองค์กรขอใช้บริการบุคคลที่สามอย่างที่ปรึกษาทางธุรกิจก็มี… เพราะเนื้อแท้ของการพูดถึง Gap ก็คือการพูดถึง “ปัญหา–อุปสรรค” ที่ “คนใน” ส่วนใหญ่ล้วนมีส่วนได้ส่วนเสีย หรือ มีผลกระทบจนอาจถึงขั้นกลายเป็นแรงกระทบ และ แตกแยกภายในจนเละไปหมดก็ได้

แต่ไม่ว่าจะอย่างไร… การทำ Gap Analysis อันเป็นส่วนสำคัญของการกำหนดกลยุทธ์… การจัดสรรทรัพยากร และ การวางแผนปฏิบัติ หรือ Action Plan ยังคงสำคัญในการเข้าถึงรายละเอียดใน “ปัญหา–อุปสรรค” ที่ทีมและองค์กรต้องสะสาง จนรอยต่อระหว่างสถานะปัจจุบัน กับ สถานะความสำเร็จแต่ละ Gap ถูกเติมเต็มจนสามารถข้ามไปถึง Gap ต่อไปของเป้าหมายลำดับต่อไป

การทำ Gap Analysis ที่ควรจะทำจึงเป็นการวิเคราะห์หา “ตัวแปรย่อย” ใน “ปัญหา–อุปสรรค” ที่ถ่าง Gap ที่พบนั้น… แล้วจัดการแก้ปัญหา หรือ ลบอุปสรรคเหล่านั้นด้วยการจัดการตัวแปรย่อยทีละส่วน… โดยต้องไม่พยายามพอก “ปัญหา–อุปสรรค” ให้กลายเป็นปฏิมากรรมขนาดใหญ่ที่ไม่มีใครอยากข้องแวะ

ส่วนเครื่องมือวิเคราะห์… โดยส่วนตัวคิดว่า SWOT เอาอยู่ครับ!

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts