ช่วงนี้ขออนุญาต Reder Fan สายธุรกิจและการตลาด ขอกั๊กประเด็นธุรกิจที่จะเขียนถึงเอาไว้ก่อน… เพื่อให้พื้นที่กับข้อมูลและความรู้ฝั่งการศึกษาและ eLearning ซึ่ง Reder ถือเป็น Mission สำคัญไม่ต่างกัน… เพราะข้อมูลและพื้นฐานระดับการพัฒนากลไก eLearning ของบ้านเรามีน้อยมาก ในขณะที่ระบอบการศึกษาที่ประเทศไทยใช้อยู่ แทบไม่มีอะไรใหม่ให้การเปลี่ยนแปลงสมกับที่อยากปฏิรูปการศึกษากันเลย… และจังหวะ Covid Transformation นาทีนี้… ต้องช่วยกันเรื่องการศึกษาให้มาก
เกริ่นแบบนี้ไม่ได้ต้องการจะกล่าวหาหรือต่อว่าใครหรอกครับ เพราะระบอบและระบบการศึกษาที่เราใช้กันอยู่ ก็ไม่ได้มีอะไรผิดพลาดถึงขั้นต้องตำหนิติติงอะไรกันมากมาย… ตรงกันข้าม ผมเชื่อว่าทั้งหมดดีงามและสร้างสรรค์บนบริบทหนึ่ง ที่ผ่านการพิสูจน์มาแล้วยาวนาน และพวกเราทุกคนรวมทั้งตัวผม ก็เติบโตเรียนรู้มากับระบอบการศึกษาที่ทุกฝ่ายเห็นเหมือนกันหมดว่า… มันเก่า ใช้มานานและถึงเวลาต้องปฏิรูปกันแล้วเท่านั้นเอง
Reder.red จึงเต็มใจค้นคว้าเอกสารอ้างอิง ที่ยังมีเผยแพร่กันอยู่ไม่มาก เพื่อเป็นข้อมูลอีกทางหนึ่งให้ท่านที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการปฏิรูปการศึกษา… ซึ่งนาทีนี้คือจังหวะเวลาเหมาะสมที่จะพาระบบการศึกษาของชาติ ข้ามไปให้ถึงความยืดยุ่น ที่ระบบการศึกษาแบบขนคนมากองรวมกันตอนเช้าเพื่อเรียนหนังสือ และขนกลับบ้านตอนเย็น 5 วันต่อสัปดาห์แบบเดิม… แต่ยังต้องเรียนพิเศษเสริมอีกมากมาย เพื่อให้ผลการทดสอบต่างๆ ออกมาดูดี… ควรจะถูกปรับ
ช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา… Reder.red เผยแพร่บทความเรื่อง eLearning Methods… วิธีการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และได้ Feedback กลับมาหลายประเด็น… Feedback บางข้อความ ท่านแนะนำตัวเข้ามาทาง Line: @reder ทำผมตื่นตะลึงกับ Profile ของท่านมาก และขอบคุณท่านที่กรุณาส่งกำลังใจ พร้อมคำแนะนำหลายอย่างที่ผมไม่รู้และผิดพลาดบกพร่องมาเติมให้
วันนี้ก็เลยจะดึงเอา Methods และ Methodology ทางการศึกษาที่เกริ่นคร่าวๆ เอาไว้ในบทความเรื่อง eLearning Methods… วิธีการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เกี่ยวกับปิรามิดการเรียนรู้ หรือ Learning Pyramid และ กรวยประสบการณ์ หรือ Cone of Experience… ซึ่งผมมองว่า ทฤษฎีทั้งสองสามารถ “ยึดเป็นหลักในการออกแบบกลไกการประเมินความรู้” จนถึงการกำหนดคุณค่าและความสำคัญในการออกแบบโครงสร้างการบริหารการศึกษาและวิชาการได้ด้วย…
กรณีสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาหลายหลักสูตร ให้คุณค่าของการสอนในห้องที่เรียกว่า Lacture สูงกว่าการมุ่งมั่นฝึกประสบการณ์ที่เป็น Pactice & Doing ถึงขั้นให้เครดิตการสอนกับครูอาจารย์ที่สอน Lecture สูงกว่าครูอาจารย์ที่นำฝึกประสบการณ์หลายเท่า… ทั้งที่ทฤษฎีปิรามิดการเรียนรู้ ให้ค่าการ Lecture เพียง 5% แต่ Pactice & Doing ให้คุณค่ามากถึง 75% ทีเดียว…
ตัวอย่างกรณีศึกษาอย่างการสอนหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ที่ให้เครดิตชั่วโมงเรียนแคลคูลัส มากกว่าชั่วโมงเข้า Workshop ฝึกทำ Network Securities และฝึกปฏิบัติการต่อต้านอาชญากรรมไซเบอร์… ถามว่าอาจารย์เก่งๆ จะเลือกทำงานชิ้นไหนมากกว่ากัน… ซึ่งแน่นอนว่า สำหรับนักศึกษาแล้ว ทั้งสองชั่วโมงเรียนสำคัญมากทั้งคู่ แต่สำหรับอาจารย์… ทั้งสองชั่วโมงต่างกันตรงผลประโยชน์ได้อย่างไร???
ตัวอย่างที่ยกมามีอยู่จริง เกิดขึ้นจริงและมีการเกลี่ยงานสอนเอารัดเอาเปรียบกันจริงๆ ในสถาบันการศึกษาใหญ่ๆ… หลายกรณีทำนองนี้มีอยู่ทั่วไป ที่การบริหารค่าตอบแทนในสถาบันการศึกษา… ฉีกทุกกฏการบริหารทรัพยากรมนุษย์กระจุย โดยเฉพาะเรื่อง “ผลงานกับอยู่นาน“… สถาบันไหนไม่มีประเด็นทำนองนี้ก็ขออภัยครับ!
กลับเข้าเรื่องกรวยปีรามิดด้านการศึกษากันต่อ… ซึ่งผมจะพาไปรู้จักกับ Edgar Dale เจ้าของงานดุษฎีนิพนธ์เรื่อง Factual basis for curriculum revision in arithmetic with special reference to children’s understanding of business terms ก่อนจะจบการศึกษาระดับปริญญาเอกจาก University of Chicago และเข้าสู่อาชีพครู ก่อนจะตกหลุมรักการทำ Education Contents ด้วยภาพยนต์จนเข้าร่วมกองบรรณาธิการของ Eastman Teaching Films ในเครือ Eastman Kodak หรือธุรกิจทำหนังด้านการศึกษาของฟิล์มโกดักในปี 1928 ก่อนจะลาออกมารับงานสอนที่ Ohio State University ในปีต่อมาจนเกษียณปี 1970… โดยฝากผลงานเลื่องชื่อไว้กับแนวคิดเรื่อง Cone of Experience ในปี 1946 และต่อมาได้กลายเป็นพื้นฐานแนวคิดการจัดการศึกษาที่ถูกใช้และประยุกต์ใช้ จากนักวิชาการด้านการศึกษาทั่วโลก ที่อ้างอิงแนวคิด Cone of Experience ของ Professor Dr.Edgar Dale มากมาย… แม้กระทั่งแนวคิดเรื่อง Pyramid of Education ด้วย
Edgar Dale เชื่อว่า… ประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม จะทำให้เกิดการเรียนรู้แตกต่างจากประสบการณ์ที่เป็นนามธรรม… หรือ แค่รู้ฤๅจะสู้ทำเป็น!
Edgar Dale จึงวางโครงสร้างให้เห็น ผ่านกรวยสามเหลี่ยม ที่วางพื้นฐานสำคัญให้เห็นการจัดลำดับของการพัฒนาประสบการณ์ หรือ Experience ที่ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ในกรอบการเรียนรู้ หรือ Learning Framwork อย่างมาก… Cone of Experience จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Cone of Learning ด้วย
กรวย 10 ชั้นของ Edgar Dale จากฐานล่างสู่ปลายยอดประกอบด้วย…
1. Direct Purposeful Experience หรือ ประสบการณ์ตรงด้วยตัวเอง
2. Contrived Simulation Experience หรือ ประสบการณ์จำลอง หรือการลักหรือจำทักษะประสบการณ์ของผู้อื่น รวมทั้งมีประสบการณ์กับอุปกรณ์หรือสถานการณ์จำลองคล้ายสถานการณ์จริง
3. Dramatized Experience หรือประสบการณ์นาฏการ หรือประสบการณ์จากเรื่องเล่า
4. Demonstration หรือ การสาธิต หรือเคยชมการสาธิต ซึ่งส่วนใหญ่จะเห็นไม่บ่อยเหมือนประสบการณ์จำลอง
5. Field Trip หรือ การลงสนามจริง หรือการศึกษานอกสถานที่ ดูงาน
6. Exhibition หรือ การชมนิทรรศการ
7. Motion Picture / Television หรือการเรียนรู้ผ่านการชมภาพยนตร์ TV หรือ Video Clip
8. Picture/Recording หรือ ดูภาพและฟังเสียง
9. Visual Symbol หรือ ทัศนสัญลักษณ์ หรือการเห็นสื่อสัญลักษณ์ อ่านและตีความความหมายจากสัญลักษณ์และเครื่องหมายแทนภาษาสื่อสาร
10. Verbal Symbol หรือ วจนสัญลักษณ์ หรือการพูดการอธิบายการบรรยาย และเครื่องมือหรือสื่อที่ใช้ภาษาหลักสื่อสาร
ผมขอข้ามรายละเอียดและจบข้อมูล Cone of Experience หรือ Cone of Learning ของ Edgar Dale ไว้เป็นพื้นฐานเท่านี้ เพราะกรอบคิดและหลักการถูกพัฒนาไว้ตั้งแต่ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2… แม้หลักทฤษฎีจะยังสำคัญและอ้างอิงได้เพราะถือเป็นปรัชญาด้านการศึกษาไปแล้วก็ตาม… แต่ในปัจจุบันมีการปรับกรอบการอธิบายและการนำไปใช้ขึ้นใหม่ในชื่อ Learning Pyramid ที่รูปแบบการอ้างอิงอาจจะไม่มีอะไรใหม่…
แต่การตีความชั้นต่างๆ ของปิรามิดถูกปรับเปลี่ยนจนกลายเป็นแนวทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่มาไกลกว่าการตีความเพื่อการศึกษา ที่หลายครั้ง “การเรียนรู้” กับ “การเรียนแล้วยังไม่รู้” พอหมดเวลาเรียน ก็ปล่อย “มนุษย์ที่เรียนแล้วได้อะไรบ้างก็ไม่รู้” ผ่านไป…
ในขณะที่ขั้นของการพัฒนามนุษย์ในมุมมองเป็นทรัพยากร จะให้การศึกษาเรียนรู้และพัฒนาจนเป็น “ทรัพย์” ที่วัดด้วย “คุณค่า” มากกว่าจะวัดแค่ “รู้หรือไม่รู้”
ประเด็นก็คือ… ความสับสนของกรอบการจัดการศึกษาที่ใช้รูปสามเหลี่ยมอ้างอิง แล้วเรียกกรวยบ้าง สามเหลี่ยมบ้าง ปิรามิดบ้าง… ก็มีประเด็นและเส้นสายต่อออกไปจาก Edgar Dale และประยุกต์ใหม่เพียง “แปลง” จาก Edgar Dale มาใช้มากกว่าจะมี Framework แตกต่างจนเห็นความต่างชัดเจน ยกเว้นแนวคิดของ… Barbara Minto ที่เอาปิรามิดมาประยุกต์ทำ Storytelling ตั้งแต่วันที่การเรียนการสอนกับ Storytelling ยังไม่มีใครเข้าใจว่าเป็นเรื่องเดียวกันกับการศึกษา
เวบไซต์ StrategyU.co ได้นำ Pyramid Principle ของ Barbara Minto มาเผยแพร่แบบกระชับสั้นเข้าใจง่าย ที่ออกแบบมาเพื่อสื่อสารให้ถึงเป้าหมาย… ซึ่งฟังดูอาจจะไม่ตรงวัตถุประสงค์ด้านการศึกษานัก แต่ผมคิดว่าหัวใจไม่ได้อยู่ที่ว่า Pyramid Principle ออกแบบขึ้นเพื่ออะไร… ขอให้ประยุกต์ใช้ Pyramid Principle ผ่านกรอบการสื่อสาร ถึงเป้าหมายใดๆ ได้… ก็แค่เอาผู้เรียนหรือนักเรียนมาเป็นเป้าหมายก็ไม่มีอะไรแย่ไม่ใช่หรือ?
Pyramid Principle ของ Barbara Minto เริ่มต้นด้วยการสังเคราะห์จากล่างขึ้นบนเพื่อกำหนดโครงสร้างที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ก่อน และนำโครงสร้างที่ออกแบบไว้ ไปสังเคราะห์ร่วมกับข้อมูล Insight ของผู้เรียนหรือคนรับสาร แล้วค่อยสื่อสารจากบนลงล่าง… ง่ายๆ เท่านี้!

ประเด็นคือแบบนี้ครับ… เราจะออกแบบหลักสูตรหนึ่งหลักสูตร โดยการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลทุกมิติของหลักสูตร ที่ต้องส่งมอบการเรียนรู้ให้ผู้เรียน… และไม่ลืมที่จะไปวิจัยหรือเรียนรู้ที่จะหา “Insight” ของผู้เรียนมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ร่วม… แล้วเริ่มออกแบบ “วิธีการสื่อสารกับผู้เรียน” เพื่อส่งมอบ “ประสบการณ์” ที่สามารถนำความรู้ไปสร้าง “คุณค่า” ได้จริง… โดยยังมีกรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale ซ่อนอยู่ใน Methods การสื่อสาร เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่พิสูจน์แล้วว่า… วัดคุณค่าได้ในขั้นประสบการณ์ตรงตามประสงค์ หรือ Direct Purposeful Experience หรือวัดด้วยขั้นการ “สอนคนอื่นต่อ หรือ Teach Other” ได้
ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ… การสังเคราะห์เอา Experience ที่เป็นรูปธรรมมาอธิบายแบบ Storytelling พร้อมกับการสร้าง Learner Journey ขึ้นใหม่… ยังต้องการแนวทางและรูปแบบที่ชัดเจนของการหลอมรวมจนได้ Framework ใหม่อยู่…
ถึงตรงนี้… ไม่ว่าจะเป็น Cone of Experience หรือ Pyramid Principle รวมทั้ง The Learning Pyramid… ทั้งหมดล้วนมีเป้าหมายเดียวกันในทางปฏิบัติคือ “วัดประสบการณ์” คนเรียนด้วยเทคนิคใดเทคนิคหนึ่ง… คำสำคัญจึงอยู่ที่ประสบการณ์ กับประสบการณ์และประสบการณ์
ครับผม!
อ้างอิง
- https://en.wikipedia.org/wiki/Edgar_Dale
- https://catalog.lib.uchicago.edu/vufind/Record/4174355
- Pyramid Principle