ในแผนการจัดการโลกร้อนผ่านนโยบายการควบคุมคาร์บอน และ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งทั่วโลกตื่นตัว และ ยอมรับปัญหา กับ หนทางแก้ไขไปในทิศทางเดียวกันในประเด็นปัญหาเหมือนกันหมด ขัดแย้งแตกต่างกันบ้างก็เป็นเรื่องกรอบเวลาในการจัดการให้เรียบร้อยเป็นส่วนใหญ่… โดยมีการสร้างมาตรฐานในการวัดเทียบปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ และหรือ ก๊าซเรือนกระจกที่องค์กรหลักๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ปลดปล่อยออกมา โดยบันทึกและจัดทำ “บัญชีก๊าซเรือนกระจก หรือ Carbon Accounting” ซึ่งประเทศไทยผูกพันธ์การจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย หรือ Thailand Greenhouse Gas Emissions Inventory System หรือ TGEIS ซึ่งเป็นการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ของ 5 ภาคส่วน ประกอบในรายงานความก้าวหน้ารายสองปี เพื่อรายงานต่อสำนักเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ UNFCCC
Carbon Accounting หรือ บัญชีคาร์บอน หรือ การทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก ถือเป็นเครื่องมือหลักในการซื้อขายคาร์บอนเครดิตเพื่อให้องค์กรที่หลีกเลี่ยงการสร้าง Carbon Footprint ใส่ชั้นบรรยากาศโลกไม่ได้ สามารถดำเนินการต่อไปได้ด้วยเครดิตคาร์บอนจากผู้ขายคาร์บอนเครดิตที่ถูกรับรองทางบัญชีแล้ว… แต่ข้อโต้แย้งความน่าเชื่อถือของ Carbon Accounting หรือ บัญชีคาร์บอนในปัจจุบันก็ยังถือว่า… สับสนอลหม่านเหมือนการโต้เถียงเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ระดับหมาบ้านเธอฉีกถุงขยะบ้านฉัน ไปจนถึงการโต้วาทีของทูตพิเศษด้านสิ่งแวดล้อมจากประเทศต่างๆ ในที่ประชุม UNFCCC ที่พาดพิงกันออกสื่อแล้วก็จับไม้จับมือคุยกันนอกรอบเพื่อแบ่งที่ยืนให้กันอยู่ดี

ในทางปฏิบัติ… มีความเคลื่อนไหวในกลุ่มสตาร์ทอัพด้าน Carbon Accounting ที่น่าสนใจมากมายที่จะเข้ามาเป็นผู้เล่นในกลไกการค้าคาร์บอนเครดิต โดยข้อมูลจากคุณต้องหทัย กุวานนท์ จาก Aimspire ชี้ว่า… การทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก หรือ Carbon Accounting ในระดับองค์กรถือว่าเป็นกระบวนการที่มีขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อน โดยเริ่มด้วยการกำหนดกรอบการทำโครงสร้างข้อมูล การเก็บข้อมูล การคำนวณค่าก๊าซเรือนกระจก และ การรายงานข้อมูล… ซึ่งการรายงานข้อมูลในปัจจุบันยังมีข้อโต้เถียงกันอยู่มากเรื่องความแม่นยำ ความน่าเชื่อถือ และ มาตรฐานที่ยังไม่ดีพอจนทำให้เกิดคำครหาว่ามีการทำข้อมูลขึ้นมาเพื่อฟอกเขียว และ กำลังกลายเป็น Pain Point ขององค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องส่งรายงาน Carbon Accounting คู่กับงบการเงินประจำปีตามระเบียบใหม่ที่หน่วยงานกำกับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย… ต่างก็ออกกฏเพิ่มเติมมาบังคับบริษัทจดทะเบียนให้ส่ง Carbon Accounting หรือ Enterprise Carbon Accounting ด้วย
ส่วนการสร้างมาตรฐานด้านข้อมูลเพื่อการทำ Carbon Accounting ที่เป็นมาตรฐานนั้น… มีความเคลื่อนไหวของกลุ่มทำงานด้านสิ่งแวดล้อมมากมายที่ผมขอข้ามที่จะออกนาม… เพราะมีข้อมูลตรวจสอบย้อนกลับได้ไม่น่าเชื่อถือเยอะมาก… รวมทั้งการก่อตั้งสตาร์ทอัพด้าน ClimateTech มากมาย และ มีเงินลงทุนไหลเข้าทั้งรอบ SEED และ Series A กันไปแล้วเยอะมาก… โดยมีผู้เล่นรายใหญ่ในธุรกิจข้อมูลอย่าง Salesforce… Accenture และ MicroSoft มีชื่ออยู่ในกลุ่มทำ ClimateTech และ Carbon Accounting ด้วย
ส่วนมาตรฐานกลางที่ใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการทำ Carbon Accounting ในปัจจุบัน… หลักแรกก็คงต้องยึด ISO 14064 และ Carbon Trust Standard
ประมาณนี้พอเป็นข้อมูลเริ่มต้นครับ!
References…