อุตสาหกรรมเคมีเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้กระบวนการทางเคมี และหรือ ฟิสิกส์ต่างๆ หลายอย่างเพื่อเปลี่ยนวัตถุดิบไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ ทั้งวัตถุดิบที่เป็นของแข็งหรือแร่ธาตุต่างๆ ไปจนถึงของเหลว ก๊าซ รวมทั้งวัตถุดิบอาหารที่เป็นผลผลิตทางการเกษตรด้วย
อุตสาหกรรมเคมีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกจะเป็นการแปรรูป “ก๊าซธรรมชาติ” ด้วยสัดส่วน 53% ของอุตสาหกรรมเคมีทั้งระบบ และ รองลงมาคือของเหลวอย่าง “น้ำมัน” ด้วยสัดส่วน 44% โดยมีวัตถุดิบอื่นๆ นอกจากนั้นที่ถูกแปรรูปด้วยกระบวนการทางเคมีและใช้เคมีอุตสาหกรรมเพียง 3%
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีจึงมีประเด็นเชิงสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนให้พูดถึงกันไม่รู้จบ โดยเฉพาะกระบวนการใช้เคมีภัณฑ์แปรรูปในอุตสาหกรรมอื่นๆ รวมทั้งกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีอุปสงค์ต่อเนื่อง และนำใช้แบบ Take–Make–Dispose หรือ รับมา–ใช้ไป–ทิ้งให้หมด ซึ่งก่อผลกระทบมากมายเกินจะคาดถึงเมื่อเคมีภัณฑ์ทั้งที่ใช้งานแล้วกลายเป็นของเสียเคมี และ ที่เหลือใช้เพราะต้องมีเผื่อให้เกินปริมาณใช้จริงเสมอ… ล้วนตกค้างอยู่บนโลกที่ไหนสักแห่ง
แนวคิดในการใช้เคมีภัณฑ์แบบ Circular Chemistry หรือ CC ตามกรอบอุตสาหกรรม 4.0 และ Circular Economy หรือ CE จึงเป็นวาระเร่งด่วนที่นักวิทยาศาสตร์ และ นักอุตสาหกรรมจะต้องหาเครื่องมือและแนวทางมาจัดการเคมีภัณฑ์ที่มีใช้อยู่ให้ได้
ประเด็นก็คือ… เคมีภัณฑ์ในทางเทคนิค จะมีลักษณะเฉพาะของโครงสร้างทางเคมีที่ต้องใช้แนวคิดเชิงระบบเป็นรายกรณี เข้าไปจัดการวงจรเพื่อความยั่งยืนทั้งระบบ
ข่าวดีก็คือ… เคมีภัณฑ์ที่เป็นผลผลิตจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งมีปริมาณมากที่สุดนั้น เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่เข้าสู่ Circular Economy กันหมดแล้วทั่วโลก ซึ่งกรอบการขับเคลื่อน Circular Chemistry ก็เป็น Protocol หนึ่งในวาระเร่งด่วนในแผน Circular Economy อยู่แล้ว
ส่วนข่าวร้ายก็คือ… ผลผลิตจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีโดยเฉพาะพลาสติกแบบต่างๆ ยังตกค้างอยู่ในระบบนิเวศมหาศาล… ส่วนการใช้เคมีภัณฑ์ในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมอาหารนั้น จนถึงขณะนี้ก็ไม่มีแผนอะไรที่โดดเด่นเห็นชัดและเป็นไปได้…
References…