Competency Based Assessment

Competency Based Assessment… ประเมินตามความสามารถ #ReDucation

หลักสูตรฐานสมรรถนะ หรือ Competency Based Curriculum ที่กระทรวงศึกษาธิการหมายมั่นที่จะนำมาปฏิรูปการศึกษาครั้งสำคัญของประเทศในช่วงนี้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของหลายๆ ประเทศที่ตื่นตัวเรื่องการเรียนการสอน และ การพัฒนาผู้เรียนโดยพิจารณาตามความถนัด ความชอบ และ ศักยภาพของผู้เรียนเป็นหลัก แทนการใช้แนวทางการศึกษาด้วยหลักสูตรอิงมาตรฐาน หรือ Standard Based Curriculum ซึ่งยึดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายด้วยการกำหนดมาตรฐานและตัวชี้วัดตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือ รายวิชา เพื่อใช้อ้างอิงการออกแบบเนื้อหา และ กิจกรรมการเรียนการสอน โดยคาดหวังว่าจะต้องพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถจนบรรลุตามมาตรฐาน และ ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้… ทั้งความรู้ หรือ Knowledge… ทักษะ หรือ Skills รวมทั้งคุณลักษณะอันพึงประสงค์ หรือ Attitude… ซึ่งเห็นชัดว่าได้มาถึงทางตันอย่างสิ้นเชิงแล้ว

แต่ประเด็นการนำหลักสูตรฐานสมรรถนะ หรือ Competency Based Curriculum มาปรับใช้และยกเป็นแนวทางปฏิรูปการศึกษา… ข้อถกเถียงคลางแคลงและขัดแย้งจากหลายฝ่าย ซึ่งยังเข้าใจคลาดเคลื่อนตั้งแต่เรื่องความเข้มข้นของเนื้อหาสาระ หรือ Contents และ บริบทตามอัธยาศัยของผู้เรียน หรือ Personalized Learners ที่ยังเหลือคำถามและข้อโต้แย้งเป็นภาพ “ปล่อยปละละเลย หรือ ให้ผู้เรียนกำหนดเองได้ทุกอย่าง” ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับความยืดหยุ่นให้สอดคล้องกับคุณลักษณะ และ ระดับความสามารถ หรือ ความถนัดของผู้เรียน… ที่สำคัญก็คือ ตัวเนื้อหาสาระ หรือ Contents ต่างๆ ในหลักสูตรฐานสมรรถนะจะยังมีอยู่อย่างเข้มข้นไม่ต่างจากเดิม หรือ มากกว่าเดิมด้วยซ้ำ… เพียงแต่จะถูกจัดการด้วยแนวทาง และ กลยุทธ์ทางการศึกษาที่หลากหลายมากขึ้น โดยมีเทคโนโลยีทางการศึกษาหลายรูปแบบถูกนำมาปรับใช้บูรณาการร่วมกัน… แต่ทั้งหมดจะไม่ทำร้ายเด็กที่เรียนคณิตศาสตร์ได้ยอดเยี่ยม ด้วยการเอาไปเฉลี่ยกับคะแนนศิลปะที่เด็กวาดรูปงูกลืนช้างมาส่ง แต่ถูกหักคะแนนเรียบเพราะคนให้คะแนนมองยังไงก็เป็นหมวก…

ภาพจากวรณกรรมแปล: เจ้าชายน้อย

พูดถึง Competency หรือ ความสามารถ… ในทางเทคนิคถือว่าเป็นคนละเรื่องกับ “เรียนเก่ง หรือ เรียนได้คะแนนดี” ซึ่ง Competency ได้มองเลยเกณฑ์การให้คะแนน และ คะแนนที่ได้จากเกณฑ์แบบต่างๆ ไปถึงผลงาน หรือ ผลการปฏิบัติงานที่ออกมาดี หรือ ผลงานขั้น Superior Performer ตามแนวทาง Competency Based ของ David McClelland

David C. McClelland ผู้ริเริ่มการนำ Competency มาใช้ประเมินเจ้าหน้าที่ FSIOs หรือ Foreign Service Information Officer เป็นครั้งแรก ที่ The US State Department… ซึ่งจะว่าไปแล้ว ทั้งหมดเป็นแนวคิดการสอบประเมินทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร โดยวิธีการของ David C. McClelland ได้ศึกษาการประเมินตามความสามารถผ่านกระบวนการดังต่อไปนี้คือ…

  1. ทำการเปรียบเทียบเจ้าหน้าที่ที่มีผลการปฏิบัติงานดี กับ เจ้าหน้าที่ที่มีผลการปฏิบัติงานตามเกณฑ์เฉลี่ย
  2. สร้างเทคนิคการประเมินที่เรียกว่า Behavioral Event Interview หรือ BEI ซึ่งกำหนดให้ผู้ทำแบบทดสอบ ตอบคำถามเกี่ยวกับความสำเร็จสูงสุด 3 เรื่อง และ ความล้มเหลวสูงสุด 3 เรื่อง เพื่อค้นหาลักษณะพฤติกรรมของผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานดี หรือ Superior Performer
  3. วิเคราะห์คะแนนที่ได้จากการประเมินแบบ BEI ของเจ้าหน้าที่ 2 กลุ่ม เพื่อค้นหาลักษณะพฤติกรรมที่แตกต่างกันของบุคคล  2 กลุ่ม

David C. McClelland เรียกลักษณะพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดผลการปฏิบัติงานที่ออกมาดี หรือ Superior Performer นี้ว่า Competency และ ได้เสนอแนวคิดของเขาไว้ในบทความชื่อ  Testing for Competence Rather than Intelligence ซึ่งสรุปสาระสำคัญว่า “IQ ไม่ใช่ตัวชี้วัดที่ดีของผลงาน และ ความสำเร็จโดยรวม แต่ Competency กลับเป็นสิ่งที่สามารถทำนายความสำเร็จในงานได้ดีกว่า” 

ดังนั้นจึงเป็นที่ชัดเจนว่า “คนทำงานเก่ง” จึงไม่ได้หมายถึง “คนเรียนเก่ง” เพราะผู้ที่ประสบผลสำเร็จในการทำงาน ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวเอง เพื่อให้เกิดประโยชน์ในงานที่ตนทำซึ่งแสดงว่า นอกจากคนๆ นั้นจะมีความรู้ดีมากขั้นประยุกต์ใช้เป็นแล้ว ยังถือเป็นคนทำงานเก่งจนเห็นเป็นผลสำเร็จจากการทำงานเข้าขั้น Superior Performer  หรือ เป็นบุคคลผู้มีสมรรถนะอันพึงประสงค์ระดับทำงานเก่งนั่นเอง

การนำแนวคิด Competency มาใช้ออกแบบกลยุทธ์ทางการศึกษาภายใต้แนวคิดหลักสูตรฐานสมรรถนะ หรือ Competency Based Curriculum จึงเป็นแนวทางในการเตรียมคน หรือ ทรัพยากรมนุษย์ของชาติ เพื่อให้มีคุณสมบัติอันพึงประสงค์ระดับ Superior Performer นั่นเอง

ประเด็นก็คือ… Competency Based ในแนวทางของ David C. McClelland มีการใช้แบบประเมิน BEI หรือ Behavioral Event Interview ในสอบประเมินเพื่อค้นหาลักษณะพฤติกรรมของผู้ที่มีคุณสมบัติอันพึงประสงค์ระดับ Superior Performer… จากกลุ่มเป้าหมายด้วย

การวัดและประเมินผลผู้เรียนในกรอบ Competency Based Curriculum จึงมุ่งวัดความรู้เพียงอย่างเดียวไม่ได้อีก เพราะต้องมีการวัดประเมินผู้เรียนรอบด้านทั้งทักษะ และ คุณลักษณะต่างๆ ด้วยกรอบเดียวกันกับฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ที่องค์กรนายจ้างทำ เพื่อถอดเอาข้อมูลคุณสมบัติอันพึงประสงค์ระดับ Superior Performer ของแต่ละคนออกมาด้วย… การวัดและประเมินผู้เรียนในกรอบ Competency Based Curriculum จึงควรเน้นในเรื่องของสถานการณ์ กับ ประสบการณ์ และ เกณฑ์การวัดที่สอดคล้องขอบเขตสถานการณ์เป็นรายบุคคล

ตัวอย่างกรณีการประเมินความสามารถในการแก้ไขสถานการณ์ก็ดี หรือ การประเมินความสามารถระดับผลสำเร็จก็ดี… ในกรอบ Competency Based Curriculum จะมอบความยืดหยุ่นให้ผู้สอนมีอิสระในการออกแบบการเรียนการสอน และ การวัดประเมินผลให้สอดคล้องกันได้ดียิ่งขึ้น สามารถสร้างเกณฑ์จากการนำสมรรถนะที่อยากให้เกิดกับผู้เรียน มาแตกเป็นองค์ประกอบ หรือ ตัวบ่งชี้บน Rubric ที่ต้องการ และ สร้างเครื่องมือในการวัดประเมินผลได้อย่างหลากหลาย ทั้งการทดสอบ… การปฏิบัติ หรือ การลงมือทำ… การเฝ้าสังเกต… การสัมภาษณ์… แฟ้มสะสมผลงาน รวมทั้งการประเมินจากผลกระทบตามวัตถุประสงค์ต่อการแก้ไขสถานการณ์ หรือ ระดับและผลกระทบตามเกณฑ์ประสบความสำเร็จที่ระบุไว้ หรือ ระบุได้

รายละเอียดกว่านี้ขอไม่ลงแล้วน๊ะครับ เพราะส่วนใหญ่ต้องเล่าเป็นรายกรณี ซึ่งมีรายละเอียดเฉพาะเยอะมากๆ และผมเชื่อว่า… ทางข้างหน้ายังมีอะไรที่ต้องเรียนรู้ไปด้วยกันอีกมาก… ครับผม!

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts