butterfly

Collecting and Shaping for VESPA Mindset… รวบรวมและเรียบเรียง

เป็นที่ทราบกันดีอยู่ว่า… ศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ดเป็นศตวรรษของข้อมูลและข่าวสาร ซึ่งส่วนหนึ่งของข้อมูลข่าวสารจะเป็นความรู้ และเมื่อนำความรู้หลายๆ อย่างมาประกอบกัน จนเป็นโครงสร้างความรู้ที่เชื่อมต่อกันอย่างมีระบบ องค์ความรู้นั้นจะอยู่ในขั้นประยุกต์ทันที… และคนที่ถือหรือเข้าใจองค์ความรู้ต่างๆ อย่างเป็นระบบ จะไม่ได้มีทักษะความรู้แค่ระดับจำหรือเข้าใจเท่านั้น เพราะพวกเขาจะมีความรู้ถึงขั้นประยุกต์ใช้ได้เท่าที่จินตนาการจะไปถึง

ยกตัวอย่างกรณีสูตรอาหาร ซึ่งแน่นอนว่าการรู้สูตรอาหารไม่ได้ทำใครเป็นเชฟได้… ต้องรู้จักวัตถุดิบอาหารในสูตร รู้แหล่งวัตถุดิบ เลือกเป็น มีเครื่องปรุง รู้จักตวงหรือกะสัดส่วนของวัตถุดิบและส่วนผสม รู้จักและใช้เครื่องครัวเป็น… ซึ่งแค่นั้นอาจจะไม่เพียงพอจะเป็นเชฟได้ด้วยซ้ำ เพราะยังไม่ได้พูดถึงทักษะ การประยุกต์และจินตนาการที่จะทุ่มให้เมนูที่ว่า ออกมาเป็นอาหารสุดพิเศษ

ในการออกแบบการเรียนรู้ผ่าน VESPA Model ก็เช่นเดียวกัน… ตำราหรือความรู้ที่อยู่ในรูปของสื่อ จึงไม่เพียงพอสำหรับผู้เรียนที่ต้องการผลลัพธ์การเรียนรู้ ไกลกว่าการได้เรียนเพื่อรู้และเข้าใจ แต่ผลลัพธ์ขั้นประยุกต์หรือขั้นบูรณาการ ไปจนถึงขั้นเติมจินตนาการ ถือว่าเกินขอบเขตของผู้สอน ที่จะเอื้อมมือเข้าไปส่งมอบปรับแต่งความรู้ความเข้าใจให้ผู้เรียนได้… เว้นแต่ผู้สอนจะกระตุ้นให้ผู้เรียนก้าวข้ามความรู้ความเข้าใจของตัวผู้เรียนเอง ให้สามารถรวบรวมความรู้หลายๆ อย่างมาประกอบกันเป็นผลลัพธ์ใหม่… เหมือนสูตรอาหาร บวกกับทักษะต้มผัดแกงทอด ทักษะการรวบรวมวัตถุดิบและเครื่องปรุง รวมทั้งความสามารถในการจัดหาเครื่องครัวและของใช้ช่วนปรุงอาหาร

ในหนังสือ The Student Mindset ของ Steve Oakes และ Martin Griffin ที่ขับเคลื่อน Learning Journey ผ่านโมเดลการเรียนรู้ชื่อ VESPA Model นั้น… โดยส่วนตัว! ย้ำว่าเป็นทัศนคติส่วนตัวครับ… จะให้น้ำหนักกับอักษรตัวที่สองในโมเดล คือ E หรือ Effort หรือความเพียร และในหนังสือบทที่ 3 Collecting and Shaping หรือการรวบรวมเรียบเรียบองค์ความรู้ ผู้คิดค้นโมเดลทั้งสองและ ได้วาง Effort ไว้ต่อจากการรวบรวมและเรียบเรียง ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่าง Vision หรือวิสัยทัศน์ที่ทราบเป้าหมายปลายทาง และรู้ว่าต้องการเรียนและรู้อะไรบ้าง… ซึ่งขั้นการรวบรวมเรียบเรียงในทางปฏิบัติ ก็คือขั้นการเสาะหา สืบค้นและจัดระเบียบความรู้ และทำความรู้ให้เป็นความเข้าใจ

ประเด็นก็คือ… ความยากในขั้นรอยต่อนี้ไม่ได้อยู่ที่ “เสาะแสวงสืบค้นและจัดระเบียบ” เพราะการเสาะแสวงสืบค้นและจัดระเบียบได้ครบถ้วนเพียงพอ ต้องการความเข้าใจ… ซึ่งการจะเข้าใจว่าต้องเสาะแสวงหาสืบค้นและจัดระเบียบอะไรบ้าง… ก็ต้องพอมีทรัพยากรเพื่อการเรียนรู้ที่หาเอาไว้ก่อน ค้นเจอมาก่อนและจัดแจงสะสมไว้ก่อนมาบ้าง… ซึ่งความย้อนแย้งแบบไก่กับไข่นี่เองที่หลายคนติดขัด เหมือนไม่มีไก่ไม่มีไข่เลยไม่มีไก่

ทางออกมีครับ… ในหนังสือ The Student Mindset เริ่มต้นบทของการรวบรวมและเรียบเรียงไว้ด้วยคำถามสำคัญ 5 ข้อเพื่อให้การประยุกต์ใช้ VESPA Model มีทั้งแม่ไก่ออกไข่และไข่ไก่รอฟัก… ให้รอยต่อของ VESPA Model ระหว่าง V–Vision กับ E–Effort ประสานเป็นเส้นทางสายเดียวกัน… คำถามทั้ง 5 ประกอบด้วย

  1. อะไรสำคัญที่สุดในบรรดาทรัพยากรทั้งหมดที่เรามี?
  2. เราจะจัดการและร้อยเรียงทรัพยากรทั้งหมดนั่นอย่างไร?
  3. ทรัพยากรทั้งหมดนั่นเชื่อมโยงกันอย่างไร?
  4. แก่นแนวคิดและหลักการที่สำคัญคืออะไร?
  5. ทรัพยากรทั้งหมดนั่นใช้งานร่วมกันอย่างไร?

ซึ่งคำว่าทรัพยากรในคำถามหมายถึงองค์ความรู้ที่มีอยู่ เสาะแสวงสืบค้นเพิ่มเติมได้จากโครงสร้างองค์ความรู้ที่เกี่ยวพันเชื่อมโยงกันอยู่… กรณีการได้สูตรขนมอบที่สนใจ โครงสร้างองค์ความรู้ที่เกี่ยวพัน ย่อมไม่เกี่ยวกับกะปิน้ำปลาฉันท์ใด การรวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องต่อการสานวิสัยทัศน์หรือ Vision… ผู้เรียนย่อมต้องเข้าใจเป้าหมายปลายทางของตนให้ชัดที่สุดก่อน และรวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องและนำมาจัดกลุ่มเรียงร้อย… เหมือนเชฟกำลังเตรียมวัตถุดิบและเครื่องปรุงก่อนทำอาหารนั่นเอง

แต่การเรียนรู้ไม่เหมือนการปรุงอาหารทั้งหมด…  เพราะเหตุที่ต้องเรียนรู้ เพราะยังไม่รู้ การตระเตรียมทรัพยากรการเรียนรู้จึงต้องมีที่ปรึกษาอย่างครูอาจารย์คอยชี้แนะและ “ช่วยตระเตรียมทรัพยากรการเรียนรู้” ซึ่งเป็นงานของผู้สอนสมัยใหม่ โดยเฉพาะการสอนเด็กโตและผู้ใหญ่ที่เข้าใจและชัดเจนกับ Vision ส่วนของตัวเองค่อนข้างชัดแล้ว

ตอนหน้าจะพาไปรู้จักกับการทำแผนที่ในอาณาจักรความรู้ใหม่ที่กำลังรอคอยผู้เรียนอยู่…

บทความชุด VESPA Mindset ถอดความจากหนังสือ The Student Mindset ตอนอื่นๆ
  1. Vespa Mindset
  2. Students’ Vision and Attitude… จุดเริ่มต้นของ VESPA Model
  3. 15 Possible Motivations… พลังงานขับเคลื่อนพฤติกรรมการเรียนรู้
  4. 5 Roads of Vision Activity
  5. The Roadmap of Vision for Student Mindset
  6. Weekly Rule of Three… เมื่อความเพียรสำคัญต่อความสำเร็จ

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts