Connectivism

Connectivism Learning Theory… เชื่อมโยงการเรียนรู้บนโลกกว้าง

Connectivism Learning Theory หรือ ทฤษฎีเชื่อมโยงการเรียนรู้ ถือเป็นโครงสร้างการเรียนรู้ หรือ การถ่ายทอดความรู้ผ่านโครงข่ายข้อมูลข่าวสารหลักๆ โดยเฉพาะโครงข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งการเรียนรู้จะเกิดขึ้นโดย “ผู้เรียนเลือกสรรทรัพยากรการเรียนรู้ที่ต้องการด้วยตัวเอง ทั้งที่อยู่ในรูปของสื่อการเรียน หรือ เชื่อมโยงสื่อสารกับแหล่งข้อมูลอื่น หรือ ผู้สอนโดยตรงบนโครงข่าย” ก็ได้

ในทางปฏิบัติ… Connectivism Learning Theory เป็นกรอบทฤษฎีเพื่อพัฒนาทักษะและเรียนรู้ในยุคดิจิทัล โดยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและเครื่องมือหรือแพล็ตฟอร์มตั้งแต่ Web Browser… Search Engine… WIKI… Forum และแพลตฟอร์มโซเชี่ยลมีเดีย… รวมทั้ง MOOC หรือ Massive Open Online Courses ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการเรียนการสอนผ่านออนไลน์ที่กำลังได้รับความนิยมในกลุ่มนักเทคโนโลยีการศึกษาทั่วโลก… และมีส่วนสำคัญต่อ “การเพิ่มช่องทางการเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ๆ” ได้อย่างเท่าเทียมทั่วถึงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

Connectivism ถูกพัฒนาเพื่อแก้ไขข้อจำกัดของทฤษฎีการเรียนรู้แบบดั้งเดิม 3 แนวทาง คือ การเรียนรู้เชิงพฤติกรรมนิยม หรือ Behaviorism… การเรียนรู้เชิงพุทธิปัญญา หรือ Cognitivism และ ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง หรือ Constructivism… ซึ่งมีปัญหาเชิงโครงสร้างการจัดการที่องค์ความรู้ถูกปิดกั้นในหลายๆ บริบท… 

Connectivism หรือ Connectivism Learning Theory จึงเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในยุคดิจิทัลเพื่อยุคดิจิทัล โดยมีความก้าวหน้าของอินเทอร์เน็ต และ เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ถูกเสริมต่อยอดทฤษฎีการเรียนรู้เก่าแก่ภายใต้ความเชื่อที่ว่า… องค์ความรู้และการเรียนรู้จะมีการไหลจนกระทบและเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ตลอดเวลา…

Stephen Downes จาก National Research Council Canada ได้ตีพิมพ์ผลงานชื่อ Connectivism and Connective Knowledge: Essays on meaning and learning networks…  พร้อมๆ กับ George Siemens ก็ได้ตีพิมพ์ผลงานชื่อ Connectivism: Learning as Network Creation ในปี 2005 ใกล้เคียงกัน และถือเป็นเอกสารอ้างอิงหลักในกรอบ Connectivism

ผมยืนยันเอกสารอ้างอิงหลักไว้แบบนี้เพราะ… งานเผยแพร่ของนักการศึกษาไทยที่ค้นเจอส่วนใหญ่ กล่าวอ้างเชื่อมโยงเลื่อนลอยจนหาเทคโนโลยีในบริบทไม่พบมากมาย และผมของดวิพากษ์วิจารย์กรณีนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการพาดพิงที่ไม่เหมาะสม… เอาเป็นว่า

ถ้าท่านประสงค์จะพัฒนาแพลตฟอร์มการศึกษา อ้างอิง Connectivism หรือ Connectivism Learning Theory… ผมขอให้ท่านศึกษาบริบทในทฤษฎีจากเอกสารต้นฉบับของ George Siemens และ Stephen Downes เป็นหลัก… ซึ่งผมคิดว่า การปฏิรูปการศึกษาบนบริบทดิจิทัลในโอกาสต่อไป จะได้ติดล่มโครงสร้างเก่าแก่น้อยกว่า โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์จากเอกสารต้นฉบับทั้งสองเล่ม มาเป็นเหตุผลให้ “การปรับวางองค์ประกอบในโครงสร้างเก่าแก่บางบริบท ออกจากเส้นทางปฏิรูปได้มีเหตุผลขึ้น”

โดยส่วนตัวอยากเห็น “การปฏิรูปการศึกษาของชาติ เข้าสู่ระบบการศึกษาบนแพลตฟอร์มดิจิทัล และ เทคโนโลยีการศึกษา หรือ EdTech” ไปเร็วๆ  ถึงแม้ความเห็นส่วนตัวยังมองว่า… เร็วเกินไปที่จะยกให้ Connectivism Learning Theory ให้เป็นทฤษฎีฐานในการพัฒนาการศึกษาด้วยเทคโนโลยี โดยเฉพาะการมาถึงของเทคโนโลยีที่เชื่อมต่อกับคลื่นไฟฟ้าสมองโดยตรงอย่าง Neuralink… ซึ่งอาจจะทำให้การเรียนรู้สามารถ Copy/Paste ไปเลยก็ได้ในอนาคต

References…

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest
Tumblr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Recent Posts