Alexander Osterwalder ผู้ถือเป็นบิดาแห่ง Business Model Canvas ที่ปัจจุบันกลายเป็นเครื่องมือธุรกิจที่มีการใช้งานและประยุกต์ใช้งานกันอย่างกว้างขวาง แพร่หลายและมีบทบาทอย่างสูงต่อธุรกิจและการลงทุน
แต่ในการบรรยายของ Alexander Osterwalder ในช่วงหลังๆ มานี้จะมีรายละเอียดลงลึกและพูดถึง Business Model Innovation จนหลายคนรู้แล้วว่า… Life Long Learning มันแปลว่าต้องเรียนรู้ตลอดเวลาไปชั่วชีวิต!!! เพราะเดี๋ยวก็มีอะไรใหม่ๆ มาให้เรียนรู้เต็มไปหมด
งานเขียนของ ดร.กุลบุตร โกเมนกุล ที่เว็บไซต์สมาคมผู้สื่อข่าวไทยจีนได้พูดถึง BMI หรือ Business Model Innovation ไว้อย่างน่าสนใจว่า…
การเกิดนวัตกรรมของสินค้า มาจาก 2 สาเหตุหลักคือ
1. การผลักดันทางเทคโนโลยี หรือ Technology-Push รวมทั้งเกิดจากการใช้เทคโนโลยีที่เพิ่มมากขึ้น
2. นวัตกรรมที่เกิดจากแรงดึงดูดของตลาด หรือ Market-Pull เช่นความต้องการใหม่ๆ หรือความต้องการที่ยังไม่รู้ว่าคืออะไร
ประเด็นสำคัญจึงมีอยู่ว่า… ทุกครั้งที่ท่านออกแบบธุรกิจใหม่ หรือ Reform ธุรกิจเดิมบน BMC หรือ Business Model Canvas… ด้วยคำว่าใหม่หรือ New และ Reform… เมื่อท่านใส่นวัตกรรมเข้าไปในโมเดลธุรกิจของท่าน ท่านย่อมจะได้ New and Reform โดยปริยาย
คำถามคือ… นวัตกรรมจะมาอย่างไร?
ตรงนี้เราจะกลับไปเอาหลักการเกิดนวัตกรรม 2 สาเหตุที่อาจารย์กุลบุตรแนะนำไว้มาใช้ครับ… เอาเทคโนโลยีบวกกับความต้องการของลูกค้า
โดยความเห็นส่วนตัวผมมองว่า… เทคโนโลยีไม่ใช่เรื่องยาก แต่การรู้ความต้องการของลูกค้าจริงๆ เป็นเรื่องยากกว่ามาก… ยิ่งการรู้ความต้องการของลูกค้าชนิดที่ลูกค้าเองยังไม่รู้ว่าต้องการแบบนี้ เหมือนเมื่อครั้ง Steve Jobs รู้ว่าลูกค้าไม่ได้อยากได้โทรศัพท์แบบมีปุ่ม… จนสุดท้ายคนขายโทรศัพท์แบบมีปุ่มโดน Disrupted ไปหมดโลก

ซึ่งประเด็นความต้องการของลูกค้าที่แท้จริง มีคำกล่าวที่ลือลั่นโดย Professor Theodore Levitt ที่บอกว่า… People don’t want to buy a quarter-inch drill. They want a quarter-inch hole… ลูกค้าไม่ได้ต้องการสว่านเจาะรู 1/4 นิ้ว แต่พวกเขาต้องการแค่รูขนาด 1/4 นิ้วต่างหาก…
กลับเข้าประเด็น BMI หรือ Business Model Innovation ที่เป้าหมายแท้จริงคือการสร้างมูลค่าและความมั่งคั่งใหม่ สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างผู้ถือหุ้นและพนักงาน รวมถึงลูกค้าและบริษัท เพื่อเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ โดยสร้างการเปลี่ยนแปลง อย่างน้อยหนึ่งมิติ ทางด้านธุรกิจ
นวัตกรรมทางธุรกิจจำเป็นมาก สำหรับการแข่งขัน และยังส่งผลต่อการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งนวัตกรรมทางธุรกิจ ได้รับความสนใจจากผู้บริหารระดับสูงมากมาย มีงานศึกษาจากบริษัท IBM ในปี 2008 โดยทำการสัมภาษณ์ CEOs จำนวนหนึ่งพบว่า 69% ของบริษัทจำกัด ให้ความสนใจเกี่ยวกับนวัตกรรมทางธุรกิจอย่างมาก
ไอเดียเรื่องการสร้าง Innovation ให้สินค้าและบริการ ในงานเขียนของอาจารย์กุลบุตรแนะนำว่า… อาจใช้วิธีทำให้สินค้าและบริการ เกิดความแตกต่างอย่างโดดเด่น หรือเพิ่ม Options ต่างๆ ให้กับสินค้าและบริการ
แต่ BMI หรือ Business Model Innovation หรือ นวัตกรรมโมเดลธุรกิจจะต่างออกไป… Alexander Osterwalder จึงให้ความสำคัญกับประเด็นนี้และอธิบายว่า
Business Model Innovation มีรูปแบบ Innovation หลักๆ 3 แบบคือ
1. Efficiency คือการเน้นที่การปรับ Business Process หรือ Embrace technology เพื่อเพิ่มประสิทธิผล
2. Sustaining คือการใช้ Marketing, Technology เพื่อรักษาสมดุลธุรกิจ
3. Growth คือการสร้าง Business model และ Value Proposition ใหม่แทนที่ของเดิม
ความจริงมีงานวิจัยและกรณีศึกษามากมายเกี่ยวกับ BMI แต่หลายประเด็นก็ได้กลายเป็น New Normal ไปอย่างรวดเร็ว อย่างกรณีของแนวคิด Decentralized Management หรือแม้แต่ E-commerce หรือ Social Commerces ก็ตาม… ซึ่งในทัศนของผมถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็นกระพี้มากกว่าแก่น

โดยส่วนตัวผมเห็นว่า… เมื่อไหร่ก็ตามที่ท่านเจอ Value Proposition ใหม่ใน BMC… ท่านได้เจอ BMI ในโมเดลนั้นแล้ว… และเมื่อไหร่ท่านค้นพบ Sustaining Model ใน BMC… ท่านได้เจอ BMI ในโมเดลนั้นแล้ว… และเมื่อไหร่ที่ท่านเจอ Efficiency Process Model ใหม่ใน BMC… ท่านเจอ BMI ในโมเดลนั้นแล้วเช่นกัน
ความจริงรายละเอียดเรื่อง BMI ยังมีอีกมากที่ผมมองว่า… มีพัฒนาการเพิ่มเติมจากแนวคิดการประยุกต์ใช้งานอันหลากหลายที่รูปแบบและชื่อเรียกอาจจะแตกต่างออกไป… ถ้าท่านเพิ่งรู้จักหรือเริ่มศึกษาใหม่ก็ไม่ต้องงงหรอกครับ… Concept และ Mindset เรื่อง BMI ยังจะแตกหน่อต่อกอไปอีกมาก
Welcome to Lifelong Learning!

อ้างอิง