Data Flow

CEO Dashboards #ExtremeLeadership

ภูมิทัศน์ทางธุรกิจและการจัดการในยุคที่ “ความไม่แน่นอนเกิดขึ้นแน่นอน” กับทุกรายละเอียดที่เกี่ยวพันกับความสำเร็จล้มเหลวในยุคดิจิทัล โดยธุรกิจยังต้องจัดการด้วยการกำหนดเป้าหมายทิศทาง และ ระบุการใช้ทรัพยากรเพื่อผลักดันความสำเร็จ โดยมีผู้นำสูงสุดของคณะผู้บริหาร หรือ Chief Executive Officer หรือ CEO เป็นกลไกการตัดสินใจที่สำคัญ และ สัมพันธ์โดยตรงกับเป้าหมายหลักขององค์กร

ประเด็นก็คือ โดยฐานะและตำแหน่ง CEO จะมีหน้าที่รับผิดชอบในผู้ดูแลทุกแง่มุมขององค์กรธุรกิจในความรับผิดชอบ ตั้งแต่วัฒนธรรมองค์กรและทรัพยากรมนุษย์ ไปจนถึงกลยุทธ์ทางการเงินและการตลาด ซึ่งไม่ว่าองค์กรธุรกิจที่ดูแลอยู่จะคนเก่งและหัวกะทิมากมายให้ใช้สอยและช่วยเหลือ แต่สุดท้ายท้ายสุดจริงๆ ก็ยังไม่พ้นความรับผิดชอบของผู้นำสูงสุดในคณะทำงานอย่าง CEO อยู่ดี

CEO ในยุคดิจิทัลผู้ต้องไวต่อข้อมูลข่าวสารในยุค Realtime ซึ่งการรอประชุมชี้แจงและอ่านแฟ้มเป็นตั้งๆ เหมือนในอดีตเพื่อขบคิดและสั่งการ ได้กลายเป็นกับดักความล่าช้าถึงขั้นอาจจะ “ดัก ได้แค่ ดาน” จนติดอยู่กับอดีตไกลกว่าเป้าหมายส่วนใหญ่ซึ่งอยู่ในอนาคตที่แวดล้อมด้วยบริบทแบบดิจิทัล

CEO ในยุคดิจิทัลจึงจำเป็นต้องมี “ข้อมูลสำคัญ และ ข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจเป็นประจำ” แบบ Realtime กว่ายุคเลขาเล่าข่าว หรือ ยุคตัดข่าวหนังสือพิมพ์สอดแฟ้มติดมาร์คเกอร์… ซึ่งมีช่องว่างให้เกิดการรอเพื่อให้ถึงเวลาเฉพาะสำหรับการเห็นข้อมูล… CEO จึงต้องการข้อมูล Realtime อยู่ใกล้ตัว หรือ อยู่กับตัวตลอดเวลา ซึ่งการขบคิดและสั่งการจะตัดสินใจด้วยข้อมูลที่เป็นปัจจุบันที่สุด โดยเครื่องมือทางข้อมูลสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะ CEO จะใช้ชื่อเรียกเดียวกันหมดว่า Executive Dashboard หรือ CEO Dashboard

ในทางเทคนิค… CEO Dashboard เป็นเครื่องมือทางข้อมูลแบบรายงานสถานะของข้อมูลสำคัญที่ต้องเฝ้าระวัง หรือ Monitor เพื่อติดตามสภาพของสถานการณ์ที่สะท้อนเป็นข้อมูลเหล่านั้นออกมา ซึ่งทั้งหมดจะถูกออกแบบขึ้นเพื่อรายงานแบบ “แจ้งให้ทราบ”

การมี Realtime Dashboard เอาไว้ประกอบการขบคิดและสั่งการ จึงรับประกันการถูกปิดหูปิดตา และ ข้อมูลบิดเบือน อันเป็นจุดอ่อนสำคัญของนักบริหารและผู้นำองค์กรมากมายในอดีต ที่มักจะเห็นความลังเลและการขาดความเชื่อมั่นต่อคนรอบข้าง จนผู้นำบางส่วนมีพฤติกรรมน่ารังเกียจจนกลายเป็นเรื่องนินทาลับหลังมากมาย

คำถามคือ… ถ้าอยากใช้ Dashboard เป็นเครื่องมือรับประกันข้อมูลบิดเบือน หรือ ข้อมูลมือสองจากลูกน้องหรือทีมงานต้องทำอย่างไร… หลักๆ ที่ต้องทำและจำเป็นต้องมีก่อนก็คือ Data Flow หรือ กระแสข้อมูลในองค์กรที่จำเป็นต้องหมุนเวียนสะท้อนข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องทั้งหมด… ที่เหลือก็หาโปรแกรมเมอร์ หรือ บริษัททำซอฟท์แวร์มาแปลงข้อมูลให้เป็นรายงานแบบที่ท่านต้องการและเข้าใจง่าย… เท่านั้นเอง

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts