ในบรรยากาศการเรียนกลุ่มวิชา STEM ที่ผู้สอนมอบหมายกิจกรรมเชิงโครงการนอกเหนือจากที่มีในตำราเรียนหลัก และ มอบหมายเป็นภาระงานให้ “กลุ่มผู้เรียน” ไปร่วมกันทำโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์… กลุ่มผู้เรียนที่ได้รับมอบหมายงานทุกกรณีก็จะได้โอกาสที่จะ “ร่วมกันเรียนรู้ หรือ เรียนรู้ร่วมกัน” เพื่อเติมเต็มความสามารถ หรือ Abilities ในการทำให้โครงการที่กำลังทำ… กลายเป็นผลงานอย่างโดดเด่นเห็นชัด
การร่วมกันเรียนรู้ หรือ การเรียนรู้ร่วมกัน… ซึ่งแตกต่างกันบ้างโดยรายละเอียดในการตักตวงทรัพยากรทางการศึกษามาเติมเต็มทักษะ และ ประสบการณ์… แต่ทั้งหมดก็ยังเป็น “บรรยากาศกลุ่ม” ที่มีการแบ่งปันทรัพยากรภายในกลุ่มการเรียนรู้อย่างชัดเจน รวมทั้งการแบ่งปันความสำเร็จในหลายๆ มิติขององค์ความรู้ใหม่ที่กลุ่มนำไปสร้างผลงาน
ประเด็นก็คือ… การร่วมกันเรียนรู้ หรือ การเรียนรู้ร่วมกันจะถูกอธิบายด้วยกระบวนการ หรือ วิธีการเรียนรู้ร่วมกัน หรือ Collaborative Learning Method ซึ่งถือเป็นกระบวนวิธีที่นักการศึกษาถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎี ZPD หรือ The Zone of Proximal Development ของ Professor Lev Semyonovich Vygotsky หรือ Lev Vygotsky… ซึ่งอธิบายถึงพื้นที่องค์ความรู้ใหม่ที่คนๆ หนึ่งสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้อีก และ ได้อีกเรื่อยๆ ภายใต้ความช่วยเหลือที่ถูกเอื้อเฟื้อแบ่งปันจากสมาชิกกลุ่มที่มี หรือ สนใจองค์ความรู้ และหรือ ประสบการณ์ใหม่นี้ร่วมกัน… โดยพื้นที่ หรือ Zone ที่ว่านี้จะอยู่ระหว่างองค์ความรู้ที่เรียนรู้ได้ด้วยตัวเองโดยง่าย กับ องค์ความรู้ที่ยากจะทำความเข้าใจ หรือ ยากจะได้เข้าไปมีประสบการณ์ร่วม
ก่อนอื่น… ยังมีความสับสนในการตีความเกี่ยวกับ Collaborative Learning กับ Cooperative Learning… โดยรายละเอียดในการตักตวงทรัพยากรทางการศึกษาของ Cooperative Learning จะเน้นการแบ่งปันทรัพยากรโดยกลุ่มเพื่อให้บุคคลได้ใช้ประโยชน์… ในขณะที่รายละเอียดในการตักตวงทรัพยากรทางการศึกษาในขอบเขต Collaborative Learning จะเน้นการประยุกต์ใช้ทรัพยากรที่กลุ่มช่วยกันเตรียมขึ้น ทั้งเพื่อการแก้ปัญหา และ เพื่อการสร้างสรรค์ชิ้นงานใหม่ๆ
ความน่าสนใจของ Collaborative Learning ที่ถูกพูดถึงอย่างมากในยุคที่เทคโนโลยีทางการศึกษาได้เข้ามามีบทบาทในการอุตสาหกรรมการศึกษาอย่างมาก… โดยมีสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนการสอนทีทำขึ้นเพื่อส่งมอบในพื้นที่การเรียนรู้ที่ใครๆ ก็สามารถเรียนรู้ได้ไม่ยาก แต่ก็ยากที่จะพัฒนาสื่อ และหรือ เตรียมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อตอบความต้องการองค์ความรู้ใน Zone of Proximal Development ซึ่งสื่อการเรียนรู้ และหรือ ทรัพยากรทางการศึกษาจากโซนที่ง่ายต่อการเรียนรู้… เป็นเพียงข้อมูลต้น หรือ วัตถุดิบในการสังเคราะห์องค์ความรู้โดยกลุ่มคนเท่านั้นเอง
โดยความเห็นส่วนตัวที่จะถกถึง Collaborative Learning ในวันที่เรามีเทคโนโลยีทางการศึกษา และ ทรัพยากรดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้มากมาย แต่ก็ยังไปไม่ถึง “การสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่” รวมทั้ง “การประยุกต์ใช้องค์ความรู้เพื่อจัดการปัญหา และ ความท้าทายใหม่” อันเนื่องมาจากทรัพยากรทางการศึกษาที่มีอยู่มากมายยังคงเป็นสารสนเทศ หรือ Information มากกว่าที่จะเป็นตัวแปร หรือ Variable… ซึ่งเทคโนโลยีอย่าง AI และ Robotics สามารถ Collaborate หรือ ร่วมมือกับผู้เรียนโดยเสนอแนะ หรือ ชี้แนะ “ทางเลือก” ในการนำใช้องค์ความรู้ที่มีอยู่เดิม ไปเติมองค์ความรู้ใน Zone of Proximal Development ให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากขึ้นโดยเร็ว
โดยส่วนตัวจึงเชื่อจริงๆ ว่า… เทคโนโลยี AI และ Robotics ในกิจกรรมการเรียนการสอนที่ควรโฟกัสที่สุดน่าจะอยู่ที่ Zone of Proximal Development โดยขับเคลื่อนด้วยกระบวนวิธี Collaborative Learning… ครับผม
References…