ความเห็น หรือ ความคิดเห็น หรือ Comment ถือเป็นรูปแบบการสื่อสารเชิง “สะท้อนมุมมอง และ ทัศนคติ” ที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และหรือ พฤติกรรมใดๆ ของคนๆ หนึ่งในบริบทหนึ่งๆ ซึ่งความคิดเห็นที่วนๆ อยู่รอบตัวคนๆ หนึ่งนี่เอง ที่สร้างคนๆ นั้นให้มี “มุมมอง และ ทัศนคติ” ให้มีต่อทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวโดยนำพาให้คนๆ นั้นให้ “เป็น” อย่างที่เห็นจากมุมมอง และ “มีความเชื่อ” อย่างที่คิดได้และไตร่ตรองได้จากทัศนคติของตัวเอง
ในทางเทคนิค… ความคิดเห็นจะถูกสมองและสติปัญญาของคนออกความเห็นแยกผิดกับถูก… แยกเด่นกับด้อย… แยกควรกับไม่ควร… แยกดีกับไม่ดี… แยกชอบกับไม่ชอบ และ อะไรอีกมากมายที่การออกความเห็น หรือ การแสดงความคิดเห็นจะมีการแจกแจง หรือ ตีแผ่ประเด็นที่แสดงความคิดเห็น
ปัญหาก็คือ… การแสดงความคิดเห็นในเกือบทุกกรณีจะมีกลิ่นไอของ “การตัดสิน หรือ การประเมิน” อย่างชัดแจ้ง ซึ่งถ้าเป็นความคิดเห็นที่ใช้กับสภาวะ หรือ พฤติกรรมของคนหนึ่ง หรือ เป็นความคิดเห็นต่อผลงานของคนๆ หนึ่ง… การได้รับรู้มุมมองความคิดเห็นของโดยแยกผิดแยกถูกในแบบของการแสดงความคิดเห็นอย่างครบถ้วน จึงมีน้อยมากที่จะถูกใจเจ้าของประเด็น ถึงแม้จะเป็นการแสดงความคิดเห็นอย่างสุจริตและตรงไปตรงมา… เพราะในทุกๆ ความคิดเห็นจะมีทั้งเรื่องบวกและเรื่องลบอยู่ด้วยกัน… และ ไม่มีใครชอบความเห็นเชิงลบกันนัก ถึงแม้มันจะปนๆ อยู่กับความเห็นเชิงบวกก็ตาม
คำแนะนำเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นในยุคที่ “สายสัมพันธ์” ต้องการวิธีแสดงความคิดเห็นด้วยทักษะอ่อนโยน หรือ Soft Skills… ซึ่งถ้าเป็นไปได้ ก็จะแนะนำให้เลิกใช้วิธีแสดงความคิดเห็น และ การวิพากษ์วิจารณ์ที่แฝงการตัดสินอยู่ในสาร ไปเป็น “คำชี้แนะ หรือ Feedback” โดยแนะนำอย่างสำคัญให้เป็น “คำชี้แนะในเชิงบวก หรือ Positive Feedback” หรือดีกว่านั้นด้วยการให้ “คำชี้แนะเชิงสรรสร้าง หรือ Constructive Feedback”
ประเด็นก็คือ คำชี้แนะ หรือ Feedback สามารถเลือกที่จะพูดถึงเฉพาะแต่ส่วนที่ต้องการใช้ หรือ ส่วนที่มีประโยชน์ที่สุดเท่านั้นก็ได้ ซึ่งถ้าเป็น Positive Feedback ก็สามารถ “เลือกชม–เลือกชอบ” เฉพาะส่วนที่อยากชม หรือ ส่วนที่ชื่นชอบเท่านั้นก็ได้ ยิ่งถ้าเป็น Constructive Feedback ซึ่งเติมเต็มส่วนที่ชมชอบด้วยคำชี้แนะที่สร้างสรรค์ และ เป็นประโยชน์ในการพัฒนาส่วนที่ดีจนต้องชมไปแล้ว และหรือ ส่วนที่ชื่นชอบจนอยากเห็นในแบบที่ชอบได้มากกว่าเดิม
วิธีก็คือ… เมื่อท่านต้องทำหน้าที่ชี้แนะ หรือ Feedback… อย่างแรกที่ต้องค้นหาจากประเด็นที่ต้องชี้แนะก็คือ “ข้อดี” ที่โดดเด่นชัดเจนพอ… แล้วจึงทำคำชี้แนะด้วยเทคนิค I Like, I Wish… และ ชี้แนะด้วยการบอกให้รู้ว่าท่านชอบอะไร และ ท่านหวังจะได้เห็นอะไร
References…