Carbon Capture and Storage

CCS… เทคโนโลยีการดักจับและจัดเก็บคาร์บอน #GreenEconomy

เทคโนโลยีที่โรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลก กำลังเคลื่อนไหวเพื่อต่ออายุการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเก่าแก่อย่างถ่านหิน ให้ยืนยาวออกไปในวันที่ภาวะโลกร้อนกลายเป็นข้อเท็จจริงที่ “ถ่านหินกลายเป็นจำเลยสำคัญ” ในระบบนิเวศมานาน ในขณะที่ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินยังถือว่า “ถูก และ มีส่วนเพิ่มต้นทุนในกลไกทางเศรษฐกิจน้อยกว่า” เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าแบบอื่นๆ ทั้งหมดก็ว่าได้

เทคโนโลยีที่โรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลกใช้อัพเกรดเพื่อลบปมด้อยเรื่องก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 จากการเผาถ่านหินต้มน้ำเอาไอดง หรือ ไอน้ำยิ่งยวดเพื่อใช้กับเครื่องกังหันไอน้ำ หรือ Steam Turbine ก็คือ… เทคโนโลยีการดักจับและการจัดเก็บคาร์บอน หรือ Carbon Capture and Storage หรือ CCS… หรือ การดักจับและการแยกเก็บคาร์บอน หรือ Carbon Capture and Sequestration

การดักจับและการจัดเก็บคาร์บอน หรือ CCS เป็นกระบวนการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ CO2 ที่เป็นของเสียจากแหล่งกำเนิดขนาดใหญ่อย่างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ก่อนจะถ่ายเทไปยังสถานที่จัดเก็บ และ กักเก็บไว้ในที่จัดเก็บที่ออกแบบไว้ เพื่อไม่ให้ CO2 ปนเปื้อนชั้นบรรยากาศ… โดยในทางเทคนิคมักจะถ่ายเท CO2 ที่ดักจับได้ไปกักไว้ในโพรงธรรมชาติใต้เปลือกโลก หรือ Geological Formation… หรือที่เรียกว่า “อัดควันลงดิน” เพื่อให้เปลือกโลกช่วยรีไซเคิล CO2 เหล่านั้นให้… ซึ่งนอกจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน รวมทั้งโรงงานอุตสาหกรรมหนัก และ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ต้องใช้ถ่านหินแล้ว… โรงงานขนาดใหญ่ที่ปลดปล่อย CO2 จากการเผาไหม้ใดๆ เพื่อใช้ความร้อนปริมาณสูงในขบวนการผลิต เช่น โรงงานถลุงเหล็ก ก็สามารถใช้เทคโนโลยีนี้ในการ “ลดการปล่อย CO2 ขึ้นชั้นบรรยากาศ” ได้เหมือนกันหมด

แต่เดิม “การอัดควันลงดิน” ถูกใช้เพื่อการขุดเจาะน้ำมันแบบที่เรียกว่า  Enhanced Oil Recovery หรือ การทำ EOR กันมานานหลายทศวรรษ และ ใช้กันอย่างอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปีโตเลียม แต่การประยุกต์ใช้เชิงสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจนเริ่มขึ้นที่โครงการ IEA GHG Weyburn-Midale CO2 Monitoring and Storage Project หรือ Weyburn-Midale Carbon Dioxide Project ในเขต Midale, Saskatchewan ประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นพื้นที่บ่อน้ำมันเก่า Midale ครอบคลุมพื้นที่  52,000 Acres หรือราว 210 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใต้ดินที่เคยเป็นสายธารนำมันได้ถูกสูบไปกลั่นจนเหลือแต่โพรงร้างใต้ดิน… หลังจากความพยายามใช้เทคนิคการอัดควัน หรือ อัด CO2 ลงดินเพื่อผลิตน้ำมันให้ได้มากที่สุด… ก็นำไปสู่การอัด CO2 จากโรงแยกก๊าซ Dakota Gasification Company ลงในแหล่ง Weyburn เพื่อกักเก็บ CO2 ถึงวันละราว 5,000 ตัน… และ การอัด CO2 จากโรงแยกก๊าซ Cenovus ลงในแหล่ง Midale เพื่อกักเก็บ CO2 วันละราวกว่า 6,500 ตัน และยังมีCO2 จากโรงกลั่นของ Apache Canada ถูกอัดลงในแหล่ง Midale เพื่อกักเก็บ CO2 อีกวันละราวกว่า 1,500 ตันด้วย

ส่วนกรณีศึกษาฝั่งโรงไฟฟ้าถ่านหินนั้น… ดูเหมือนโรงไฟฟ้า SaskPower ในแคนาดาก็ปรับใช้ การดักจับและการจัดเก็บคาร์บอน หรือ CSS หรือ การอัดควันลงดินจนประสบกความสำเร็จเช่นกัน… รวมทั้งโครงการ Kemper Project ใน Kemper County, Mississippi ก็มีการใช้เทคนิค CCS จัดการ CO2 ส่วนเกินจนนำมาสู่ “นโยบายและแนวทางระดับโลก” ในปัจจุบัน

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts