Comparing Anxiety… หวั่นไหวในสิ่งที่คนอื่นมี #SelfInsight

การเปรียบเทียบสิ่งที่ตนมีกับสิ่งที่ผู้อื่นมี และ จิตปรุงแต่งถึงสิ่งที่อยากมีเหมือนที่คนอื่นๆ เขามี… ในทางจิตวิทยาถือว่าเป็นธรรมชาติระดับสัญชาตญาณที่มีร่องรอยให้เห็นมาตั้งแต่วัยเตาะแตะ ซึ่งเด็กวัยหัดเดินส่วนใหญ่ก็มักจะสนใจของเล่นในมือเด็กคนอื่น และ แสดงพฤติกรรมอยากมีอยากได้ออกมาให้เห็นอย่างโจ่งแจ้งเสมอ ซึ่งการเติบโตแก่เฒ่าของคนๆ หนึ่งจะไม่สามารถลบ หรือ เปลี่ยนสัญชาตญาณพื้นฐานส่วนนี้ให้หายไปไหน เพียงแต่การเติบใหญ่แก่เฒ่าสำหรับคนที่ถูกพัฒนาความคิดและสติปัญญามาอย่างถูกต้อง ก็จะมีวิจารณญาณที่เหมาะสมต่อ “สิ่งที่ตนมี และ สิ่งที่ผู้อื่นมี” อย่างเข้าใจตามวุฒิภาวะ… แต่ความตึงเครียดในความคิดจิตใจที่มาจากการเปรียบเทียบถึง “สิ่งที่ตนมี และ สิ่งที่ผู้อื่นมี” สำหรับคนส่วนใหญ่ก็ยังเกิดขึ้นอยู่เสมอ… โดยเฉพาะการเปรียบเทียบปัญหาที่เกิดกับตน เทียบกับ ปัญหาแบบเดียวกันที่ไม่เคยเกิดกับคนอื่น

Leon Festinger ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาสังคมชาวอเมริกันเจ้าของ ทฤษฎีความไม่สอดคล้องกันของความรู้คิด หรือ Cognitive Dissonance Theory และ ทฤษฎีการเปรียบเทียบทางสังคม หรือ Social Comparison Theory ซึ่งได้อธิบายความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของคนเรานั้นมาจาก “การเปรียบเทียบความสามารถ และ ความสำเร็จ” ของตนกับผู้อื่น และ คนส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเปรียบเทียบตนเองกับคนใกล้ชิด หรือ คนรู้จัก หรือ คนในแวดวงสังคมเดียวกัน

ในมุมมองของ Leon Festinger จึงอธิบายการเปรียบเทียบทางสังคมผ่านมุมมองของวิวัฒนาการของชีวิต… ซึ่งการเปรียบเทียบทางสังคมไม่เพียงแต่ช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรมของตนเองเท่านั้น แต่ยังช่วยเรากำหนดและพิสูจน์ทราบว่าเราเป็นใคร และทั้งหมดจะผลักดันให้เราปรับปรุงตนเอง และ ยกระดับตามคนที่เราเห็นว่ามีความสามารถตามแบบอย่างที่เราอยากจะเป็น… 

ปัญหาก็คือ… คนส่วนใหญ่มักจะเปรียบเทียบ “ความสามารถ และ ความสำเร็จ” ของตนกับคนที่มีความสามารถ และ ความสำเร็จที่ตนไม่สามารถปรับปรุง และ ยกระดับให้เทียบเท่าได้ง่ายจนกลายเป็นความหวั่นวิตกทุกข์ร้อนในความคิดจิตใจ… ซึ่งกดดันอารมณ์ความรู้สึก และ อาจจะกระทบถึงการนับถือตนเองได้ด้วย

ถึงตรงนี้… การเปรียบเทียบสิ่งที่ตนมีกับสิ่งที่ผู้อื่นมี และ จิตปรุงแต่งถึงสิ่งที่อยากมีเหมือนที่คนอื่นๆ เขามี… ซึ่งถูกอธิบายผ่านมุมมองเชิง “วิวัฒนาการของชีวิต” อันจำเป็นต่อการรู้เท่าทันตัวตนของตนผ่านการเปรียบเทียบความสามารถผ่านความสำเร็จของตนกับผู้อื่น โดยใช้ข้อเท็จจริงที่เปรียบเทียบได้มาสร้าง “การนับถือตัวเอง” ก่อน… โดยเฉพาะ “ก่อน” ที่จะไปอยากมี หรือ อยากได้ความสำเร็จจาก “ความสามารถ และ ความสำเร็จ” ของผู้อื่น ซึ่งจะทำลายความภาคภูมิใจ และ ความนับถือที่ตนมีให้ตน!

References… 

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts