Confused

Confused… สับสนปนเป #SelfInsight

คนส่วนใหญ่ที่ตื่นอยู่และรู้สึกตัวว่าตนเองกำลังทำอะไรอยู่ และ กำลังจะไปทำอะไรต่อจากนั้น เพื่อให้ได้อะไรหลังจากนั้น… โดยกลไกทางสติปัญญาจะถือว่าคนๆ นั้นกำลังใช้ “ปัญญา” อันประกอบด้วยความรู้และทักษะ ที่สะสมไว้เป็นประสบการณ์ ไป “ตัดสินใจ” โดยสติปัญญาทั้งหมดที่มีอยู่กับตัว ได้ควบคุมพฤติกรรมหลังการตัดสินใจไปแล้วค่อนข้างชัด

แต่คนส่วนใหญ่ต่างก็เคยมีประสบการณ์กับเรื่องที่ “ไม่สามารถตัดสินใจ” ได้ง่ายๆ จากเงื่อนไขและข้อเท็จจริงที่มีใช้สนับสนุนการตัดสินใจขณะนั้น มีน้อยเกินกว่าจะมั่นใจได้ว่า… จะได้อะไรหลังการตัดสินใจครั้งนั้นอย่างที่คิดออกและตัดสินใจไป

ประเด็นก็คือ… ในจังหวะที่การตัดสินใจไม่สามารถเกิดขึ้นเพราะ “ลังเล” ถึงผลลัพธ์ของการตัดสินใจ โดยเฉพาะ “ผลกระทบ” หลังการตัดสินใจที่เห็นเป็นฉากทัศน์ค่อนข้างชัดในหลายแง่มุมจนตัดสินใจยากกว่าเดิม… ซึ่งในรายละเอียดที่สร้างความลังเลทั้งหมดจะมาจากข้อมูล หรือ ข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งกันจนสร้าง “ความสับสน” ให้กลไกการคิด และ การใช้สติปัญญา ถูกรบกวนด้วยข้อเท็จจริงอันก้ำกึ่งใน “ผลลัพธ์ของทางเลือก” ซึ่งคิดออกว่ามีมากกว่าหนึ่งผลลัพธ์

สิ่งที่น่าสนใจก็คือ คนส่วนใหญ่ที่ “สับสน” กับผลกระทบหลังการตัดสินใจจนไม่กล้าตัดสินใจ… ต่างก็พยายามหา “ข้อเท็จจริง” เพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจที่ยังลังเลอยู่ให้ผ่านพ้นไป ซึ่งการหาข้อเท็จจริงที่คนส่วนใหญ่ทำทันทีก็มักจะ “ถามคนอื่น” เพื่อรวบรวมข้อมูลส่วนที่ขาดพร่อง หรือแม้แต่ขอใช้ความรู้ ประสบการณ์ รวมทั้งทัศนคติและความคิดเห็นจากคนอื่นๆ มาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ

กรณีที่ “คนอื่น” บอกเล่าแบ่งปันช่วยเหลือเป็นเพียงข้อมูล หรือ ข้อเท็จจริงล้วนๆ จากความรู้หรือประสบการณ์ตรงก็ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง… แต่ในกรณีที่เป็นทัศนคติ หรือ ความคิดเห็น หรือ Opinion จาก “คนอื่นที่ถูกถาม” ในหลายๆ กรณี… มักจะซ้ำเติมความสับสนให้การตัดสินใจที่ยากลำบากอยู่เดิม ให้เละกว่าเดิม หรือ ให้สับสนยิ่งกว่าเดิมได้ด้วย… และเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวัง

ในทางจิตวิทยา… ความสับสน หรือ อาการสับสนในบางคนที่เกิดขึ้นเป็นประจำ และ เกิดขึ้นถี่มากจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน และ เป็นอุปสรรคในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น… ขั้นนี้จะถือว่าเป็นอาการทางสุขภาพจิตชนิดหนึ่ง ซึ่งอาการในบางรายอาจรุนแรงได้ถึงขั้นทำให้ระบบประสาทและสมองทำงานผิดเพี้ยนไป จนส่งผลต่อร่างกายและจิตใจให้เห็นเป็น “ความร้อนรนเคร่งเครียด” ที่อาจจะลุกลามถึงสุขภาพกายตั้งแต่ปวดหัว มวนท้อง ไปจนถึงอาการป่วยจากภาวะซึมเศร้าที่มีสาเหตุจากความสับสนซ้ำซ้อนในบุคลิกภาพ

กรณีสับสนจนป่วยไข้ทางจิตใจ ก็คงมีหนทางเลือกอื่นไม่มากนอกจากจะต้องเข้าสู่ขั้นตอนการรักษาทางจิตเวช และ รักษาอาการป่วยที่ได้รับผลข้างเคียงอื่นๆ ที่เกิดไปแล้วกับสถานพยาบาล… ส่วนกรณีสับสนเพราะ “ผลลัพธ์ของทางเลือก” ทำให้ยากลำบากในการตัดสินใจ โดยเฉพาะทัศนคติ หรือ ความคิดเห็น หรือ Opinion จากคนอื่นทำให้ “ความสับสนเพิ่มพูน หรือ ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงบางแง่มุม” นั้น… ทางที่ดีก็น่าจะก็ลองหาข้อเท็จจริงและเหตุผลจากข้อมูลที่มี “หลักฐานยืนยัน หรือ Evidence หรือ กรณีตัวอย่าง หรือ Use Cases” ที่เชื่อถือได้มาสนับสนุนการตัดใจจะดีกว่า… และ อย่าลืม “หยุดถามคนอื่น” เพิ่มเติมให้ตัวเองสับสนมากขึ้น โดยเฉพาะการถามเพียงเพราะอยากหาคำตอบมาใช้ “ยืนยัน” คำตอบที่ตัวเองนั่นแหละได้ตั้งธงเอาไว้อยู่แล้ว!!!

ส่วนที่เหลือจากนั้น… ท่านที่อ่านมาก เรียนรู้เยอะๆ เรียนรู้เรื่อยๆ และ ใช้ข้อมูลวิเคราะห์สังเคราะห์เป็นจนถึงขั้นเชื่อมั่นในคำตอบ… ส่วนมากก็จะเห็นว่าคนกลุ่มนี้สับสนไม่มาก และ ตัดสินใจพลาดไม่มากด้วย…

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts